Suggestion Post

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ภาค 6 อวสานหงสา        ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพ...

2558-04-15

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา


ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 ภาค 6 อวสานหงสา



       ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพระเจ้าหงสาวดีที่ก่อกรรมทำเข็ญ ระบายโทสะฆ่าแม่ทัพนายกองและเหล่าพระราชโอรสธิดา รวมไปถึงพระนางสุพรรณกัลยา จนความรู้ถึงหูของพระนเรศวรจึงมีความแค้น ยกทัพหมายเข้าตีหงสาวดีจับพระเจ้าหงสาวดีมาลงโทษ 
    
        เรื่องราวบทนี้มีในแบบเรียนทั่วไปอย่างย่อๆ พอจับประวัิตศาสตร์มาทำเป็นหนังให้เด็กและเยาวชนได้ดูนั้น ต้องยอมรับฝีมือในการกำกับหนังของมจ.ชาตรีเฉลิม ยุคลมากๆ รวมไปถึงการตัดตอน ทีมสร้างฉาก องค์ประกอบฉาก และเหล่านักแสดงที่สร้างความอลังการสุดยอดครั้งยิ่งใหญ่ในอดีต ถ่ายทอดลงบนแผ่นฟิลม์ให้ทุกคนได้รับชมกัน

        ในตอนนี้มีฉากหลายฉากที่สำคัญและมีข้อคิดเตือนใจหลายๆฉาก ที่อยากกล่าวถึงเริ่มแรกเลย ขอเอยฉากของ ความอัปยศของพระเจ้าหงสาวดีในพฤติกรรมก่อน  เดิมทีก็ไม่ได้รู้ว่าพระเจ้าหงสาวดีมีพฤติกรรมแบบนี้ไหม หรือเสียสติไปแบบในหนังไหม ก็ไม่อยากยืนยันในจุดนี้ว่า เป็นต้นเหตุของสงครามนี้  แต่ในหนังบอกเล่าอารมณ์ของพระเจ้าหงสา แล้วรู้สึกว่า พระองค์เสียสติเป็นบ้าไปแล้ว มีอย่างที่ไหนฆ่าได้ทุกคน โกรธทุกคนที่ไม่ปกป้องลูกชายตนเองปล่อยให้พระนเรศวรทำยุทธหัตถี ทั้งที่พระองค์เองนั้นละที่สั่งให้พระมหาอุปราชออกไปรบ  หรือพระเจ้าหงสาไม่มีใจเยี่ยงนักรบแล้วหรืออย่างไร ขาดความรักจากพ่อ อุตริโอ่อวดมากเกินไปนะ  พระเจ้าหงสาเหมือนเด็กหลงทางที่หาทางออกไม่ได้ มีความอิฉฉาในพระองค์ดำ และพระเจ้าบุเรนอง จนสุดท้ายก็ขาดความรัก กลายมาเป็นจุดจบของเมืองหงสาวดี


          ฉากต่อมา ฉากพระองค์ดำที่ได้รู้ว่าพระนางสุพรรณกัลยาถูกสังหารแล้วก็บันดาลโทสะ จัดทัพยกไปตีหงสา  อันนี้มองแล้วรู้สึกทะลุเลยว่า ถ้าผู้นำขาดสติก็มักจะมีสงครามเพียงเพราะเหตุผลง่ายๆ อย่างความแค้นนั้นละนะ ถึงขนาดที่พระอาจารย์พยายามห้ามแล้วก็ยังไม่เชื่อฟัง จากที่เราดูมา เราคิดว่า พระอาจารย์ล่วงรู้ถึงเหตุการณ์บางอย่าง กลัวว่าพระองค์ดำจะกระทำฆ่าพระเจ้าหงสาให้เป็นเวรกรรมต่อกันเสียมากกว่า แล้วก็กลายเป็นวัฏจักรไม่รู้จบ จึงเข้าไปขัดขวาง แต่ก็ไม่สำเร็จ  ฉากนี้ได้อะไร ฉากนี้ทำให้รู้ว่า วัฏจักรมีขึ้นก็ดับไป เป็นไปตามกฏแห่งกรรม แม้กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ก็ไม่อาจเอาชนะได้

     เราชอบคำพูดของพระองค์ดำอยู่หลายๆฉากมาก ในจะตอนที่กล่าวถึงเรื่องของราชประเพณีในการออกศึก กล่าวถึงเรื่องหลักการปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฏร์ที่ง่ายๆ แล้วทุกวันนี้เราก็ได้ยินคำเหล่านี้มาบ่อยๆ  ยิ่งฉากสุดท้ายตอนที่พระองค์ดำกำลังจะสวรรคต แล้วมอบพระราชโองการให้พระองค์ขาวกระทำการตีเมืองอังวะแทน และขอให้สวมอาภรณ์ออกรบไปตีเข้าเมืองอังวะ อีกทั้งสั่งสอนพระองค์ขาวในการปกครอง ต้องขอยอมรับในฉากนี้เลยว่า 

