Suggestion Post

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ภาค 6 อวสานหงสา        ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพ...

2554-06-28

เสียดายคน Vote no ไม่ได้อ่าน

โดย ดร. ไกรยส ภัทราวาท
Institute for Quantitative Social Science Harvard University
(Visiting Fellow in Residence 2009-2010)
ในปี 2553 ผมได้รับเชิญเป็น Visiting Fellow ที่ Institute for Quantitative Social Science มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อทำงานวิจัยการใช้มาตรการอารยะขัดขืนผ่านการโหวตโนและการคว่ำบาตรการเลือกตั้งในปี 2549 ของประเทศไทย ผมจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการโหวตโนในการเลือกตั้งของไทยในปี 2549 และ 2554 ที่คนไทยไม่เคยรู้เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของพี่น้องทุกคนและของประเทศไทย
โหวตโนปี 2549 ไม่มีผลทางนิตินัย
การโหวตโนในปี 2549 ไม่มีผลทางนิตินัยต่อผลการเลือกตั้ง
แท้จริงแล้ว เงื่อนไขของการเลือกตั้งใหม่ อยู่ที่ 20% ซึ่งเป็นสาเหตุที่ต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ถึง 3 รอบ ใน 40 เขต จนไม่สามารถเปิดการประชุมสภานัดแรกได้
ในการเลือกตั้งส.ส.เมื่อปี 2549 พรรคฝ่ายค้านและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคว่ำบาตรการเลือกตั้งและรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิโหวตโนโดยอ้างว่าการกาช่องโหวตโนเพื่อประท้วงการยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่เพื่อลบล้างความผิดในการทุจริตทางนโยบายของรัฐบาล คนไทยมากมายที่โหวตโนในปี 2549 และที่กำลังจะโหวตโนในสัปดาห์หน้าเข้าใจว่าหากคะแนนโหวตโนในเขตที่มีผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยลงสมัครเพียงพรรคเดียวมีมากกว่าคะแนนที่ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้รับ ผู้สมัครผู้นั้นจะไม่สามารถได้รับเลือกเป็นสส.และกกต.จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ ข้อเท็จจริงในปี 2549 คือมาตรา 74 ในพรบ.การเลือกตั้งปี 2541 ระบุเงื่อนไขที่จะต้องมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียวไว้เพียงเงื่อนไขเดียวคือการมีผู้ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครคนนั้นไม่ถึงร้อยละ20ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในเขตนั้น เงื่อนไขที่ผู้สมัครคนเดียวจะต้องได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงโหวตโนพึ่งจะได้รับการตราเป็นกฎหมายในพรบ.การเลือกตั้งปี 2550 เท่านั้น
ใครโหวตโนในปี 2549 ?
แม้จะมีเสียงโหวตโนถึง 12 ล้านเสียงซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 8 ล้านใบจากการเลือกตั้งในปี 2548แต่คะแนนโหวตโนในปี 2549 ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีความแตกต่างตามคุณลักษณะผู้มีสิทธิเลือกตั้งของเขตเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากเขตเลือกตั้งทั้งหมด 400 เขต เขตที่มีการใช้สิทธิโหวตโนมากเกินกว่าร้อยละ 40 ของคะแนนรวมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ฐานเสียงของฝ่ายค้าน (Partisan District) อันประกอบด้วย 59 เขตที่เลือกพรรคฝ่ายค้านมาตลอดการเลือกตั้งในปี 2544 และ 2548 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคกลาง และ เขตการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันกันสูง (Swing District) อันประกอบด้วย 111 เขตเลือกตั้งใน กทม. ภาคกลาง และภาคใต้ ที่ไม่มีพรรคใดเคยชนะการเลือกตั้ง 2 ครั้งติดต่อกันระหว่างปี 2544-2548 จากการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติพบว่ากลุ่มผู้ใช้สิทธิโหวตโนมี 3 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้าน กลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มผู้เคยสนับสนุนพรรคไทยรักไทยในปี 2544-2548 โดยจากการประมาณการณ์พบว่าผู้โหวตโนในปี 2549 ทั้ง 12 ล้านคนเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านราว 35% กลุ่มผู้เคยสนับสนุนพรรคไทยรักไทยราว 40% และกลุ่มพันธมิตรราว 25% นอกจากนั้นยังพบว่าผู้หญิง ผู้มีรายได้ปานกลาง-สูง ผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป และผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารสม่ำเสมอมีแนวโน้มจะโหวตโนมากกว่ากลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งอื่นๆ
โหวตโนปี 2554 ก็ยังไม่มีผลทางนิตินัย
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2554  กรุงเทพธุรกิจออนไลน์และโดยคมชัดลึกได้นำเสนอบทความ “ผลทางนิตินัยของบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (VOTE NO)” ของคุณอนุรักษ์  สง่าอารีย์กูล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ซึ่งมีข้อความสนับสนุนผลทางนิตินัยของการโหวตโนโดยการอ้างมาตรา 88 และ มาตรา 89 ของ พรบ. การเลือกตั้งปี 2550 ดังนี้
“มาตรา 89 บัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 88 ซึ่งเป็นเทคนิคการร่างกฎหมายที่ต้องการให้มาตรา 89 นำหลักการตามมาตรา 88 มาใช้บังคับด้วยโดยไม่ระบุซ้ำลงไปในมาตรา 89 อีก จึงหมายความว่า ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครหลายคน ผู้สมัครที่จะถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง จะต้องผ่านองค์ประกอบของกฎหมายทั้งมาตรามาตรา 88 และมาตรา 89 กล่าวคือ 1)ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น 2)ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง และ 3)ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้น
ผมเห็นไปทางเดียวกับ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ตั้งข้อสังเกตว่าการตีความคำว่า “ภายใต้บังคับ” เช่นนี้เป็นการตีความที่ผิดที่ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าการโหวตโนในการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ ซึ่งมีผู้สมัครรับเลือกตั้ง 2 คนขึ้นไปในทุกเขตเลือกตั้ง มีผลทางนิตินัย คำว่า“ภายใต้บังคับ”เป็นวลีที่มีนัยพิเศษทางกฎหมาย โดยในบริบทนี้หมายความว่า “ยกเว้นในกรณีตาม” จึงขอยกมาตรา 88 และ 89 จากพรบ. การเลือกตั้ง 2550 ขึ้นมาอธิบายให้กระจ่างดังนี้
มาตรา 88 ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียวผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง…
มาตรา 89 ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง…
จากตัวบทข้างต้นในหนึ่งเขตเลือกตั้งจะเกิดสถานการณ์ได้ 2 สถานการณ์คือ เป็นเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัคร 1 คน และเป็นเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครมากกว่า 1 คน ในกรณีทั่วไปที่มีผู้สมัครมากกว่า 1 คนความตามมาตรา 89 “ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นย่อมเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง” จะถูกบังคับใช้ในเขตเลือกตั้งนั้นไม่ว่าจะมีคะแนนโหวตโนมากน้อยเท่าใด ส่วนเขตเลือกตั้งใดมีผู้สมัครเพียง 1 คน  ความตามมาตรา 88  “ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิในเขต และมากกว่าจำนวนบัตรโหวตโน” จะถูกบังคับใช้
ดังนั้น กรณีมาตรา 88 กับ มาตรา 89 จะนำมาปะปนกันไม่ได้ เพราะในเขตเลือกตั้งเดียวกันย่อมเป็นได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คือมีผู้สมัครหลายคนตามกรณีมาตรา 89 หรือไม่ก็มีผู้สมัครเพียงคนเดียวตามกรณีมาตรา 88 ทั้งสองกรณีไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้ ดังนั้นกฎหมายทั้ง 2 มาตราจึงไม่สามารถบังคับใช้พร้อมกันในเขตเลือกตั้งเดียวกัน
จากการแถลงการณ์ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในเวปไซต์คณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่ามีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมากกว่า 1 คนขึ้นไปในทุกเขตเลือกตั้งทั้ง 375 เขต ดังนั้นในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ ความในมาตรา 89 จึงมีผลบังคับใช้ในทุกเขตการเลือกตั้งและผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นย่อมเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งไม่ว่าจะมีเสียงโหวตโนเท่าใดในเขตนั้น การโหวตโนในการเลือกตั้งครั้งนี้จึงไม่มีผลทางนิตินัยตามที่หลายคนเข้าใจ
ดร. ไกรยส ภัทราวาท
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง
Institute for Quantitative Social Science
(Visiting Fellow in Residence 2009-2010)
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


