Suggestion Post

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ภาค 6 อวสานหงสา        ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพ...

2553-12-26

เมื่อ"ใจ อึ๊งภากรณ์" ถูก"น็อค"คาเวที"ออกซ์ฟอร์ด

โดย นงนุช สิงหเดชะ




อาจจะช้าไปหน่อย แต่ก็ควรกล่าวถึง กรณีนายใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งหลบหนีคดีไปยังอังกฤษ ได้ไปโผล่ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในโอกาสที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและศิษย์เก่าออกซ์ฟอร์ด ไปกล่าวปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ตามคำเชิญของเจ้าภาพ ซึ่งเป้าหมายของนายใจก็คงหวังจะใช้เวทีนี้โจมตีประเทศไทยเรื่องกฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ และคงหวังฉีกหน้านายอภิสิทธิ์

หลังกล่าวปาฐกถาเสร็จ เป็นช่วงเปิดให้ถาม (การกล่าวปาฐกถาและการถาม-ตอบ ใช้ภาษาอังกฤษ) ปรากฏว่านายใจ ซึ่งใส่เสื้อแดงแปร๊ดพร้อมตีนตบอีก 1 อัน มานั่งฟังอยู่ด้วย ก็ได้ถามเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นายอภิสิทธิ์ตอบว่า "ก่อนอื่นคุณต้องเคลียร์ข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อนว่า การดำเนินคดีกับผู้หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้เท่านั้น แต่หลายคดีก็ถูกดำเนินการโดยรัฐบาลก่อนคือรัฐบาลทักษิณ เช่นกรณีของนายจักรภพ เพ็ญแข การดำเนินคดีก็เกิดขึ้นในยุครัฐบาลพรรคพลังประชาชน ตอนที่คุณทักษิณอยู่ในอำนาจผมก็ถูกเขาฟ้องด้วยคดีหมิ่นประมาทเช่นกัน ถ้าคุณต้องการเป็นประชาธิปไตยคุณต้องเคารพกฎหมาย กรณีของคุณที่ถูกดำเนินคดีนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะคุณวิจารณ์การรัฐประหาร แต่คุณถูกดำเนินคดีเพราะข้อกล่าวหาแบบเฉพาะเจาะจงที่คุณกล่าวหาสถาบัน กษัตริย์ ดังนั้น คุณต้องเคลียร์ข้อมูลตรงนี้ให้ถูกต้อง อย่าพยายามก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

คำตอบของนายอภิสิทธิ์มีต่อไปว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่จำเป็นว่าจะแสดงถึงความไม่มีประชาธิปไตยเสมอไป เพราะในประเทศยุโรปบางแห่งที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) ก็มีกฎหมายลักษณะนี้เช่นกัน ถ้าคุณกล่าวหาคนอื่นในลักษณะเดียวกันนี้คุณก็ต้องถูกฟ้อง ผมเองก็ถูกนักการเมืองหลายคนในรัฐบาลที่แล้วฟ้องร้องเมื่อไปวิจารณ์เขา กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ลักษณะ เดียวกับที่กฎหมายหมิ่นประมาท (libel law) มีไว้เพื่อปกป้องบุคคลธรรมดา ความแตกต่างก็คือว่าสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันที่เป็นกลาง อยู่เหนือการฝักใฝ่ทางการเมือง (above partisan) เป็นสถาบันที่คนไทยเคารพรักเทิดทูนและเป็นเสาหลักแห่งความมั่นคงของประเทศ"

อภิสิทธิ์อธิบายต่อไปว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้ต้องการให้สถาบันกษัตริย์เป็นผู้ดำเนินการฟ้องร้องประชาชนด้วยตนเอง ดังนั้น เมื่อมีการหมิ่นประมาทเกิดขึ้น การดำเนินคดีจะต้องทำผ่านตำรวจ มีหลายคนที่ถูกดำเนินคดีลักษณะนี้แต่หลายคนเขาอยู่ต่อสู้คดีไม่ได้หนีหายไป ไหน ผมเองเมื่อถูกใครฟ้องก็ไม่หนีไปไหน (เมื่อพูดถึงตอนนี้นายใจได้ตะโกนสวนขึ้นมาว่า ผมก็ไม่ได้หนี นายอภิสิทธิ์ก็ตอบว่า ผมก็ไม่ได้พูดว่าคุณหนี ทำให้ผู้ฟังปรบมือเสียงดังพร้อมกับหัวเราะ เนื่องจากคงขำนายใจที่อ้างว่าไม่ได้หนีแล้วทำไมมานั่งอยู่ที่นี่)

