Suggestion Post

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ภาค 6 อวสานหงสา        ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพ...

2554-07-21

ร่วมลงชื่อถอดถอน กรรมการการเลือกตั้ง ทั้งคณะ


ร่วมลงชื่อเพื่อทำการถอดถอน กกต.ทั้งคณะ





คำแนะนำ

๑. กรอกชื่อ นามสกุล  เเละที่อยู่ตามบัตรประชาชนเท่านั้น
๒. หมายเลขบัตรประชาชน อย่าได้ผิดพลาด
๓.ลงลายเซ็นชื่อด้วย ทั้งแบบฟอร์ม ถ.๔ เเละสำเนาบัตรประชาชน 
๔.เขียนด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัด ให้อ่านออก แม้จะต้องคัดลายมือก้ต้องทำ 
หากอ่านไม่ออก รายชื่อนั้นถือว่าหมดสิทธิในการร่วมถอดถอน




โปรดทำการ
 ดาวน์โหลดไฟล์แบบฟอร์ม ถ.๔
ตามลิงค์สีเหลืองข้างล่างนี้



ขั้นตอนการโหลด


----------------------------------------------------------------------------------
หากมีข้อสงสัยประการใดให้สอบถามได้เพิ่มเติม

และโปรดกรุณาช่วยทำการนำบทความนี้ส่งต่อให้เพื่อนๆด้วยคะ 

เริ่มทำการรวบรวมตั้งเเต่ ๒๑ ก.ค. ๒๕๕๔ นี้ 
ไปจนถึง
 วันหมดเขต การรับในอีก ๑ เดือนข้างหน้านี้

และต้องได้มากกว่าจำนวน 2 หมื่น 
เพื่อทำการถอดถอนได้ตามสิทธิ

 หากไม่ครบตามจำนวนนี้
 การรวบรวมรายชื่อทุกอย่างจะเป็นการสูญเปล่า 

ดังนั้น ขอให้ทุกท่านโปรดรอบคอบ
 เเละเช็ครายละเอียดข้อมูลให้ถูกต้องก่อนส่งมานะคะ 



2554-07-19

Press Release เเถลงการณ์ในการออกมาตรการชั่วคราวในกรณีปราสาทเขาพระวิหาร

INTERNATIONAL COURT OF JUSTICE 
Peace Palace, Carnegieplein 2, 2517 KJ  The Hague, Netherlands 
Tel.:  +31 (0)70 302 2323   Fax:  +31 (0)70 364 9928 
Website:  www.icj-cij.org
Press Release 
Unofficial 
 No. 2011/22 
18 July 2011 

Request for interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the 
Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) 
(Cambodia v. Thailand)

Request for the indication of provisional measures

The Court finds that both Parties must immediately withdraw their military personnel 
currently present in the provisional demilitarized zone defined by it, 
and refrain from any military presence within that zone and 
from any armed activity directed at that zone

 THE HAGUE, 18 July 2011.  The International Court of Justice (ICJ), the principal judicial
organ of the United Nations, today gave its decision on the request for the indication of provisional
measures submitted by Cambodia in the case concerning the  Request for the interpretation of
the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v.
Thailand) (Cambodia v. Thailand).

 In its Order, the Court first unanimously rejected Thailand’s request for the case introduced
by Cambodia to be removed from the General List.
 It then indicated various provisional measures.  The Court began by stating, by eleven votes 
to five, that both Parties should immediately withdraw their military personnel currently present in 
the provisional demilitarized zone, as defined in paragraph 62 of its Order  (see the illustrative 
sketch-map appended to the Order and to this press release), and refrain from any military presence within that zone and from any armed activity directed at it. 

Having noted that the Temple area had been the scene of armed clashes between the Parties
and that such clashes might reoccur, the Court decided that, in order to ensure that no irreparable
damage was caused, there was an urgent need for the presence of all armed forces to be temporarily 
excluded from a provisional demilitarized zone around the area of the Temple. 