เปิดหนังสือสุวิทย์ คุณกิตติ ยื่นบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกฯ ๑๙๗๒ (บางส่วน)

   ฟิฟทีนมูฟ — เปิดเนื้อหาหนังสือบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ที่สุวิทย์ คุณกิตติ ส่งถึง ผอ.ยูเนสโก ย้ำการดำเนินการผิดระเบียบข้อบังคับ รวมถึงธรรมนูญยูเนสโก ในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ประนามความไม่โปร่งใสและเอนเอียง ระบุการขึ้นทะเบียนนำมาซึ่งปัญหาความตึงเครียดและการปะทะ ทำลายความสันติสุขและความมั่นคง ไทยพยายามชี้แจงต่อเนื่องแต่ยูเนสโกและมรดกโลกไม่รับฟัง ดึงดันเดินหน้ากระบวนการ ย้ำไทยไม่มีทางเลือกนอกจากบอกเลิกอนุสัญญาฯ และการบอกเลิกครอบคลุมทุกประเด็นปัญหาไทย-ยูเนสโก เผยไทยย้ำแนวทางขอขึ้นทะเบียนร่วม
เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๕ ได้ตัดสินใจ (อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ค.ศ.๑๙๗๒) ในขั้นสุดท้ายเมื่อคณะกรรมการมรดกโลกได้ตัดสินใจนำวาระแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร เข้าพิจารณาในที่ประชุม โดยก่อนการพิจารณาววาระ นายสุวิทย์ และคณะผู้แทนไทยได้แถลงบอกเลิกอนุสัญญาฯ ในที่ประชุม และทำการประท้วงโดยเดินออกจากที่ประชุม หลังจากนั้นได้มอบหนังสือบอกเลิกฯ ให้กับตัวแทนขององค์การยูเนสโก
ฟิฟทีนมูฟนำลงรายละเอียดบางส่วนของหนังสือบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ ที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ลงนาม เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ ส่งถึงนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการยูเนสโก ซึ่งมีเนื้อหาในช่วงต้นอ้างถึงข้อกังวลในบันทึกของประเทศไทยที่ส่งถึงผู้อำนวยการยูเนสโก ๒ ฉบับ ก่อนหน้า คือ ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๒ และกรกฎาคม ๒๕๕๓ ประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก และย้ำความกังวลของนายสุวิทย์ คุณกิตติ ต่อมติ Decision 32 COM 8B.102 ในคราวการประชุมครั้งที่ ๓๒ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนนาดา
หนังสือฯ ระบุว่า ประเทศไทยเสียใจอย่างสุดซึ้งที่คณะกรรมการมรดกโลกไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความอ่อนไหวและความสำคัญของปัญหา การขึ้นทะเบียนปราสาทฯ เป็นมรดกโลกได้ถูกพิสูจน์แล้วว่านำไปสู่ความตึงเครียดและการเผชิญหน้าอย่างยืดเยื้อระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้าน และนำไปสู่การปะทะทางทหารหลายครั้ง เป็นผลให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของทั้งสองฝ่าย ทำลายความเป็นปกติสุขของประชาชนตามแนวชายแดน นอกจากนี้ คณะกรรมการมรดกโลกได้ละเลยความจริงที่ว่ามติไม่สามารถนำปฏิบัติได้จริง เพราะปัญหาเกี่ยวข้องกับเขตแดนและอธิปไตยเหนือดินแดนของประเทศไทย
หนังสือของนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยฯ ลงวันที่ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๔ ส่งถึงนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการยูเนสโก หน้าที่ ๑หนังสือฯ กล่าวประนามยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกใน ว่า มตินี้ไม่เพียงแต่ฝ่าฝืนหลักนิติธรรมของยูเนสโก แต่ได้ทำลายอย่างร้ายแรงต่อจิตวิญญาณของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกและธรรมนูญของยูเนสโก ซึ่งเป็นที่ตั้งของแนวคิดการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง
กระบวนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลกไม่สมบูรณ์ ดังที่ศูนย์มรดกโลกและคณะกรรมการมรดกโลกละเลยอย่างสิ้นเชิง ที่จะตรวจสอบหลักการพื้นฐานและขั้นตอนจำเป็นที่ระบุในแนวทางปฏิบัติ (Operational Guidelines) สำหรับการดำเนินการตามอนุสัญญามรดกโลก ที่สำคัญที่สุดคือ ล้มเหลวที่จะตรวจสอบและเข้มงวดต่อการรวมเอาทรัพย์สินซึ่งตั้งอยู่ในดินแดน อธิปไตยหรือเขตอำนาจศาลของประเทศไทย ดังที่ประเทศไทยได้ชี้ประเด็นอย่างต่อเนื่องว่าเอกสารเสนอขึ้นทะเบียน (Nomination dossier) ยื่นโดยกัมพูชา ไม่เข้าข้อกำหนดโดยรวม ดังกำหนดในย่อหน้าที่ ๑๐๓, ๑๐๔, ๑๓๒, ๑๓๕, ๑๔๐, ๑๔๑ และ ๑๔๘ ของแนวทางปฏิบัติ เพราะไม่ได้ให้เขตกันชน (buffer zones) ที่เพียงพอ และแผนบริหารจัดการควรรับประกันการบริหารจัดการของปราสาท อย่างรับผิดชอบและโปร่งใสในฐานะเป็นแหล่งมรดกโลก แม้ประเทศไทยได้ประท้วงอย่างรุนแรง ศูนย์มรดกโลกยังคงเห็นว่าเอกสารขอขึ้นทะเบียนที่กล่าวถึง มีความเพียงพอสำหรับเป้าหมายในมือ และส่งต่อไปยังคณะกรรมการมรดกโลก การออกมติในขณะนั้น คณะกรรมการมรดกโลกได้ลบล้างองค์ประกอบสำคัญของแนวทางปฏิบัติ และได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก
นอกจากนี้ หนังสือฯ ได้เสนอการขึ้นทะเบียนร่วมข้ามพรมแดน (transboundary property) พร้อมระบุว่า ประเทศไทยได้เสนอมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยอ้างถึงย่อหน้าที่ ๑๓๕ ของแนวทางปฏิบัติ เป็นทางออกให้เกิดการความร่วมมือในการการอนุรักษ์และคุ้มครองปราสาทอย่างยั่งยืน ในเรื่องนี้ หนังสือฯ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยปรารถนาที่จะยืนยันว่า ขณะที่เขตแดนในบริเวณดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไข มติใด ๆ เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินควรต้องเลื่อนออกไป จนกว่างานการสำรวจและจัดทำหลักเขต ภายใต้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ดำเนินการแล้วเสร็จ ประเทศไทยปรารถณาที่จะย้ำต่อไปอีกว่า มติที่ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการการปฏิบัติตามมติ จะไม่ด้วยประการทั้งปวงที่จะทำให้เสียหายต่อจุดยืนทางกฎหมายของไทย บูรณภาพเหนือดินแดน อธิปไตย และการสำรวจและจัดทำหลักเขตทางบกในพื้นที่ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ
หนังสือฯ แถลงยืนยันว่า กิจกรรมใดโดยทั้งกัมพูชา คณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก หรือภาคีอื่น ในพื้นที่ใกล้ปราสาทฯ ซึ่งเป็นดินแดนไทย ไม่สามารถดำเนินการได้โดยปราศจากการยินยอมอย่างเป็นทางการของรัฐบาลไทยก่อน
หนังสือของนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยฯ ลงวันที่ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๕๔ ส่งถึงนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการยูเนสโก หน้าที่ ๔ประเทศไทยกังขาต่อการขาดความโปร่งใสและความเป็นมืออาชีพ ซึ่งแสดงออกในหลายโอกาส โดยกองเลขานุการของคณะกรรมการมรดกโลก และความล้มเหลวในการดูแลเรื่องที่ละเอียดอ่อนและอ่อนไหวนี้ ในหลายโอกาสที่นำไปสู่การประชุมครั้งที่ ๓๔ ประเทศไทยได้ร้องขอซ้ำหลายครั้งเพื่อที่จะได้รับเอกสารทำงาน (working document) ของวาระการประชุมกรณีสถานะการอนุรักษ์ (state of conservation) ของปราสาทพระวิหาร แต่เอกสารดังกล่าวถูกส่งถึงผู้แทนไทยเพียง ๒๔ ชั่วโมง ก่อนหน้าระเบียบวาระถูกกำหนดนำขึ้นพิจารณา กระชั้นกว่าที่กำหนดให้ส่งก่อนหน้า ๖ สัปดาห์ ในข้อ ๔๕ ของระเบียบปฏิบัติ (Rules of Procedure)
เราได้ทำความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องต่อยูเนสโก และคณะกรรมการมรดกโลกถึงความไม่สมบูรณ์ของกระบวนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในบัญชีมรดกโลก ตลอดจนความจำเป็นที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะมีต่อไป อันอาจมีสาเหตุจากกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งจะซ้ำเติมความตึงเครียดที่ไม่พึงประสงค์และนำไปสู่การเผชิญหน้าซ้ำ แม้มีการร้องเรียนและประชุมร่วมระหว่างตัวแทนไทย กับเจ้าหน้าที่ของยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกหลายครั้ง ขณะนี้ปรากฏชัดว่าความพยายามของเราไม่เกิดประโยชน์ ดังหลักฐานที่ต้องหารือซ้ำเพื่อเลื่อนแผนบริหารจัดการที่การประชุมครั้งที่ ๓๕ และความแตกต่างที่ไม่ได้รับการแก้ไข
หนังสือฯ กล่าวสรุปจุดยืนว่า โดยคำนึงถึงข้อพิจารณาที่กล่าวถึงข้างต้น และการมอบอำนาจโดยรัฐบาลไทย ผู้แทนไทยซึ่งเข้าร่วมการประชุมครั้งที่ ๓๕ ไม่มีทางเลือก นอกจากต้องบอกเลิก (denounce) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ค.ศ.๑๙๗๒ ตามข้อ ๓๕ เอกสารการบอกเลิกจะถูกส่งถึงท่านในกำหนดเวลา
ในเรื่องนี้ ใคร่ขอรับรองว่าการตัดสินใจบอกเลิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ เป็นประเด็นที่ครอบคลุมในความสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างประเทศไทยและยูเนสโก ตลอดจนองค์กระหว่างประเทศอื่นซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก

---------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา  โพสต์เมื่อ  - 15:16 น. โดย n/e - 15:16 น.    เปิดหนังสือลาออกจากภาคีมรดกโลก   

2554-06-21

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง The Philosophy of Sufficiency Economy


เศรษฐกิจพอเพียง (อังกฤษ: sufficiency economy) เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัส แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ได้ทรงเน้นย้ำเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอื่นๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัส เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2542
โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 มีใจความดังนี้
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไป ในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัว ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
          ทั้งนี้จะต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจ ของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึก ในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”
แผนภาพแสดงแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ใช้ความรู้และจริยธรรมในการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง

  ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานข้างต้น เป็นที่มาของ นิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านช่องทางต่างๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้ และ คุณธรรม"
ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสว่า
"การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"
               พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ยึดหลักทางสายกลาง (พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี) คำว่า ความพอเพียง นั้นหมายถึงความพร้อมที่จะจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทั้งภายนอกและภายใน ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ยังสามารถมองได้ว่าเป็นปรัชญาในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ที่จำเป็นต้องใช้ทั้ง ความรู้ ความเข้าใจ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) ผนวกกับ คุณธรรม (ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน) ในการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด และสามารถอยู่ได้ แม้นในสภาพที่มีการแข่งขัน และการไหลบ่าของโลกาภิวัฒน์ นำสู่ ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ของ ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม ดังที่แผนภาพและการจัดแสดงในงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ว่าทุกๆ ระดับจากประชาชนทุกฐานะไปจนถึงรัฐบาลสามารถนำไปปฏิบัติได้
          อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" [1] ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึงเศรษฐกิจพอเพียงว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น" การดำรงชีวิตอยู่ได้ จำเป็นที่จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญสี่ประการ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งในโลกยุคทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ปัจจัยทั้งสี่ไม่อาจจะหามาได้ถ้าปราศจาก เงิน ซึ่งถือว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาแต่นมนาน การได้มาซึ่งเงินนั้น จำเป็นที่บุคคลจะต้องประกอบสัมมาอาชีพ แล้วนำเงินที่ได้มานั้น ไปแลกเปลี่ยนให้ได้มาซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิต
          ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้บุคคล สามารถประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มานั้นซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้นที่ได้มาจากการประกอบสัมมาอาชีพ โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน (ปัจจัยเสริมในที่นี้เช่น ท่องเที่ยว ความบันเทิง เป็นต้น) สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมในปัจจุบัน ได้ถูกปลูกฝัง หรือสร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
การนำไปใช้
          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท [2]
          ปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่วิเคราะห์หรือตั้งคำถาม เนื่องจากประเพณี สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า "วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง" [3] คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง"เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง สมเกียรติได้ให้สัมภาษณ์วิจารณ์โครงการในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ว่า "รัฐบาลยังไม่ได้ใช้อะไรเลยเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ใช้แต่พูดเหมือนคุณทักษิณ แต่คุณทักษิณพูดควบคู่กับการเอาทุนนิยม 100 เปอร์เซ็นต์ลงไป.. ซึ่งรัฐบาลนี้ต้องปรับทิศทางใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้เอาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาและเป็นนโยบายทางวัฒนธรรมและสังคม" สมเกียรติยังมีความเห็นด้วยว่า ความไม่เข้าใจ นี้ อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด.
          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด [4] เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ [5] โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน [6]
enlightenedheartenlightened

อ้างอิง
1. อภิชัย พันธเสน, พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ, สำนักพิมพ์อมรินทร์
2. ดร. พิสิฐ ลี้อาธรรม, 2549 ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคการเงินการคลัง
3. วิกฤต "เศรษฐกิจพอเพียง" สมเกียรติ อ่อนวิมล "ปรัชญา" ไม่ใช่ "ทฤษฎี", มติชน, 26 ก. พ. 2550, น. 11
4. UN Chronical Online Honouring the World's 'Development King' By Håkan Björkman
5. UN Secretary-General office. THAI KING’S DEVELOPMENT AGENDA, VISIONARY THINKING INSPIRATION TO PEOPLE EVERYWHERE, SAYS SECRETARY-GENERAL TO BANGKOK PANEL
6. UN News Center. With new Human Development award, Annan hails Thai King as example for the world

-----------------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิงนำมาโดย    มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ


2554-06-16

สมุดปกขาว อัมสเตอร์ดัม ฉบับสมบูรณ์ โดยประชาไท(ตอน ๕)