  "ไม่มีอุดมการณ์และการกระทำใดจะยิ่งใหญ่
ไปกว่าการทำเพื่อประชาราษฏร์"  



       สำหรับคนไทยอย่างเราอาจดูหนังเรื่องนี้แล้วอินจะเกลียดพม่า  แต่สำหรับเราไม่รู้สึกเกลียดเลยเพราะตั้งแต่ดูหนังเรื่องนี้มาตั้งแต่ภาคแรกจนภาคสุดท้าย เรายอมรับในเกียรติและศักดิ์ศรีในการรรบและการปกครองของพม่าอย่างพระเจ้าบุเรนองมากๆ ทั้งพระมหาอุปราชที่ทำยุทธหัตถี รวมไปถึงพระนเรศวรผู้นำพาอโยธยาได้รับอิสรภาพ   

      บางทีเราก็คิดว่า มันคือเรื่องปกติมากในอดีตสำหรับการรบเพื่อขยายดินแดน กับรบเพื่อแสดงอำนาจในการปกครอง  หากบ้านเมืองอ่อนแอและถูกโจมตี เหล่าสยามก็ต้องตกเป็๋นเชลยสงคราม ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่คนไทยอยากเป็น ในประวัติศาสตร์ไทยมักมีการสู้รบกับพม่าบ่อยครั้งและส่วนใหญ่เป็นการรบเพื่อปกป้องตนเอง กับรบเพื่อข่มหัวเมืองต่างๆ ไม่ให้ลุกขึ้นมาต่อต้านเสียมากกว่า

     เราเคยคิดในอีกมุมมองหนึ่งนะว่า  แล้วเหตุใดเราต้องจัดทัพเพื่อรบกับพม่า ทำไมพม่าต้องการอโยธยามากขนาดนั้น  คำตอบง่ายๆ ก็แค่ว่า พม่าต้องการดินแดนอโยธยาเพื่อขยายอาณาเขตมันก็แค่นั้นละน่ะ ส่วนไทยก็ทำแค่ปกป้องดินแดนของตนที่ขยายอาณาเขตได้ตามปกติ  

   เรามักมีคำพูดว่า "เพื่อแผ่นดินอโยธยา เพื่อชาวสยาม เพื่อไม่ให้ลูกหลานต้องตกเป็นเชลย"  ในจุดนี้เราเชื่อว่า มันคือสายเลือดของคนไทยน่ะที่มักไม่ยอมตกเป็นทาสของใคร  รบเพราะอะไร รบเพื่อไม่ให้เราเป็นทาสของผู้ใด รบเพื่อไม่ให้เราสิ้นอิสรภาพ  คำพูดเหล่านี้ คือคำพูดของบุคคลผู้มีอิสระเสรีในหัวใจ ซึ่งคนไทยแต่อดีตรู้จักคำว่า "อิสรภาพ" มานานแล้ว


      เราดูหนังเรื่องนี้ ไม่ได้บอกว่า เราต้องรักชาติไทย แต่เราดูแล้วต้องบอกกับตนเองว่า บรรพบุรุษต่อสู้ปกป้อง เอาเลือดทาแผ่นดิน ไม่ให้ลูกหลานต้องพบกับ "การสิ้นอิสรภาพ"  หากวันนี้จะต้องมีใครมาทำให้เมืองไทยสิ้นอิสรภาพ เราก็ขอปกป้องเมืองไทยนี้ด้วยความหมายของ

"การไม่ยอมแพ้กับการตกเป็นทาสของผู้ใด 
ประเทศใด หรือกลุ่มใด เป็นอันขาด"



** หมายเหตุ **

1.เราติดใจคำพูดของพระนเรศวรและกษัตริย์หลายพระองค์ของอโยธยาที่มักเอยว่า  "ครองแผ่นดินโดยธรรม"  สงสัยว่าเป็นคำพูดยอดฮิต หรือเป็นคำพูดของผู้นำที่สืบทอดต่อกันมาให้ลูกหลานพระราชวงศ์ได้กระทำการครองแผ่นดินหรือยังไง  ปกติกษัตริย์น่าจะใช้คำพูดในความหมายเชิงว่า ตนเป็นเจ้าของแผ่นดินและต้องปกครองแผ่นดินโดยตามใจชอบ ตามแบบกษัตริย์ชาติอื่น แต่ของชาติเรามาแปลกกว่า ชอบใช้คำว่า "ครองแผ่นดินโดยธรรม"  หมายความว่า แม้นเป็นกษัตริย์ถ้าปกครองประชาราษฏร์ไม่เป็นธรรมก็มีสิทธิ์ล่มจมแบบยุคของ ชายชู้ หญิงชั่วในเรื่องพระศรีสุริโยทัย ก็เป็นได้สินะ