 The Court also stated, by fifteen votes to one, that Thailand should not obstruct Cambodia’s 
free access to the Temple of Preah Vihear, or  prevent it from providing fresh supplies to its 
non-military personnel;  it said that Cambodia and Thailand should continue their co-operation 
within ASEAN and, in particular, allow the observers appointed by that organization to have access 
to the provisional demilitarized zone, and that  both Parties should refrain from any action which 
might aggravate or extend the dispute before the Court or make it more difficult to resolve. - 2 - 
 Lastly,

the Court decided, by fifteen votes to one, that each of the Parties should inform it as 
to its compliance with the above provisional measures and that, until the Court had rendered its 
judgment on the request for interpretation, it would remain seised of the matters which form the 
subject of the Order. 

Jurisdiction and legal conditions required for the indication of provisional measures

 The Court concluded (paragraphs 19 to 32 of the Order) that a dispute appeared to exist 
between the Parties as to the meaning or scope of its 1962 Judgment and that it therefore appeared 
that the Court could, pursuant to Article 60 of the Statute, entertain the request for interpretation 
submitted by Cambodia.  Accordingly, it declared that it could not accede to the request by
Thailand that the case be removed from the General List (see above) and added that there was
sufficient basis for the Court to be able to indicate the provisional measures requested by
Cambodia, if the necessary conditions were fulfilled.  The Court then examined those conditions 
one by one (paras. 35 to 56), and concluded that they had been satisfied.  Firstly, it considered that 
the rights claimed by Cambodia, as derived  from the 1962 Judgment, in the light of its 
interpretation thereof, were plausible.   Secondly, the Court considered that the provisional
measures requested sought to protect the rights invoked by Cambodia in its request for
interpretation and that the requisite link between the alleged rights and the measures sought was
therefore established.  Thirdly, it considered that there was a real and imminent risk of irreparable 
damage being caused to the rights claimed by  Cambodia before the Court had given its final 
decision, and that there was urgency. 

 Finally, the Court recalled that orders indicating provisional measures had binding effect and 
thus created international legal obligations with  which both Parties were required to comply.  It
also observed that the decision given in the present proceedings on the request for the indication of
provisional measures in no way prejudged any question that the Court might have to deal with 
relating to the Request for interpretation. 
___________
Note:  The Court’s press releases do not constitute official documents. This press release is a
concise summary of the decision taken by the Court, for information purposes only.  A more
comprehensive and detailed summary of this decision can be found in the “Cases” section of the
Court’s website.  The history of the proceedings is presented in paragraphs 1 to 18 of the Order, the
full text of which can be found in the same section of the website.
___________
 The International Court of Justice (ICJ) is the principal judicial organ of the United Nations.
It was established by the United Nations Charter in June 1945 and began its activities in
April 1946.  The seat of the Court is at the Peace Palace in The Hague (Netherlands).  Of the six
principal organs of the United Nations, it is the only one not located in New York.  The Court has a
twofold role:  first, to settle, in accordance with international law, legal disputes submitted to it by
States (its judgments have binding force and are without appeal for the Parties concerned);  and,
second, to give advisory opinions on legal questions referred to it by duly authorized United
Nations organs and agencies of the system.  The Court is composed of 15 judges elected for a
nine-year term by the General Assembly and the  Security Council of the United Nations.  It is
assisted by a Registry. The official languages of the Court are French and English.
___________ - 3 -
Information Department:
Mr. Andrey Poskakoukhin, First Secretary of the Court, Head of Department (+31 (0)70 302 2336)
Mr. Boris Heim, Information Officer (+31 (0)70 302 2337)
Ms Joanne Moore, Associate Information Officer (+31 (0)70 302 2394)
Ms Genoveva Madurga, Administrative Assistant (+31 (0)70 302 2396)

ที่มา  ต้นฉบับ

2554-07-11

คนไทยที่น่าเวทนา ”เสื้อแดง” เหยื่อของการปกครองโลกระบบใหม่

คนไทยที่น่าเวทนา ”เสื้อแดง” เหยื่อของการปกครองโลกระบบใหม่

April 16, 2011
By Power Point Paradise -- 427 total views

ผมรักเมืองไทย ผมเคยอยู่เมืองไทย ๑๔ ปี ทำงานอาสาสมัคร ผมทราบปัญหาเมืองไทยดี ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงจากที่เมืองไทยเคยเป็นสังคมเรียบง่ายที่อ่อนโยนและกลายมาเป็นสิ่งที่เราเห็นกันทุกวันนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้เป็นสิ่งที่น่าเศร้ามาก คนไทยเคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันสังคมนี้ได้ถูกแบ่งแยกอย่างน่าเศร้าใจ ทำไมล่ะ?เพราะการโกหกมโหฬารนั่นเอง!

อย่างแครอทสีแดงที่รู้ๆกันในนามของ “ประชาธิปไตย” ซึ่งถูกถือไว้โดยคนหัวกะทิระดับโลก ผู้ซึ่งคุมสื่อต่างๆ โฆษณาปาวๆว่า “เป็นระบบสมบูรณ์แบบที่จะนำมาซึ่งเสรีภาพและความเสมอภาพ และอื่นๆอีกมากมาย” มันเป็นการโกหกทั้งเพ!
ก็ดูอเมริกาเป็นตัวอย่างสิ ประเทศผู้ซึ่งสนับสนุนลัทธิโกหกนี้ เครื่องนับเสียงเลือกตั้งก็ถูกกำหนดตั้งไว้ และรัฐบาลเองตอนนี้ล้วนถูกซื้อตัวโดยพวกหัวกะทิที่ทรงพลังทางการเงิน ขับไสผู้คนทั่วๆไปของเขากลับไปสู่ “พรรคน้ำชา” เพราะพวกเขาต้องการ ”เอาประเทศเขากลับคืน” พวกเขาเสียไปตั้งแต่เมื่อไหร่ล่ะ?

เขาเสียไปเมื่ออเมริกาเริ่มทำตัวเยี่ยง “ประชาธิปไตยจ๋า” แทนที่จะเป็นผู้รักษากฏหมาย ที่ควรจะปฎิบัติตามกฏรัฐธรรมนูญโดยยึดคุณค่าที่แท้จริงของอิสระเสรีภาพและโอกาสอย่างทั่วหน้า วุฒิสมาชิกและรัฐสภาส่วนใหญ่ถูกซื้อตัว,ถูกติดสินบน หรือถูกเบล็กเมลล์ อีกนัยหนึ่ง “ประชาธิปไตย” ที่มีพวกนายธนาคารเป็นเจ้าของและนำพาโดยสื่อของพวกเขา ลาก่อน “ประชาธิปไตย” อเมริกา ขอต้อนรับ”สื่อบ้าๆ”  รัฐบาลอเมริกันตอนนี้เป็นเครื่องมือให้กับ “รัฐบาลโลกระบบใหม่” พวกกลุ่มนายธนาคารโลกเผด็จการหัวซ้ายนั่นเอง their media!


นี่หรือสิ่งที่คนไทยทั่วๆไปและปัญญาชนจากมหาวิทยาลัยสังคมนิยมในเมืองไทยกำลังต่อสู้เพื่อให้ได้มา? ถ้าพวกเขา”ชนะ” ก็คงจะเป็นเช่นนั้น นอกจากพระเจ้าจะแทรกแซง เพราะ “เจ้านายใหญ่”ของพวกเขา คุณทักษิณ ผู้เป็นเครื่องมือของระบบโลกใหม่ และพวกกบฎที่ถูกจ้างมา ได้ถูกวางแผนจัดฉากโดยกลุ่มนายทุนระดับโลกเช่นเดียวกับที่กลุ่มผู้ก่อการร้าย “มุสลิม”ทางใต้ พวกเขาและคนไทยที่เหลือทั้งหลายยอมสูญเสียสิ่งสำคัญที่พวกเขาต้องการและทุกอย่างที่พวกเขามีอยู่แล้วแต่ไม่ตระหนัก และนั่นคืออะไรล่ะ?
ระบอบราชาธิปไตยที่มั่นคง มีสมดุลเป็นประกันถึงอิสระ เสรีภาพ ของการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ แต่ระบบการปกครองโลกใหม่ที่เติบโตขยายตัว ซึ่งจงใจหยุดประเทศไทยต่อไปจากความมั่งคั่ง(เหมือนที่พวกเขาได้ทำในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจไทยในอดีต) ยึดอำนาจ และลดอำนาจรัฐให้เป็นทาสโลกาภิวัตร เหมือนที่ได้ทำกับประเทศอเมริกาจากภายนอกและโจรกรรมประกันอย่าง ที่เขาทำกับประเทศไอซ์แลนด์ กรีก โปรตุเกส และประเทศอื่นๆที่กำลังเผชิญกับโชตชะตากรรมที่น่าสงสาร

ใช่!หลายต่อหลายคนทางภาคอีสานและภาคเหนือเป็นคนจน ก็เช่นเดียวกับคนหลายๆล้านคนที่ไร้ที่อยู่อาศัย คนงานที่ตกงาน คนชั้นกลางที่เคยเป็นเจ้าของบ้านที่ถูกยึดไปแล้ว ในอเมริกา แคนาดา ยุโรป และรัสเซีย อ้อ อย่าลืมชาวลาตินอเมริกา “ชาวประชาธิปไตยสุดๆ”ที่ยากไร้ ซึ่งถูกซื้อประเทศโดยพวกนายทุนธนาคาร หรือแม้แต่พวกอัฟริกา หรืออินเดีย หรือพวกคุณนักสังคมนิยมคิดว่าจีนเป็นประชาธิปไตยตัวจริงหรือ? ฮ่า!

จริงอยู่! ”ประธิปไตย”ในเมืองไทยก็ผิดๆเหมือนกับคนอื่นเขา และถูกปกครองโดยทั้งพวกนักธุรกิจระดับนานาชาติและนักการเมืองรวยๆที่กดขี่คนจน ก็เหมือนกับประเทศอื่นๆที่เป็น”ประชาธิปไตย”ที่เหลือในโลกนั่นแหละ พวกเขาก็เอาเปรียบคนจน! น้อยคนมากที่ไม่เป็นเช่นนั้น นอกจากพวก”ประชาธิปไตย” ที่รวยจริงๆและไม่มีคนจน อย่างเช่น สวีเดน ฮอลแลนด์และนอร์เวยมั้ง? ก็คุณเคยเห็นคนจน”ประชาธิปไตย” อังกฤษบ้างมั๊ย? ชาวอังกฤษเป็นทาสของพี่ใหญ่เผด็จการของบ้านเขาเองนั่นแหละ!

ประเทศที่เป็น“ประชาธิปไตย”ที่พัฒนาอื่นแล้วในโลกนี้ก็ตกเป็นหนี้นักเผด็จการของระบบโลกใหม่  หลายๆประเทศถูกปกครองโดยรัฐบาลสังคมนิยมเผด็จการที่คนในประเทศ อย่างพวก”รากหญ้า”จากภาคเหนือ หรืออีสานในเมืองไทย ไม่มีเสรีภาพที่จะประท้วงอย่างรุนแรง ถูกบงการโดยนายทุนที่ร่ำรวยอย่างเช่นเมืองไทยหรอก

ที่ตะวันตกหลังจากการปฎิวัติแล้ว คนในประเทศของเขาไม่สามารถรวมตัวกันอย่างพวก”เสื้อแดง”ทำได้หรอก ชาวตะวันตกไม่มีปากไม่มีเสียงหรือการจัดการ อย่างเช่นชาวสก็อตหรือชาวเซลต์จากเวลล์จะลุกฮือขึ้นมาอย่างนั้นหรือ เขาจะถูกจัดการอย่างรวดเร็ว โดยสิ่งที่”น่าเกลียดน่ากลัว”แห่งสื่อบีบีซี “นายทุนธนาคารจากอังกฤษ” หรือ “พี่เบิ้มสื่อขี้โกงที่เอาเปรียบ” เขาจะถูกสาดด้วยแก๊สน้ำตา,ยิงด้วยกระสุนยาง อย่างหนัก ก่อนที่เขาจะรวมตัวกันไปถึงลอนดอนด้วยซ้ำ! พูดเป็นเล่นไปน่ะ?
แต่เมื่อคนไทยยืนกรานที่ทำอย่างนั้น เขาจะสูญเสียสิ่งสำคัญที่พวกเขากำลังพยายามอย่างหนักหนาที่ให้ได้มา พวกเขาจะสูญเสียความแข็งแกร่งของประเทศ ความมั่นคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นประเทศหนึ่งเดียวที่เหลือภายใต้ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขอย่างแท้จริง พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยกเว้นพระเยซูเอง
ชาว”เสื้อแดง”ที่ถูกหลอกนี้ไม่รู้ประวัติศาสตร์เพียงพอที่จะตระหนักว่าพวกชนชั้นสูงทั่วโลกมักจะใช้วิธีการนี้เสมอเพื่อทำให้ประเทศแตกแยก “แบ่งแยกและเข้ายึดครอง”! ถ้าประเทศไทยยังคงแตกสามัคคีก็จะยิ่งแย่ลง จะถูกยึดครองในที่สุดโดยพวกกระหายสูบเลือดต่างด้าว อย่างแน่นอน!
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคือทางรอดของคนไทย! เพราะความสามัคคีของคนไทย ย้อนกลับไปเมื่อ ๗๐๐ ปีที่ผ่านมาสมัยที่คนไทยจากแคว้นยูนานทางตอนใต้ของจีน ที่ซึ่งคนไทยเคยอยู่อาศัยร่วมกันก่อนที่จะอพยพมาเมืองสยาม และแม้แต่สมัยนั้น ก่อนที่ถึงสมัยสุโขทัยด้วยซ้ำ คนไทยที่ร่ำรวยได้เอารัดเอาเปรียบคนจนกันแล้ว แต่พวกเขาก็อยู่ด้วยกันได้ เพราะเขายังเป็นคนกลุ่มน้อยอยู่ เขารู้ว่าถ้าพี่น้องของเขาอยู่ไม่ได้ เขาก็อยู่ไม่รอด ถ้าเขาไม่เกาะกันเป็นกลุ่ม เขาจะไม่มีทางป้องกันตัวเองได้เลย แล้วตอนนี้เกิดอะไรขึ้นล่ะ?
ชาว”เสื้อแดง”ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลับหูหลับตาอุ้มนักธนาคารต่างชาติที่มีสีและความฝันลมๆแล้งๆของพวกแดงเอียงซ้าย กำลังสูญเสียความสามัคคีของพวกเขาอย่างไม่รู้ตัว ต่อหมาป่าต่างถิ่นที่ทำให้เขาสับสนด้วยคำสัญญาจอมปลอม เช่นเดียวกับนักการเงินBolsheviks ให้สัญญาชาวรัสเซียที่น่าสงสารมาก่อนและระหว่างปี ๑๙๑๗ สมัยปฎิวัติรัสเซีย และอย่างที่ Freemasonry แนะJacobines ให้เป่าประกาศพวกParisians ระหว่างช่วงปฎิวัตินองเลือดของฝรั่งเศสว่า “เสรี อิสระภาพ ความเสมอภาพ”

ผลลัพธ์คืออะไรล่ะ? เลือดชาวฝรั่งเศสไหลนองถนนของเขามากกว่าที่เขาเสียเลือดคนของเขากับการรบกับประเทศที่เป็นศัตรูเขาอีก! และยิ่งกว่านั้นการนองเลือดของสงครามกลางเมืองในรัสเซียมีคนถูกฆ่าหมู่ราว ๖๐-๘๐ ล้านคน นับว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศรัสเซียเลยทีเดียว

ถ้าชาวฝรั่งเศสและรัสเซียเลือกระบอบราชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์แบบของเขา(และกษัตริย์เหล่านั้นไม่สมบูรณ์จริงๆเมื่อเทียบกับพระมหากษัตริยของพวกชาวไทย!)แทนที่จะตกใต้อำนาจการควบคุมทางการเงินจากพวกเหยี่ยวกระหายทรัพย์ต่างชาติ ผู้ซึ่งไม่สนใจหรอกว่าชนประจำชาตินั้นๆจะเป็นอย่างไร ประเทศฝรั่งเศสและรัสเซียก็คงจะอยู่รอดมาได้และจะคงเป็นประเทศเสรีต่อไป!

ถ้าคนไทยเพียงแต่เกาะกันให้แน่น พวกเขาก็อย่างน้อยก็จะเป็นกำบังกั้นเหยี่ยวที่วนอยู่เหนือศีรษะพวกเขาด้วยใจอดทนหรือรอคอยอยู่บนต้นไม้ใกล้ ขณะที่กกไข่พวกที่ชอบยุแยงตะแกงรั่วที่ไม่รู้ประสีประสา คนไทยหนอคนไทย!
ชาวเหนือและชาวอีสานเอ๋ย อย่าหลงกลคนลวงข้ามชาติเลย พวกเขาน่ะแย่ยิ่งกว่ารัฐบาลที่โกงกินเสียอีก ยังไงคุณก็หนีพวกโกงกินไม่พ้นหรอก
ก็ไงล่ะ?คุณจะได้อะไรบ้าง? เพียงถูกชาวต่างชาติยึดอำนาจและการควบคุมโดยนายทุนจากรัฐบาลโลกที่รอคอยคุณอยู่ คุณคิดว่าพวกเขารักคุณมากกว่าหรือ คุณเชื่อหรือว่าพวกเขาจะให้”เสรีภาพและประชาธิปไตย”แก่คุณ?

คุณหลอกตัวเองแล้วหล่ะ! คุณถูกหลอก! กลับบ้านไปเถอะ คุณจะได้พูดทีหลังได้ว่า”เราโชคดีจริงๆ” แต่เราไม่เคยตระหนักเลย! เรามีเงินแค่นิดหน่อยแต่เราเป็นไท อย่างน้อยเรามีทรัพยากรธรรมชาติที่พระเจ้าประทานให้อย่างอุดมสมบูรณ์”
แน่นอน พวกเราหลายคนยังจนอยู่ แต่ในหลายๆประเทศที่ปฎิเสธพระเจ้าทั่วโลกก็มีปัญหากันทั้งโลก ไม่ใช่เฉพาะคุณหรอก และผู้นำที่ไม่สมบูรณ์แบบที่คุณมีอยู่ขณะนี้ อย่างน้อยพวกเขาก็ยังดีกว่าพวกผู้นำชาวต่างชาติที่ชั่วร้ายมากเลย คุณจะต้องได้พบแน่ถ้าคุณยังดันทุรังอยู่อย่างนี้
กลับบ้านไปเถอะ หยุดฟังนายทุนมั่งคั่งทักษิณคนนี้ ผู้ซึ่ง”ให้หมอถูกๆและเครดิตง่ายๆ” เขาก็แค่เป็นนักธุรกิจที่เห็นแก่ตัวเช่นพวกนักการเมืองส่วนมากนั่นแหละ แต่เขาหลอกตัวเองว่า “ถ้า เขาเป็นกษัตริย์ เขาจะเปลี่ยนประเทศนี้ให้กลับตาละปัตรเลย” เขาจะตั้งใจหรือไม่ก็แล้วแต่ เขาด้วยก็เป็นเพียงตัวหมากรุกจิ๋วๆให้กับรัฐบาลโลก เขายอมขายประเทศไทยลงแม่น้ำให้ต่างชาติ (จำนักปั่นเงินโซรอสได้มั๊ย?)