กระทั่งก่อนที่คนเสื้อแดงอีก 55 คนจะถูกสังหารด้วยน้ำมือของกองทัพไทยเสียด้วยซ้ำที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ให้คำมั่นว่าตนเองและรัฐบาลของตนจะสร้างความ “สมานฉันท์”  และโดยเฉพาะยิ่งหลังจากมีการสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งเลว ร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ประเทศไทยก็ยิ่งต้องการการสมานฉันท์กว่าที่เคยเป็นมา แต่น่าเศร้าใจที่เห็นได้ชัดว่าผู้มีอำนาจที่ปกครองอยู่ในขณะนี้ไม่มีความ สามารถหรือมีความตั้งใจแรงกล้าเพียงพอที่จะส่งเสริมการสมานฉันท์อย่างแท้ จริง
อีกทั้งมาตรการที่เข้มงวดและการโหมไล่ล่าในช่วง 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา (เห็นได้จากการต่ออายุ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การจับกุมคุมขังผู้ที่สนับสนุนคนเสื้อแดงจำนวนหลายร้อยคน การกักขังแกนนำ นปช.ไว้ในค่ายทหาร การปราบและปิดกั้นสื่อทางเลือกทั้งหมด) การแต่งตั้งคณะกรรมการหลากหลายคณะเพื่อแสร้งให้เห็นว่าประเทศกำลังเดินหน้า ไปสู่หนทางแห่งการ “สมานฉันท์” ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วเป็นเพียง “การสร้างความเห็นพ้องทางอุดมการณ์” โดยการใช้อำนาจบังคับผ่านการโฆษณาชวนเชื่อและการปราบปราม
นายกรัฐมนตรีและคณะนายทหารซึ่งกำลังชักใยอยู่เบื้องหลังรัฐบาลนั้น เลือกที่จะเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงพื้นฐานสองประการที่คนทั้งโลกเข้าใจแล้ว ประการแรกคือ การสมานฉันท์ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากความจริง ประการที่ 2 การปราบปรามไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความจริงและการสมานฉันท์ เผด็จการนั้นมีแต่จะสร้างความเกลียดชังและการหลอกลวงเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
การทบทวนเหตุการณ์ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์และกองทัพไทยต้องรับผิด ชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่กระทำอย่างต่อเนื่อง อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และการกลั่นแกล้ง ไล่ล่าทางการเมืองอย่างเป็นระบบ ขณะที่รัฐบาลไทยมีหน้าที่ตามหลักกฎหมาย ระหว่างประเทศที่ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนการกระทำละเมิดของตน และต้องนำตัวผู้รับผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ประชาคมนานาชาติก็มีความรับผิดชอบด้านศีลธรรมที่จะทำให้มั่นใจว่าการก่อ อาชญากรรมของรัฐจะไม่ถูกปกปิด อันที่จริง ขณะนี้เห็นได้ชัดเจนว่า มีแต่แรงกดดันจากนานาชาติและการเข้ามามีส่วนร่วมของนานาชาติเท่านั้นที่จะ สร้างความมั่นใจได้ว่าการสืบสวนสอบสวนเหตุการณ์สังหารหมู่ในกรุงเทพฯ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพนั้นจะไม่เป็นเพียงการสร้างความยุ่งเหยิง ที่นำไปสู่การฟอกตัวเองจากกระบวนการยุติธรรมเพื่อซ่อนผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ต่อความรุนแรงโดยรัฐอย่างที่เป็นมาตลอดทุกครั้งในประวัติศาสตร์ไทย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าประวัติศาสตร์จะเป็นผู้ตัดสินความผิดของผู้ที่ต้องรับผิด ชอบต่อกรณีการสังหารหมู่ที่เพิ่งเกิดขึ้น เฉกเช่นเดียวกับการสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยจำนวนมาก เมื่อปี 2516, 2519 และ 2535 อย่างไรก็ตามสำหรับครั้งนี้ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบจะต้องเผชิญกับความรับผิดจากการกระทำของตนเองในศาล ยุติธรรมที่แท้จริงซึ่งไม่ใช่ศาลที่พรั่งพร้อมไปด้วยมิตรสหาย หรือคนในการอุปถัมภ์ หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งจากพวกเขากันเอง
“การสมานฉันท์” ยังต้องอาศัยการยอมรับว่าความวุ่นวายทางการเมืองในปัจจุบันเป็นผลมาจากการ ทำลายและปฏิเสธเจตจำนงของประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่า ดังนั้นแล้ว การแก้ไขจะทำได้ก็ด้วยการยินยอมให้ประชาชนไทยได้พูดด้วยตัวเองในการเลือก ตั้งเท่านั้น แน่นอนว่าเพียงการจัดการเลือกตั้งนั้นยังไม่เพียงพอ ประเทศไทยต้องการการเลือกตั้งในบริบทที่ไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบอันไม่สมควรจาก การปิดกั้นฝ่ายตรงข้าม จากการหนุนหลังจากกลไกรัฐ จากความโน้มเอียงของศาลที่จะบิดเบือนผลการเลือกตั้ง จากโอกาสที่กลุ่มอำนาจเก่าจะบ่อนทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซ้ำอีก หรือความหวาดกลัวว่าการรัฐประหารโดยกองทัพจะเกิดขึ้นอีก ประเทศไทยจึงต้อง การการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันของทุกฝ่ายภายใต้กฎกติกาที่เคารพในสิทธิของ ประชาชนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครที่พวกเขาเลือกได้ด้วยตัวเอง และมีรัฐบาลจากพรรคการเมืองที่พวกเขาได้เลือกมา รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 ที่ประกาศใช้ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหารซึ่งให้อำนาจศาลในการยุบพรรคการ เมืองและตัดสิทธิทางการเมืองของผู้นำพรรคนั้นสอบตกด้านความชอบธรรม ตราบเท่า ที่อภิสิทธิ์ยังมีความจริงใจต่อความเชื่อของตัวเองว่าเขามีความชอบธรรมที่จะ ปกครองประเทศ เขาก็ควรยินดีกับโอกาสที่จะได้แสดงว่าตนเองมีความชอบธรรมผ่านสนามเลือกตั้ง ที่สู้กันอย่างเท่าเทียม ตราบเท่าที่เขาหวาดกลัวการตัดสินจากประชาชน เขาย่อมไม่ที่อยู่ที่ยืนในรัฐบาล
กิตติกรรมประกาศ
เราขอขอบคุณผู้ร่วมงานและมิตรสหายทั้งเก่าและใหม่ ผู้ให้เกียรติร่วมจัด ทำสมุดปกขาวเล่มนี้ ซึ่งเราซาบซึ้งในความร่วมมือและการตระหนักในความเท่าเทียมอย่างแท้จริงของ ประชาชนไทย