2. ติดใจกับตำว่า อโยธยา  และคำว่า ชาวสยาม เมืองไทยในอดีตยังไม่มีการตีเส้นแผ่นดิน เราใช้อะไรวัดเขตพื้นที่การปกครอง  ในอดีตเค้าใช้อะไร  จากการสังเกตในหนัง เห็นเค้าเรียกรวมๆว่า "อาณาจักร"  ไม่ได้เรียกตามชื่อเมือง  อย่างที่รู้เรามีเมืองหลวง 2 ที่คือ อโยธยาและ พิษณุโลก ทำไมเราก็ยังเรียกแบบนั้น มันคือการเรียกรวมๆหัวเมืองทุกฝ่ายที่เข้ากับไทยใช่ไหม 

3.เคยคิดว่า พม่าจะเรียกหงสาวดี ว่าเป็นประเทศ แต่ไม่ใช่แฮะ พึ่งมาสังเกตก็ตอนที่ พระเจ้าหงสาพูดว่า อาณาจักรพุกาม นั้นละ ที่มีชื่อเมืองหลายเมืองแล้วยกให้หงสาวดี เป็นเมืองหลวง สรุบแล้ว ทั้งไทยและพม่าต่างก็มีชื่อเรียกว่า  "อาณาจักร" หรือ Kingdom (สังเกตในบทพูดอังกฤษว่า เค้าใช้คำว่า Kingdom ทั้งของไทยและพม่าเลยล่ะ) บ่งบอกว่า  เมืองไทยใช้คำนี้ เพราะมีกษัตริย์หรา ..ไม่มั้ง !!!  น่าจะเรียกอย่างนี้ เพราะมีการปกครองในรูปแบบหัวเมืองในอดีตที่มีกษัตริย์มาก่อน  เพราะอย่างกัมพูชาก็ไม่ใช่คำว่า อาณาจักร ทั้งที่มีกษัตริย์ครองอยู่  งงๆอยู่เหมือนกัน  แต่พม่าก็มาเลิกใช้คำนี้เมื่อถูกอังกฤษยึด แล้วเป็นเอกราชน่ะ 

4.ติดใจในเรื่องของประเพณีการสืบทอดบัลลังก์มานานละตรงที่ว่า หากพี่ชายขึ้นครองราชย์ แล้วสละราชสมบัติให้น้องชายขึ้นแทน โดยพี่ชายมีลูกชายด้วย มักจะถูกฆ่า เพื่อป้องกันการแย่งชิงสมบัติ มันเป็นกฏที่โหดร้ายมากและเด็ดขาดสุดๆ  ต้องยอมรับว่า กฏนี้ทำให้ราชวงศ์ไทยยังมีมาอยู่ได้ทุกวันนี้จริงๆ เพราะหากไม่มีกฏนี้ หากมีการต่อสู้แย่งสมบัติขึ้นมา มันจะเป็นสงครามภายในแล้วจะถูกศัตรูภายนอกเข้าแทรกแซงยึดเมืองได้  จำได้ว่า ในหนังพระศรีสุริโยทัย ก็มีน่ะ ฉากนี้น่ะ สุดท้ายเพราะการกระทำของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ทำให้ระบบกษัตริย์อ่อนแอ เป็นสงครามภายใน ทัพพม่าเข้ายึดจนไปจบที่ การตายของพระศรีสุริโยทัย และการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1

5.เราภูมิใจมากกับสิ่งที่เหล่าบรรพบุรุษได้ทิ้งไว้ให้ แต่ก็ไม่พอใจกับการกระทำของคณะบุคคลที่ทอดทิ้งมรดกบาปที่ระยำที่สุดไว้ให้คนไทยต้องชอกช้ำจนถึงทุกวันนี้ มรดกบาปที่ทำให้เมืองไทยตกเป็นเมืองขึ้นทางความคิดกับเมืองขึ้นทางวัตถุนิยม  ทำให้เมืองไทยไร้สิ้นอิสรภาพทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตมาจนถึงทุกวันนี้