Suggestion Post

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ภาค 6 อวสานหงสา        ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพ...

2554-06-28

เปิดหนังสือสุวิทย์ คุณกิตติ ยื่นบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกฯ ๑๙๗๒ (บางส่วน)

   ฟิฟทีนมูฟ — เปิดเนื้อหาหนังสือบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ที่สุวิทย์ คุณกิตติ ส่งถึง ผอ.ยูเนสโก ย้ำการดำเนินการผิดระเบียบข้อบังคับ รวมถึงธรรมนูญยูเนสโก ในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ประนามความไม่โปร่งใสและเอนเอียง ระบุการขึ้นทะเบียนนำมาซึ่งปัญหาความตึงเครียดและการปะทะ ทำลายความสันติสุขและความมั่นคง ไทยพยายามชี้แจงต่อเนื่องแต่ยูเนสโกและมรดกโลกไม่รับฟัง ดึงดันเดินหน้ากระบวนการ ย้ำไทยไม่มีทางเลือกนอกจากบอกเลิกอนุสัญญาฯ และการบอกเลิกครอบคลุมทุกประเด็นปัญหาไทย-ยูเนสโก เผยไทยย้ำแนวทางขอขึ้นทะเบียนร่วม
เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๕ ได้ตัดสินใจ (อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ค.ศ.๑๙๗๒) ในขั้นสุดท้ายเมื่อคณะกรรมการมรดกโลกได้ตัดสินใจนำวาระแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร เข้าพิจารณาในที่ประชุม โดยก่อนการพิจารณาววาระ นายสุวิทย์ และคณะผู้แทนไทยได้แถลงบอกเลิกอนุสัญญาฯ ในที่ประชุม และทำการประท้วงโดยเดินออกจากที่ประชุม หลังจากนั้นได้มอบหนังสือบอกเลิกฯ ให้กับตัวแทนขององค์การยูเนสโก
ฟิฟทีนมูฟนำลงรายละเอียดบางส่วนของหนังสือบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ ที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนาม เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ส่งถึงนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการยูเนสโก ซึ่งมีเนื้อหาในช่วงต้นอ้างถึงข้อกังวลในบันทึกของประเทศไทยที่ส่งถึงผู้อำนวยการยูเนสโก ๒ ฉบับ ก่อนหน้า คือ ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒ และกรกฎาคม ๒๕๕๓ ประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก และย้ำความกังวลของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ต่อมติ Decision 32 COM 8B.102 ในคราวการประชุมครั้งที่ ๓๒ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา
หนังสือฯ ระบุว่า ประเทศไทยเสียใจอย่างสุดซึ้งที่คณะกรรมการมรดกโลกไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความอ่อนไหวและความสำคัญของปัญหา การขึ้นทะเบียนปราสาทฯ เป็นมรดกโลกได้ถูกพิสูจน์แล้วว่านำไปสู่ความตึงเครียดและการเผชิญหน้าอย่างยืดเยื้อระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้าน และนำไปสู่การปะทะทางทหารหลายครั้ง เป็นผลให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของทั้งสองฝ่าย ทำลายความเป็นปกติสุขของประชาชนตามแนวชายแดน นอกจากนี้ คณะกรรมการมรดกโลกได้ละเลยความจริงที่ว่ามติไม่สามารถนำปฏิบัติได้จริง เพราะปัญหาเกี่ยวข้องกับเขตแดนและอธิปไตยเหนือดินแดนของประเทศไทย
หนังสือของนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยฯ ลงวันที่ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๔ ส่งถึงนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการยูเนสโก หน้าที่ ๑หนังสือฯ กล่าวประนามยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกใน ว่า มตินี้ไม่เพียงแต่ฝ่าฝืนหลักนิติธรรมของยูเนสโก แต่ได้ทำลายอย่างร้ายแรงต่อจิตวิญญาณของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกและธรรมนูญของยูเนสโก ซึ่งเป็นที่ตั้งของแนวคิดการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง
กระบวนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลกไม่สมบูรณ์ ดังที่ศูนย์มรดกโลกและคณะกรรมการมรดกโลกละเลยอย่างสิ้นเชิง ที่จะตรวจสอบหลักการพื้นฐานและขั้นตอนจำเป็นที่ระบุในแนวทางปฏิบัติ (Operational Guidelines) สำหรับการดำเนินการตามอนุสัญญามรดกโลก ที่สำคัญที่สุดคือ ล้มเหลวที่จะตรวจสอบและเข้มงวดต่อการรวมเอาทรัพย์สินซึ่งตั้งอยู่ในดินแดน อธิปไตยหรือเขตอำนาจศาลของประเทศไทย ดังที่ประเทศไทยได้ชี้ประเด็นอย่างต่อเนื่องว่าเอกสารเสนอขึ้นทะเบียน (Nomination dossier) ยื่นโดยกัมพูชา ไม่เข้าข้อกำหนดโดยรวม ดังกำหนดในย่อหน้าที่ ๑๐๓, ๑๐๔, ๑๓๒, ๑๓๕, ๑๔๐, ๑๔๑ และ ๑๔๘ ของแนวทางปฏิบัติ เพราะไม่ได้ให้เขตกันชน (buffer zones) ที่เพียงพอ และแผนบริหารจัดการควรรับประกันการบริหารจัดการของปราสาท อย่างรับผิดชอบและโปร่งใสในฐานะเป็นแหล่งมรดกโลก แม้ประเทศไทยได้ประท้วงอย่างรุนแรง ศูนย์มรดกโลกยังคงเห็นว่าเอกสารขอขึ้นทะเบียนที่กล่าวถึง มีความเพียงพอสำหรับเป้าหมายในมือ และส่งต่อไปยังคณะกรรมการมรดกโลก การออกมติในขณะนั้น คณะกรรมการมรดกโลกได้ลบล้างองค์ประกอบสำคัญของแนวทางปฏิบัติ และได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก
นอกจากนี้ หนังสือฯ ได้เสนอการขึ้นทะเบียนร่วมข้ามพรมแดน (transboundary property) พร้อมระบุว่า ประเทศไทยได้เสนอมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยอ้างถึงย่อหน้าที่ ๑๓๕ ของแนวทางปฏิบัติ เป็นทางออกให้เกิดการความร่วมมือในการการอนุรักษ์และคุ้มครองปราสาทอย่างยั่งยืน ในเรื่องนี้ หนังสือฯ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยปรารถนาที่จะยืนยันว่า ขณะที่เขตแดนในบริเวณดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไข มติใด ๆ เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินควรต้องเลื่อนออกไป จนกว่างานการสำรวจและจัดทำหลักเขต ภายใต้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ดำเนินการแล้วเสร็จ ประเทศไทยปรารถณาที่จะย้ำต่อไปอีกว่า มติที่ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการการปฏิบัติตามมติ จะไม่ด้วยประการทั้งปวงที่จะทำให้เสียหายต่อจุดยืนทางกฎหมายของไทย บูรณภาพเหนือดินแดน อธิปไตย และการสำรวจและจัดทำหลักเขตทางบกในพื้นที่ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ
หนังสือฯ แถลงยืนยันว่า กิจกรรมใดโดยทั้งกัมพูชา คณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก หรือภาคีอื่น ในพื้นที่ใกล้ปราสาทฯ ซึ่งเป็นดินแดนไทย ไม่สามารถดำเนินการได้โดยปราศจากการยินยอมอย่างเป็นทางการของรัฐบาลไทยก่อน
หนังสือของนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยฯ ลงวันที่ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๔ ส่งถึงนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการยูเนสโก หน้าที่ ๔ประเทศไทยกังขาต่อการขาดความโปร่งใสและความเป็นมืออาชีพ ซึ่งแสดงออกในหลายโอกาส โดยกองเลขานุการของคณะกรรมการมรดกโลก และความล้มเหลวในการดูแลเรื่องที่ละเอียดอ่อนและอ่อนไหวนี้ ในหลายโอกาสที่นำไปสู่การประชุมครั้งที่ ๓๔ ประเทศไทยได้ร้องขอซ้ำหลายครั้งเพื่อที่จะได้รับเอกสารทำงาน (working document) ของวาระการประชุมกรณีสถานะการอนุรักษ์ (state of conservation) ของปราสาทพระวิหาร แต่เอกสารดังกล่าวถูกส่งถึงผู้แทนไทยเพียง ๒๔ ชั่วโมง ก่อนหน้าระเบียบวาระถูกกำหนดนำขึ้นพิจารณา กระชั้นกว่าที่กำหนดให้ส่งก่อนหน้า ๖ สัปดาห์ ในข้อ ๔๕ ของระเบียบปฏิบัติ (Rules of Procedure)
เราได้ทำความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องต่อยูเนสโก และคณะกรรมการมรดกโลกถึงความไม่สมบูรณ์ของกระบวนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก ตลอดจนความจำเป็นที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะมีต่อไป อันอาจมีสาเหตุจากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งจะซ้ำเติมความตึงเครียดที่ไม่พึงประสงค์และนำไปสู่การเผชิญหน้าซ้ำ แม้มีการร้องเรียนและประชุมร่วมระหว่างตัวแทนไทย กับเจ้าหน้าที่ของยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกหลายครั้ง ขณะนี้ปรากฏชัดว่าความพยายามของเราไม่เกิดประโยชน์ ดังหลักฐานที่ต้องหารือซ้ำเพื่อเลื่อนแผนบริหารจัดการที่การประชุมครั้งที่ ๓๕ และความแตกต่างที่ไม่ได้รับการแก้ไข
หนังสือฯ กล่าวสรุปจุดยืนว่า โดยคำนึงถึงข้อพิจารณาที่กล่าวถึงข้างต้น และการมอบอำนาจโดยรัฐบาลไทย ผู้แทนไทยซึ่งเข้าร่วมการประชุมครั้งที่ ๓๕ ไม่มีทางเลือก นอกจากต้องบอกเลิก (denounce) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ค.ศ.๑๙๗๒ ตามข้อ ๓๕ เอกสารการบอกเลิกจะถูกส่งถึงท่านในกำหนดเวลา
ในเรื่องนี้ ใคร่ขอรับรองว่าการตัดสินใจบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ เป็นประเด็นที่ครอบคลุมในความสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างประเทศไทยและยูเนสโก ตลอดจนองค์กระหว่างประเทศอื่นซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก

---------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา  โพสต์เมื่อ  - 15:16 น. โดย n/e - 15:16 น.    เปิดหนังสือลาออกจากภาคีมรดกโลก   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comment here (เขียนความคิดตรงนี้นะ)