Amsterdam และ Peroff LLP
กรกฎาคม 2553


  1. [1] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 วรรค 3(ข) และ 3(จ)
  2. [2] ICCPR ข้อ 14 วรรค 3(จ)
  3. [3]“Deaths Probe ‘Won’t Cast Blame’,” Bangkok Post, 12 มิถุนายน 2553http://www.bangkokpost.com/news/local/38619/deaths-probe-won-t-cast-blame
  4. [4] Pinai Nanakorn, “Re-Making of the Constitution in Thailand,” Singapore Journal of International & Comparative Law, 6(2002): 90-115, p. 93.
  5. [5] เพิ่งอ้าง, หน้า 107-09.
  6. [6] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (จากนี้เรียก รัฐธรรมนูญฉบับ 2540), ข้อ 63
  7. [7] เพิ่งอ้าง, ข้อ 313.
  8. [8] Pansak Vinyaratn, 21st Century Thailand, Facing the Challenge, Economic Policy & Strategy (Hong Kong: CLSA Books, 2004), p. 1.
  9. [9] Chaturon Chaisang, Thai Democracy In Crisis: 27 Truths (Bangkok: A.R. Information & Publication Co. Ltd., 2009), p.37.
  10. [10]Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thailand’s Crisis (Chiang Mai: Silkworm, 2000).
  11. [11] Kevin Hewinson, “Thailand: Class Matters,” in East Asian Capitalism: Conflicts, Growth and Crisis, Annali della Fondazione Giangiacomo Feltrinelli, no. XXXVI, ed. L. Tomba (Milan: Feltrinelli, 2002), 287-321.
  12. [12] Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thailand’s Boom and Bust (Chiang Mai: Silkworm, 1998), Ch. 12.
  13. [13] Chaturon, อ้างแล้ว, fn. 12, p.17.
  14. [14] เพิ่งอ้าง, หน้า 3.
  15. [15] "New Parties Sprouting Already," The Nation, May 17, 2006. http://nationmultimedia.com/2006/05/17/headlines/headlines_30004216.php
  16. [16] Suehiro Akira, Capital Accumulation in Thailand, 1855-1985 (Chiang Mai: Silkworm Books, 1996), p. 170.
  17. [17]ดู Cynthia Pornavalai, “Thailand: Thai Asset Management Corporation,” Mondaq Banking and Financial, March 6, 2002. http://www.mondaq.com/article.asp?articleid=15878
  18. [18]ดู Pachorn Vichyanond, “Crucial Transitions in Thailand’s Financial System After the 1997 Crisis,” Brookings Institution Asian Economic Panel 2007.
  19. [19] George Wehrfritz, “All Politics Isn't Local: The Real Enemy of Demonstrators Threatening to Shut Down the Country is Globalization,” Newsweek, September 6, 2008. http://www.newsweek.com/2008/09/05/all-politics-isn-t-local.html
  20. [20] Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Thaksin (Chiangmai: Silkworm, 2009), pp. 184-188.
  21. [21] เพิ่งอ้าง, หน้า 176-184.
  22. [22] SIPRI, “The SIPRI Military Expenditure Database 2010.” http://milexdata.sipri.org/result.php4
  23. [23] “Junta at Risk of a Backlash over Lucrative Benefits,” The Nation, April 5, 2007. http://nationmultimedia.com/2007/04/05/politics/politics_30031147.php.
  24. [24] Pasuk and Baker, op. cit., fn. 23, p. 183.
  25. [25] ดู Duncan McCargo, “Network Monarchy and Legitimacy Crises in Thailand,” Pacific Review, 18(2005): 499-519.
  26. [26] “Military ‘Must Back King’,” The Nation, July 15, 2006.
  27. [27] Oliver Pye and Wolfram Schaffar, “The 2006 Anti-Thaksin Movement in Thailand: An Analysis,” Journal of Contemporary Asia, 38(2008): pp. 38-61.
  28. [28] Simon Montlake, “Election Further Clouds Thai Leader’s Future,” The Christian Science Monitor, April 4, 2006. http://www.csmonitor.com/2006/0404/p06s02-woap.html
  29. [29]“His Majesty the King’s April 26 Speeches,” The Nation, April 27, 2006,http://www.nationmultimedia.com/2006/04/27/headlines/headlines_30002592.php
  30. [30] James Vander Meer, “Thaksin in the Dock,” Asia Sentinel, August 9, 2006.http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=82&Itemid=31
  31. [31] Paul Chambers, “The Challenges for Thailand’s Arch-Royalist Military,” New Mandala, June 9, 2010.http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/06/09/the-challenges-for-thailand’s-arch-royalist-military/
  32. [32] ดูกำหนดการได้ในเวปไซท์ของพลเอกเปรมเอง ที่ http://www.generalprem.com/news.html.
  33. [33] “LEGAL WARNING: Thaksin Is `Violating the Constitution’,” The Nation, July 5, 2006.http://www.nationmultimedia.com/option/print.php?newsid=30008036
  34. [34] Prem Tinsulanonda, “A Special Lecture to CRMA Cadets at Chulachomklao Royal Military Academy,” July 14, 2006. http://www.crma.ac.th/speech/speech.html
  35. [35] “CDRM Now Calls Itself as CDR,” The Nation, September 28, 2006.http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30014778
  36. [36] Announcement on the Appointment of the Leader of the Council for Democratic Reform, dated September 20, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  37. [37] อ้างแล้ว.
  38. [38] “Thaksin Refuses to Resign Despite Protests in Bangkok,” International Herald Tribune, March 6, 2006.http://www.iht.com/articles/2006/03/06/news/thai/php.
  39. [39] Chang Noi, “The Persistent Myth of the `Good’ Coup,” The Nation, October 2, 2006.http://www.nationmultimedia.com/2006/10/02/opinion/opinion_30015127.php
  40. [40] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 11: Appointment of Key Members of the Council for Democratic Reform, dated September 20, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  41. [41]Announcement by the Council for Democratic Reform No. 1, dated September 19, 2006,http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  42. [42] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 2: Prohibition on the Movement of Military and Police Forces, dated September 19, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  43. [43] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 4: Executive Power, dated September 19, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  44. [44] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 16: Leader of the Council for Democratic Reform to act for the National Assembly, the House of Representatives and the Senate, dated September 21, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740
  45. [45] เพิ่งอ้าง.
  46. [46] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 3, dated September 19, 2006,http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  47. [47] http://www.msnbc.msn.com/id/14916631/
  48. [48] Pinai, op. cit., fn. 5, p. 109.
  49. [49] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 13: Selected Organic Laws shall continue to be in effect, dated September 20, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  50. [50] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 32: Authority and Duties of the Election Commission regarding Local Administrative Council Members and Local Administrator Elections, dated September 30, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  51. [51] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 7: Ban on Political Gatherings, dated September 20, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  52. [52] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 15: Ban on Meetings and other Political Activities by Political Parties, dated September 21, 2006, http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  53. [53] Announcement by the Council for Democratic Reform No. 27: Amendment of Announcement by the Council for Democratic Reform No. 15 dated 21 September B.E. 2549 (2006), dated September 30, 2006,http://www.mfa.go.th/web/2455.php?id=740.
  54. [54] An unofficial translation of the Interim Constitution is available athttp://www.nationmultimedia.com/2006/10/02/headlines/headlines_30015101.php.
  55. [55] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 36.
  56. [56] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 37.
  57. [57] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 5.
  58. [58] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 20.
  59. [59] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 22.
  60. [60] Interim Constitution dated October 1, 2006, at Art. 23.
  61. [61] “No Dictatation [sic.] on the Charter: CNS Chief,” The Nation, December 20, 2006,http://nationmultimedia.com/2006/12/20/headlines/headlines_30022102.php
  62. [62] “Publicity Blitz to Counter Moves to Reject New Charter,” The Nation, July 11, 2007,http://www.nationmultimedia.com/2007/07/11/politics/politics_30040282.php
  63. [63] Duncan McCargo, “Thailand: State of Anxiety,” in Southeast Asian Affairs 2008, ed. Daljit Singh and Tin Maung Maung Than (Singapore: ISEAS, 2008), 333-356, p. 337.