นายกรัฐมนตรีเคลียร์ข้อข้องใจของนายใจต่อไปว่า "คุณไม่ควรมีสิทธิพิเศษเหนือคนอื่น คุณต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทยและต่อสู้ภายใต้กฎหมายไทยเช่นเดียวกับคนไทยคน อื่นๆ ผมเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ดูแลเรื่องการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ถูกใช้ไปในทางมิชอบและมีความยุติธรรม ผมกำลังหารือกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าหนทางใดจะดีที่สุดในการบังคับใช้ กฎหมายนี้"

นายอภิสิทธิ์ตบท้ายว่า "สิ่งที่ผมจะพูดก็คือว่า กรุณาเลิกดึงสถาบันกษัตริย์ลงมาอยู่ในความขัดแย้งทางการเมือง ควรรักษาสถาบันนี้ที่คนไทยเคารพเทิดทูนให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง หากคุณมีปัญหากับผมให้มาถกเถียงกับผมโดยตรง แต่โปรดอย่าดึงสถาบันลงมาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง" เมื่อกล่าวจบผู้ฟังในห้องประชุมปรบมือเสียงดังอย่างยาวนานให้กับนาย อภิสิทธิ์ และมีเสียงผู้ชายคนหนึ่งตะโกนอย่างถูกใจว่า yes

หากจะสรุปผลการชกครั้งนี้ คงต้องบอกว่า คนอายุ 54 ปี (แต่ใจเด็ก) อย่างนายใจ แพ้ (น็อค) เหตุผลของคนอายุย่าง 45 ปีอย่างนายอภิสิทธิ์

กลับมาที่ประเทศไทยกันบ้าง นักวิชาการหัวเสรีสุดขั้วบางคน ใช้ตรรกะแบบแปลกๆ เอาสีข้างเข้าถู อ้างว่าความจงรักภักดีที่พสกนิกรมีต่อสถาบันกษัตริย์นั้นเกิดจากพระมหา กรุณาธิคุณ ความศรัทธาและจงรักภักดีไม่สามารถใช้กฎหมายมาบังคับข่มขู่ พยายามอ้างว่าการพยายามทำลายสถาบันกษัตริย์ไม่มีอยู่จริงเป็นแค่เรื่องแต่ง ขึ้นมาให้ดูน่ากลัวเหมือนแต่งเรื่องผีขึ้นมาหลอกเด็ก พยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงแถลงการณ์สยามแดงของนายใจ

ถูกต้องที่ว่าความจงรักภักดีและศรัทธา ไม่สามารถใช้กฎหมายมาบังคับข่มขู่ ถูกต้องที่ว่าใครจะจงรักภักดีและศรัทธาต่อบุคคลใด สถาบันใดเป็นเรื่องที่บังคับไม่ได้ แต่สิ่งที่นักวิชาการคนนี้แกล้งไม่กล่าวถึงก็คือว่าการหมิ่นประมาทกับการ จงรักภักดีเป็นคนละเรื่อง ความจงรักภักดีเป็นความรู้สึกภายใน ไม่มีกฎหมายใดจะบังคับขืนใจได้อยู่แล้ว แต่หากมีการกระทำหมิ่นประมาทใส่ร้ายก็ต้องถูกลงโทษ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงไม่ใช่กฎหมายที่บังคับให้จงรักภักดี

นักวิชาการสีแดงบางคนยังตั้งหน้าตั้งตาจะให้เลิกกฎหมายปกป้องสถาบัน กษัตริย์ โดยที่ไม่ยอมนึกบ้างว่าคนธรรมดายังมีกฎหมายหมิ่นประมาทคุ้มครอง แล้วทำไมสถาบันกษัตริย์จึงจะมีกฎหมายคุ้มครองในเรื่องเดียวกันนี้ไม่ได้ คุณทักษิณเองก็ฟ้องหมิ่นประมาทใครพร่ำเพรื่อไปหมด สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีก็ถือว่าเป็นนายกฯที่ฟ้องสื่อมากที่สุด เรียกค่าเสียหายทีไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ไม่เห็นนักวิชาการคนนี้ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทบ้าง

การออกมาเดือดเนื้อร้อนใจเรื่อง กม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเฉพาะช่วงนี้ของนักวิชาการกลุ่มนี้ มองอย่างไรก็ไม่พ้นการปกป้องกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มีการจาบจ้วงสถาบันทั้งในเชิงสัญลักษณ์และแบบเปิดเผย

ถ้าหากนักวิชาการเหล่านี้ที่อ้างว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการกลั่นแกล้งทางการเมือง ถามว่ากฎหมายอื่นไม่มีช่องโหว่ให้เป็นเครื่องมือของนักการเมืองเช่นนั้นหรือ อย่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่สมัยหนึ่งรัฐบาลยุคทักษิณ มีการส่งเจ้าหน้าที่ ปปง.ไปตรวจสอบบัญชีและฐานะทางการเงินของบุคคลที่อยู่ตรงข้ามฝ่ายรัฐบาลอย่าง กว้างขวาง ไม่เว้นแม้แต่นักข่าว ทำไมนักวิชาการกลุ่มนี้ไม่เห็นรณรงค์ให้เลิกกฎหมาย ปปง.