  64. [64] Somroutai Sapsomboon and Supalak Khundee,“Referendum Law or Penalty Law?,” The Nation, July 6, 2007. http://www.nationmultimedia.com/2007/07/06/politics/politics_30039559.php
  65. [65] Asian Human Rights Commission, “THAILAND: A Referendum Comes; a Coup is Completed,” July 6, 2007. http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2006statements/1110/.
  66. [66] อ้างแล้ว.
  67. [67] Asian Human Rights Commission, “THAILAND: A Long Road Back to Human Rights and the Rule of Law,” August 20, 2007. http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2006statements/1156/.
  68. [68] รัฐธรรมนูญ 2550, มาตรา 95-98.
  69. [69] รัฐธรรมนูญ 2550, มาตรา 111-112.
  70. [70] McCargo, op. cit., fn. 66, p. 337.
  71. [71] “CNS’s Anti-Thaksin Campaign,” Bangkok Post, April 8, 2007. http://pages.citebite.com/i1t5f0u5a3yao
  72. [72] “Saprang's Cousin Given PR Work 'Because of Experience',” The Nation, April 11, 2007.http://www.nationmultimedia.com/2007/04/11/politics/politics_30031650.php
  73. [73] “Nine Constitution Tribunal Members,” The Nation, October 7, 2006.http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?newsid=30015571;
    ดู เพิ่ม “Thailand’s Struggle for Constitutional Survival,” Article 2 of the International Covenant on Civil and Political Rights (Special Edition), 6(2007), น.4.
  74. [74] ดู Christian Schafferer, “The Parliamentary Election in Thailand, December 2007,” Electoral Studies 27(2009): 167-170, น.167.
  75. [75] วรเจตน์ ภาคีรัตน์และคณะ, “คำตัดสินของตุลาการการศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการไทยรักไทย-บทวิเคราะห์ทาง กฎหมาย,” คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  76. [76] Asian Human Rights Commission, “THAILAND: The Judiciary is the Real Loser,” May 31, 2007.http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2007statements/1041/
  77. [77]“Junta ‘Never Harmed PPP’,” Bangkok Post, December 13, 2007.http://thailandpost.blogspot.com/2007/12/junta-never-harmed-ppp.html
  78. [78] “Thai Election Agency Disqualifies More Winning Candidates,” People’s Daily, January 7, 2008. People’s Daily. http://english.people.com.cn/90001/90777/90851/6333842.html
  79. [79] Nirmal Ghosh, “I Won’t Quit: Samak,” The Straits Times, August 31, 2008.http://www.straitstimes.com/Breaking%2BNews/SE%2BAsia/Story/STIStory_273817.html.
  80. [80] David Pallister, “Thai PM’s Compound Stormed as Anti-Government Protests Grow,” The Guardian, August 26, 2008. http://www.guardian.co.uk/world/2008/aug/26/thailand.
  81. [81] “Worse than a Coup,” The Economist, September 4, 2008http://www.economist.com/opinion/displaystory.cfm?story_id=12070465.
  82. [82]George Wehrfritz “Crackdown,” Newsweek, September 2, 2008.http://www.newsweek.com/2008/09/01/crackdown.html
  83. [83] Federico Ferrara, Thailand Unhinged: Unraveling the Myth of a Thai-Style Democracy (Singapore: Equinox Publishing, 2010), p. 87.
  84. [84] Richard Bernstein, “The Failure of Thailand’s Democracy,” New York Times, May 25, 2010.http://www.nytimes.com/2010/05/26/world/asia/26iht-letter.html
  85. [85] Korn Chatikavanij, “The Last Whistle and the PAD’s ‘Final Battle’,” Bangkok Post, September 9, 2008.http://www.korndemocrat.com/th/issues/bangkok_post/BangkokPost090908.htm
  86. [86] Leo Lewis, “Thai Prime Minister Samak Sundaravej Forced Out over TV Chef Role,” The Times, September 10, 2008.http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article4716195.ece.
  87. [87] ดู, ตัวอย่าง, “PM: Dissolution is Not the Answer,” Bangkok Post, April 25, 2010.http://www.bangkokpost.com/breakingnews/175728/pm-dissolution-is-not-the-answer
  88. [88] “Abhisit vs. Abhisit,” Prachatai, April 23, 2010. www.prachatai.com/english/node/1760
  89. [89] Matt Bachl, “Parents ‘Giving Up Kids for Cash in Thai protest’,” Nine News, November 30, 2008.http://news.ninemsn.com.au/article.aspx?id=676153.
  90. [90] Ed Cropley, “Assault on Police Shows Thai Protesters’ Ugly Side,” Reuters, November 29, 2010.http://www.forbes.com/feeds/afx/2008/11/29/afx5755965.html
  91. [91] “Airport Siege Cost $12.2,” The Straits Times, January 7, 2009.http://www.straitstimes.com/Breaking%2BNews/SE%2BAsia/Story/STIStory_323020.html
  92. [92] “Thai Premier Banned from Politics, Ruling Party Dissolved: Court,” Agence France-Press, December 1, 2008. http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM5hfJ-lAMzPxNPjyXUtOzsYlEvJeow
  93. [93] “PAD Cease All Anti-Government Protests,” The Nation, December 2, 2008,http://www.nationmultimedia.com/2008/12/02/headlines/headlines_30090031.php
  94. [94] “Democrat Govt a Shotgun Wedding?,” The Nation, December 10, 2008.http://www.nationmultimedia.com/search/read.php?newsid=30090626
  95. [95] “Suthep, Sondhi War of Words Widens,” Bangkok Post, March 11, 2009.http://www.bangkokpost.com/news/local/137304/suthep-sondhi-war-of-words-widens
  96. [96] “PAD Names Somsak as Party Head,” Bangkok Post, June 2, 2009.http://www.bangkokpost.com/news/politics/144914/pad-names-new-political-party
  97. [97] “สนธิ” สาวไส้เน่า ตร.“เทพประทาน” ตัวทำลาย-แนะ รบ.คืนพระราชอำนาจ, ASTV-Manager, May 28, 2010.http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000073858
  98. [98] 'สนธิ' ลาออกหัวหน้าพรรค ต้านประชาธิปไตย หนุนธรรมาธิปไตย จี้ทหารปฏิวัติถ้า 'มาร์ค' ทำไม่ได้', Prachatai, May 14, 2010. http://www.prachatai3.info/journal/2010/05/29465
  99. [99] “Thai Troops ‘Cross into Cambodia’,” BBC News, July 15, 2008. http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7506872.stm
  100. [100] Apinya Wipatayotin, “The Real Victim at Preah Vihar,” Bangkok Post, July 20, 2008.http://www.bangkokpost.com/200708_News/20Jul2008_news002.php
  101. [101] May Adadol Ingawanij, “The Speech that Wasn’t Televised,” New Mandala, April 27, 2010.http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/04/27/the-speech-that-wasn’t-televised/
  102. [102] Marwaan Macan-Markar, “Thailand: Lese Majeste Cases Rise but Public in the Dark,” Inter Press Service, May 14, 2010. http://ipsnews.net/login.asp?redir=news.asp?idnews=51434
  103. [103] “Corrections Dept Asked to Explain Da Torpedo’s Solitary Confinement,” Prachatai, September 14, 2552. http://www.prachatai.org/english/node/1400
  104. [104] “50,000 Websites Shut Down, MICT Inspector Says,” Prachatai, May 7, 2553.http://www.prachatai.org/english/node/1795
  105. [105] “EDITORIAL: Criminals or Scapegoats?,” Bangkok Post, November 3, 2009.http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/26746/criminals-or-scapegoats
  106. [106] Committee to Protect Journalists, “Attacks on the Press 2009: Thailand,” February 2010.http://cpj.org/2010/02/attacks-on-the-press-2009-thailand.php
  107. [107] Reporters Without Borders, “Government Uses State of Emergency to Escalate Censorship,” April 8, 2009. http://en.rsf.org/thailand-government-uses-state-of-emergency-08-04-2010,36968.html
  108. [108] Human Rights Watch, “Thailand: Serious Backsliding on Human Rights,” January 20, 2010.http://www.hrw.org/en/news/2010/01/20/thailand-serious-backsliding-human-rights
  109. [109] “MICT to Curb Violations of Computer Act,” National News Bureau of Thailand Public Relations Department, June 15, 2010. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255306150051
  110. [110] “Thailand Sets Up Unit to Tackle Websites Insulting Royals,” Agence France Press, June 15, 2010.
  111. [111] นายกฯ เปิดโครงการ 'ลูกเสือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต' (Cyber Scout), Prachatai, July 1, 2010.
  112. [112] “Russian Maestro Leaves Thailand for Moscow,” Bangkok Post, July 8, 2010.http://www.bangkokpost.com/news/crimes/185701/russian-maestro-leaves-thailand-for-moscow
  113. [113] “DSI Sets Up Large Lese Majeste Force,” The Nation, July 9, 2010.http://www.nationmultimedia.com/home/2010/07/09/politics/DSI-sets-up-large-lese-majeste-force-30133403.html
  114. [114] รองอธิบดีดีเอสไอยอมรับมี "การเมือง" แทรกแซงถูกใช้เป็นเครื่องมือเผยอยากให้องค์กรเป็นอิสระเหมือน ป.ป.ช., Matichon, 12 July 2010.
  115. [115] “No Death Inflicted by Crowd Control during Songkran Mayhem,” The Nation, September 11, 2009.http://www.nationmultimedia.com/2009/09/11/politics/politics_30112037.php
  116. [116] “2 Bodies of UDD Supporters Found in Chao Phraya River,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, April 15, 2009. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255204160028