ส่วนข้อแนะนำของนักวิชาการบางคนที่ให้สำนักพระราชวังเป็นผู้แจ้งความ ดำเนินคดีเองนั้น ก็พึงตระหนักว่าสมควรหรือไม่ ที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์เป็นโจทก์ฟ้องร้องประชาชน ด้วยตัวเอง จะเป็นการทำให้สถาบันมัวหมองเพราะดึงเอาสถาบันลงมาเป็นคู่ความกับประชาชนโดย ตรงหรือไม่ การตรากฎหมายที่ผ่านมา หลายฝ่ายคงคิดประเด็นนี้ดีแล้วจึงไม่ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ สถาบันกษัตริย์เป็นผู้ฟ้องร้องโดยตรง


วันที่ 09 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11352 มติชนรายวัน


-----------------------------------------------------------------------------------

ใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์

รองศาสตราจารย์ ใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์ (อังกฤษ: Giles Ji Ungpakorn; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2496 — ) เป็นนักเคลื่อนไหวทางวิชาการและการเมืองสัญชาติไทย-อังกฤษ[1] เดิมเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร เพื่อหลบหนีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ


ประวัติ
ใจเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรชายคนสุดท้องของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับนางมาร์กาเร็ต สมิธ ซึ่งมาจากลอนดอน[2] มีพี่ชายสองคน คือ จอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และไมตรี อึ๊งภากรณ์ เจ้าหน้าที่ข่าวสารองค์การการค้าโลก ประจำเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[3]

ใจจบปริญญาตรีชีวเคมี จากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กส์ และปริญญาโทสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเดอแรม และปริญญาโทรัฐศาสตร์ (การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่ วิทยาลัยบูรพศึกษาและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน (The School of Oriental and African Studies - SOAS) และทำงานเป็นผู้ช่วยฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เป็นเวลา 12 ปี

ใจ อึ๊งภากรณ์ เดินทางกลับประเทศไทย และเป็นอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540 ร่วมกับกลุ่มเพื่อนฝูง ก่อตั้งคณะทำงานเพื่อชำระประวัติศาสตร์กรณี 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ขึ้นมาใหม่ ร่วมกิจกรรมกับองค์กรพัฒนาเอกชน และเขียนบทความวิจารณ์สังคมและการเมืองไทย ในหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่เสมอ

บทบาททางการเมือง
ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ใจประกาศไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยเป็นแกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัยจัดชุมนุมประท้วงในกรุงเทพมหานคร[4] รวมทั้งให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า นายกฯ ที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีทหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีเถื่อน จนถูกแจ้งความจับในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ [5]

ในปี พ.ศ. 2550 นายใจได้ตีพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษ ชื่อ A Coup for the Rich โดยมีเนื้อหาบางส่วนอ้างอิงหนังสืออื้อฉาว The King Never Smiles และพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เขายังแย้งว่ารัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์อีกด้วย ทำให้หนังสือถูกงดจำหน่ายในประเทศไทย ดังที่บรรณาธิการได้ชี้แจง[6] และนายใจถูกสั่งฟ้องคดีอาญา ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 นอกจากนี้

เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 เขาถูกแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเป็นทางการในกรุงเทพมหานคร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


2 ความคิดเห็น:

  1. สนใจตรงไหนคะ

    ตอบลบ
  2. ใจลส์ อึ้งภากร ไปมีชื่อในเฟส แขกปัตตานีไม่รู้ว่าจริงหรือถูกอ้าง หาว่า ไทยเป็นเจ้าอาณานิคม ผนวกปัตตานีเข้าไว้ในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบธรรม มันท่าจะบ้า แม่มันอังกฤษต่างหากที่เป็นเจ้าอาณานิคม มารุกราน ไทยนะถูกรุกราน มันไม่ดีเหมือนพ่อมัน เลือดในตัวมันครึ่งนึง ในถิ่นเกิดต่างแดนจึงไม่ทำให้ภักดีมาทางเรา มันจึงหยามหมิ่น สิ่งที่พ่อมันรักภักดี หรือมันจน รับเงินบักเหลี่ยม

    ตอบลบ

Comment here (เขียนความคิดตรงนี้นะ)