  117. [117] Human Rights Watch, op. อ้างแล้ว, fn. 140.
  118. [118] สุเทพได้รับการแต่งตั้ง โดยเขาได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี 2552 หลังจากมีข่าวอื้อฉาวเรื่องการทุจริตเรื่องที่ดิน ดู “Suthep Resigns as MP,” Bangkok Post, July 17, 2010.http://www.bangkokpost.com/news/politics/149293/suthep-resigns-as-mp
  119. [119]เส ธ.แดงถูกยิงที่ศีรษะต่อหน้าโทมัส ฟูลเลอร์ แห่งนิวยอร์คไทมส์ ดู Thomas Fuller and Seth Mydans, “Thai General Shot; Army Moves to Face Protesters, New York Times, May 13, 2010.http://www.nytimes.com/2010/05/14/world/asia/14thai.html
  120. [120] “Bangkok Gears Up for Protest Siege,” Associated Press, May 13, 2010.http://asiancorrespondent.com/breakingnews/bangkok-gears-up-for-protest-siege.htm
  121. [121] “Khattiya Sawatdiphol (Seh Daeng),“ New York Times, May 17, 2010.http://topics.nytimes.com/top/reference/timestopics/people/k/khattiya_sawatdiphol/index.html
  122. [122] Nick Nostitz, “Nick Nostitz in the Killing Zone,” New Mandala, May 16, 2010.http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2010/05/16/nick-nostitz-in-the-killing-zone/
    สำหรับ ความคืบหน้าชะตากรรมของผู้ชุมนุมเสื้อแดงในรายงาน ดู “Daughter of a Slain Red Shirt Hears Story of Father from Nick Nostitz,” Prachatai, June 21, 2010. http://www.prachatai.com/english/node/1899
  123. [123] “3 Injured as Van Trying to Clash through Security Checkpoint at Makkasan,” The Nation, May 15, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/3-injured-as-van-trying-to-clash-through-security--30129399.html
  124. [124] Jack Picone, “'Is it OK to Shoot Foreigners and Journalists?',” Sydney Morning Herald, May 22, 2010.http://www.smh.com.au/world/is-it-ok-to-shoot-foreigners-and-journalists-20100521-w1ur.html
  125. [125] “Medics Banned from Entering 'Red Zones',” The Nation, May 16, 2010.http://www.nationmultimedia.com/home/2010/05/16/national/Medics-banned-from-entering-red-zones-30129456.html
  126. [126] Bill Schiller, “Why Did So Many Civilians Die in Bangkok Violence?,” The Star, May 23, 2010.http://www.thestar.com/news/world/article/813547--why-did-so-many-civilians-die-in-bangkok-violence
  127. [127] วันที่ 18 พ.ค. หนึ่งวันก่อนการใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมครั้งสุดท้าย ส.ว.กลุ่มหนึ่งได้รับการตอบรับจากคนเสื้อแดง ในการเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยครั้งสุดท้าย แต่รัฐบาลปฎิเสธ นำไปสู่การโจมตีแบบนองเลือดในเช้าวันต่อมา
  128. [128] Andrew Buncombe, “Eyewitness: Under Fire in Thailand,” The Independent, May 20, 2010.http://www.independent.co.uk/news/world/asia/eyewitness-under-fire-in-thailand-1977647.html
    See also: Bangkok Pundit (pseud.), “What Happened at Wat Pathum Wanaram?,” Bangkok Pundit, May 31, 2010. http://asiancorrespondent.com/bangkok-pundit-blog/what-happened-at-wat-pathum-wanaram
  129. [129] “Anupong: Soldiers Not Involved in Temple Killings,” Bangkok Post, June 3, 2010.http://www.bangkokpost.com/news/local/179998/anupong-soldiers-not-involved-in-killing-at-temple/page-2/
  130. [130] General Comment 6, par. 3, April 30, 1982.
  131. [131] United Nations Basic Principles on the Use of Force and Fire Arms by Law Enforcement Officials of 1990.
  132. [132] Ibid., Principles 3, 5.
  133. [133] Ibid., Principles 12-14 (emphasis added).
  134. [134] Internal Security Act, B.E. 2551 (2008), s. 3.
  135. [135] Ibid., s. 3.
  136. [136] For a brief account of ISOC’s disturbing human rights record, see Paul Busbarat, “Thailand, International Human Rights and ISOC,” New Mandala, January 27, 2009.http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2009/01/27/thailand-international-human-rights-and-isoc/
  137. [137] Ibid., ss. 4-5.
  138. [138] Ibid., s. 5.
  139. [139] Ibid., s. 18.
  140. [140] Announcement of the Centre for the Resolution of the Emergency Situation Re: Prohibition of Assembly or Gathering to Conspire, April 8 B.E. 2553 (2010).
  141. [141] Regulation pursuant to Section 9 of the Emergency Decree on Public Administration on Emergency Situation, B.E. 2548 (2005).
  142. [142] Announcement pursuant to Section 9 of the Emergency Decree on Public Administration on Emergency, Situation B.E. 2548 (2005).
  143. [143] A translation of the Computer Crimes Act B.E. 2550 (2007) is available athttp://www.iclrc.org/thailand_laws/thailand_cc.pdf.
  144. [144] Computer Crime Act, Sections 3 (defining “Computer Data” to include “statements”) and 20.
  145. [145] Statement by the Asian Human Rights Commission, “THAILAND: Censorship and Policing Public Morality,” April 9, 2010, http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2010statements/2498/.
  146. [146] “Thailand Government Shuts Down Protesters’ TV Station,” The Guardian, April 8, 2010,http://www.guardian.co.uk/world/2010/apr/08/thailand-bangkok-protests
  147. [147] “Thai Protesters Demand Government Reopen TV Station,” CNN World, April 8, 2010,http://www.cnn.com/2010/WORLD/asiapcf/04/08/thailand.protests/index.html.
  148. [148] “Govt Claims Plot Targets King,” Bangkok Post, April 27, 2010.http://www.bangkokpost.com/news/local/175917/govt-claims-plot-targets-king
  149. [149] International Crisis Group, “Bridging Thailand’s Deep Divide,” ICG Asia Report 192, July 5, 2010, p. 18.http://www.crisisgroup.org/~/media/Files/asia/south-east-asia/thailand/192_Bridging%20Thailands%20Deep%20Divide.ashx
  150. [150] “Ex-policeman Held in RPG Case,” The Nation, May 1, 2010.http://www.nationmultimedia.com/home/2010/05/01/national/Ex-policeman-held-in-RPG-case-30128366.html
  151. [151] Avudh Panananda, “Anti-Riot Squad Cut Up by Soldiers in Black,” The Nation, April 13, 2010.http://www.nationmultimedia.com/home/2010/04/13/politics/Anti-riot-squad-cut-up-by-soldiers-in-black-30127131.html
  152. [152] Avudh Panananda, “Is Prayuth the Best Choice amid Signs of Army Rivalry?,” The Nation, June 8, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/2010/06/08/politics/Is-Prayuth-the-best-choice-amid-signs-of-Army-riva-30131079.html
    See also International Crisis Group, op. cit., fn. 133, p. 10.http://www.crisisgroup.org/~/media/Files/asia/south-east-asia/thailand/192_Bridging%20Thailands%20Deep%20Divide.ashx
  153. [153] คนเลวบึ้มเอ็ม79บีทีเอสศาลาแดงเจ็บ75ดับ1-พยานอ้างยิงจาก รพ.จุฬาฯ, ASTV-Manager, April 23, 2010.http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9530000055677
  154. [154] “More Red Arsenal on Show,” The Straits Times, May 23, 2010.http://www.straitstimes.com/BreakingNews/SEAsia/Story/STIStory_530261.html
  155. [155] Jocelyn Gecker, “Thai Troops Open Fire on Red Shirt Protesters in Bangkok,” Associated Press, May 20, 2010. http://www.adelaidenow.com.au/thai-troops-open-fire-on-red-shirt-protesters-in-bangkok/story-e6frea6u-1225868598260
  156. [156] Tan Lian Choo, “Clashes Provoked by Group Bent on Revolt: Suchinda,” The Straits Times, May 20, 1992..
  157. [157] “‘Drastic Action’ to Quell Protest,” Bangkok Post, May 18, 1992.
  158. [158] “Shootings Were in Self-Defence, Says Spokesman,” The Nation, May 20, 1992.
  159. [159] Thongchai Winichakul, “Remembering/Silencing the Traumatic Past: The Ambivalence Narratives of the October 6, 1976 Massacre in Bangkok,” in Cultural Crisis and Social Memory: Modernity and Identity in Thailand and Laos, eds.Charles F. Keyes and Shigeharu Tanabe (London: Routledge/Curzon, 2002), 243-283.
  160. [160] Edward M. Wise, “Aut Dedere Aut Judicare: The Duty to Prosecute or Extradite,” in International Criminal Law, 2nd Edition, ed. M. Cherif Bassiouni (New York: Transnational Publishers, 1998), pp. 18-19.
  161. [161] ดูICCPR ข้อ (6)(1) ประกันการคุ้มครองจากการฆ่าตามอำเภอใจ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ICCPR เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539
  162. [162] ความเห็นทั่วไปของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ลำดับที่ 13, ลักษณะของพันธกรณีตามกฎหมายทั่วไปที่มีต่อรัฐภาคีของกติกาฯ, ออกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 (ความเห็นลำดับที่ 31), ย่อหน้า 8 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน)
  163. [163] ความเห็นลำดับที่ 31, ย่อหน้า 15 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน)
  164. [164] ความเห็นลำดับที่ 31, ย่อหน้า 18 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน)
  165. [165] ICCPR, ข้อ (6)(1)
  166. [166] ICCPR, ข้อ 7
  167. [167] ICCPR, ข้อ 9 (1)
  168. [168] UNGA Res. 63/182, 16 March 2009, pars. 1-3.
  169. [169] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 3.
  170. [170] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 6(b).
  171. [171] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 6(b).
  172. [172]รายงาน ของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดตัดตอนหรือตามอำเภอใจ, UN Doc. E/CN.4/2005/7, 22 ธันวาคม 2547, ย่อหน้า 6.
  173. [173] รายงานของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการวิสามัญฆาตกรรม การสังหารอย่างรวบรัดตัดตอนหรือตามอำเภอใจ, UN Doc. A/HRC/14/24, 20 พฤษภาคม 2553, ย่อหน้า 34 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน).
  174. [174] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 35.
  175. [175] เพิ่งอ้าง.
  176. [176] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 34.
  177. [177] ดู Prosecutor v. Tadic, คดีหมายเลข IT-94-1-T, ความเห็นและคำตัดสินเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2540 (องค์คณะตุลาการ), ¶ 710 (องค์ประกอบของอาชญากรรมรวมถึง “สิ่งที่เป็นทางกายภาพ เศรษฐกิจ หรือทางตุลาการ ที่ละเมิดสิทธิของปัจเจกบุคคลในการมีสิทธิพื้นฐานของตนอย่างเท่าเทียม เป็นต้น)”) (ตัวเน้นที่สองเป็นของผู้เขียน).
  178. [178]Kupreškić, ¶ 621.
  179. [179] เพิ่งอ้าง, ¶ 636.
  180. [180] เพิ่งอ้าง, ¶¶ 630-31.
  181. [181] เพิ่งอ้าง, ¶ 619, n. 897.
  182. [182] เพิ่งอ้าง, ¶¶ 611-12.
  183. [183] เพิ่งอ้าง, ¶¶ 630-31.
  184. [184] กฎบัตรของคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ (TheCharter of the International Military Tribunal), ข้อ 6 (ค), บัญญัติว่าอาชญากรรมต่อมนุษยชาติคือ “การฆาตกรรม การทำให้สิ้นชีวิต การทำให้เป็นทาส การเนรเทศ และการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอื่นๆ ที่กระทำต่อประชากรพลเรือน ... โดยกฎหมายหรือโดยสืบเนื่องกับอาชญากรรมใดๆ ภายใต้ขอบเขตอำนาจพิจารณาความของคณะตุลาการนี้” (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน).
  185. [185] ธรรมนูญกรุงโรมฯ, ข้อ 7(1).
  186. [186] ธรรมนูญกรุงโรมฯ, ข้อ 7(1), 7(2)(ก).
  187. [187] “Pre-Trial Chamber II,” Situation in the Republic of Kenya, ICC-01/09-19, para. 81.
  188. [188] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 82.
  189. [189] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 94-96.
  190. [190] เพิ่งอ้าง, ย่อหน้า 84 (ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน), อ้างถึงPre-Trial Chamber I, Decision on the confirmation of charges, ICC-01/04-01/07-717, ย่อหน้า 396.
  191. [191]ICTY, Prosecutor v. Blaskic, คดีหมายเลข IT-95-14-T, คำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543, ย่อหน้า 204.
  192. [192] Antonio Cassese, International Criminal Law, Second Edition (Oxford: Oxford University Press, 2008), pp. 98-99.
  193. [193] ดู Pre-Trial Chamber II, Situation in the Republic of Kenya, ICC-01/09-19, para. 89, อ้างถึงICTY, Prosecutor v. Blaskic,คดีหมายเลข IT-95-14-T, คำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543, ย่อหน้า 205.
  194. [194] Reporters Without Borders, “Thailand: Licence to Kill,” July 2010.http://en.rsf.org/IMG/pdf/REPORT_RSF_THAILAND_Eng.pdf
  195. [195] Prosecutor v. Akayesu, ICTR TC, 2 September 1998, Case No. ICTR-96-4-T, at589-590; ดูเพิ่มเติม Cassese, o.c., p. 109.
  196. [196] Prosecutor v. Blaskic, ICTY TC, 3 March 2000, Case No. IT-95-14-T, at 247, 251.
  197. [197] Prosecutor v. Kunarac and others, ICTY TC, 22 February 2001, Case No. IT-96-23-T, at 434.
  198. [198] "บรรหาร-เนวิน" ขวางพรรคร่วมถอนตัว คาด "อภิสิทธิ์" ลาออกหลังลุยม็อบแดงจบ อาจยืดเยื้ออีก 1 สัปดาห์,” Matichon, May 17, 2010. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1274104360&catid=01
  199. [199] "จตุพร"ปูดทหารแตงโมแฉแผน"อนุพงษ์" สั่ง9ข้อ4ขั้นจัดการแดงให้จบใน 7 วัน ห้ามพลาด อ้างสูญเสีย500ก็ยอม, Matichon, April 20, 2010. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1271686129&grpid=10&catid=01
  200. [200] “Sansern: 500 Terrorists Infiltrating Reds,” Bangkok Post, May 14, 2010.http://www.bangkokpost.com/breakingnews/177896/500-terrorists-blending-with-reds-sansern
  201. [201] Pokpong Lawansiri, “Thai Fact-Finding Committee Falls Short,” The Irrawaddy, June 28, 2010.http://www.irrawaddy.org/opinion_story.php?art_id=18817&page=2
  202. [202] “Kanit Soon to Pass on List of Independent Committee to PM,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, June 28, 2010. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255306280033
  203. [203] Atiya Achakulwisut, “Reconciliation Will Have Its Price,” Bangkok Post, June 15, 2010.http://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/38778/reconciliation-will-have-its-price
  204. [204] Achara Ashayagachat, “Mixed Reactions to Kanit Panel,” Bangkok Post, July 8, 2010.http://www.bangkokpost.com/news/politics/185193/mixed-reactions-on-kanit-panel
  205. [205] Nirmal Ghosh, “Ex-PM, Scholar to Mediate in Thailand,” The Straits Times, June 19, 2010.http://www.asianewsnet.net/news.php?id=12601&sec=1
  206. [206] Somchai Phatharathananunth, Civil Society and Democratization (Copenhagen: NIAS Press, 2006).
  207. [207] For an overview, see Bangkok Pundit (pseud.), “Thailand: Road Map for Reconciliation UPDATE,” Bangkok Pundit, June 22, 2010. http://us.asiancorrespondent.com/bangkok-pundit-blog/road-map-for-reconciliation
  208. [208] Wannapa Khaopa, “Pornthip Named Most Trustworthy Person in the Country,” The Nation, February 26, 2010. http://www.nationmultimedia.com/home/2010/02/26/national/Pornthip-named-most-trustworthy-person-in-the-coun-30123440.html
  209. [209] “Police: Residual C4 Chemical Found on Oct 7 Victim,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, February 25, 2009. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255202250025
  210. [210] Piyanuch Thamnukasetchai, “No Explosive Residue: Pornthip,” The Nation, October 11, 2008.http://www.nationmultimedia.com/2008/10/11/national/national_30085759.php
  211. [211] “Explosives Expert Tests 'Black Box' of 'Bomb Detector',” BBC News, January 27, 2010.http://news.bbc.co.uk/2/hi/programmes/newsnight/8483200.stm
  212. [212] Simon de Bruxelles, “Head of ATSC 'Bomb Detector' Company Arrested on Suspicion of Fraud,” The Times, January 22, 2010. http://www.timesonline.co.uk/tol/news/uk/article6997859.ece
  213. [213] Michael Peel and Sylvia Pfeifer, “Police Conduct Raids in Bomb Detector Probe,” Financial Times, June 8, 2010. http://www.ft.com/cms/s/0/ba30e518-72f5-11df-9161-00144feabdc0.html
  214. [214] Supalak Ganjanakhundee, “Money Wasted on So-Called Bomb Detectors,” The Nation, January 29, 2010. http://www.nationmultimedia.com/search/read.php?newsid=30121417&keyword=gt200
  215. [215] Bangkok Pundit (pseud.), “How Did Dr. Pornthip Detect Explosive Residue on the Rohingya Boat?,” Bangkok Pundit, February 10, 2010. http://us.asiancorrespondent.com/bangkok-pundit-blog/so-how-did-dr.-pornthip-detect-the-explosive-residue-on-the-rohingya-boat
  216. [216] “Porntip Takes Chula Flak over Grenade Attack Theory,” Bangkok Post, June 5, 2010.http://www.bangkokpost.com/news/politics/36864/porntip-takes-chula-flak-over-grenade-attack-theory
  217. [217] “Porntip: Troop Killed in Don Muang Clash Not Killed by Friendly Fire,” The Nation, May 4, 2010.http://www.nationmultimedia.com/home/Porntip-Troop-killed-in-Don-Muang-clash-not-killed-30128559.html
  218. [218] “Khunying Pornthip to Gather Evidence on Seh Daeng’s Assassination Attempt,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, May 14, 2010. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255305140044
  219. [219] “Six Bodies Found in Safe-Zone Temple Show Signs of Execution,” National New Bureau of Thailand Public Relations Department, May 21, 2010. http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255305210020
  220. [220] Andrew Buncombe, “Eyewitness: Under Fire in Thailand,” The Independent, May 20, 2010.http://www.independent.co.uk/news/world/asia/eyewitness-under-fire-in-thailand-1977647.html
  221. [221] “DSI to Deliberate 153 UDD Cases,” Bangkok Post, June 14, 2010.http://www.bangkokpost.com/breakingnews/181227/dsi-to-deliberate-on-153-udd-cases
  222. [222] ICCPR, Article14, including sections3(b) and 3(e).
  223. [223] ICCPR, Art. 14, Sec. 3(e).
  224. [224] A copy of our letter to the Thai authorities can be downloaded here:http://robertamsterdam.com/thailand/wp-content/uploads/2010/06/Letter-to-Thai-Authorities-Demanding-Investigation-and-Access-to-Evidence-June-29-2010-_Final-Corrected__.pdf.