โอ พวก”เสื้อแดง” ที่ถูกครอบงำ ถ้าพวกเขาเพียงแต่รู้ว่าพวกเขาถูกนายทุนหลอก ประเทศไทยแปลว่าดินแดนเสรี โอชาวเหนือและอีสานที่รักเอ๋ย กลับบ้านของคุณ ในขณะที่ยังเป็นโคราชเสรี อุดรเสรี อุบลเสรี แพร่เสรี เชียงใหม่เสรี เชียงรายเสรี เป็นต้น และนับพรที่คุณได้รับ ลองคิดดูสิว่าเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว ตอนที่คุณแทบไม่มีอะไรเลย ไม่มีสกูตเตอร์ ไม่มีรถกระบะ ต้องยอมก้มหัวให้พ่อค้าเจ็กคนกลาง ไม่มีพวกหมอ มีโรงเรียนแค่ไม่กี่โรงเรียน และมหาวิทยาลัยไม่กี่แห่ง และมีเหล้าแม่โขงที่หาดื่มไม่ง่ายเหมือนสมัยนี้ด้วย ฮ่า!
ไม่นะ ผมไม่ได้ดูถูกคุณ ผมเห็นใจคุณ แต่คุณคิดว่าอะไรเหรอที่พวกลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่จะลงเอยด้วยการนองเลือดจะทำให้คุณมีความสุขขึ้นหรือ? ถ้าคุณไม่เชื่อ ก็ลองดูประเทศเวียตนามกับลาวดูซิ ถ้าคุณไปเยี่ยมประเทศของเขา แล้วคุณจะรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่มีระบอบพระมหากษัตริย์และที่สำคัญความเป็นชาวไทยที่เสรี จำพลพตได้มั๊ยหล่ะ?

นี่ไม่ง่ายเลย พวกนิยมหัวซ้ายทั้งหลายเอ๋ย เราสูญเสียอิสระภาพและเสรีในการมีปากมีเสียงให้กับพวกนายทุนทั่วทั้งยุโรปและอเมริกา เหตุผลเดียวที่เราไม่จน จนหมดตัวก็เพราะนายทุนที่กระหายเลือดพวกนี้ได้แย่งเอาทรัพยากรธรรมชาติจากประเทศที่กำลังพัฒนา เอาจาก“พวกคนชั้นกลาง” ไปมอบให้ชาวตะวันตกจนๆ และแทบจะทำลายคนชั้นกลางแล้วด้วยการขโมยบ้านและรายได้เขา โกงเงินยูโร และเงินสำรอง ซึ่งอเมริกาเคยมี หลายๆประเทศที่เคยเป็นคนชั้นกลางขณะนี้กลับต้องใช้ชีวิตอยู่ในกรุงอย่างขัดสน

ได้โปรดเถอะชาวเสื้อแดง ถอดเสื้อสีซาตานออก และขอบคุณพระเจ้าต่อสิ่งที่คุณมี และสามัคคีกันภายใต้พระเจ้าอยู่หัวที่พระเจ้ามอบให้คุณ และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพี่น้องร่วมชาติคุณ อย่าปล่อยให้ประเทศของคุณถูกขโมยโดยพวกแร้งเพราะคุณขาดสติสัมปชัญญะ หลายต่อหลายอย่างถูกพิชิตได้โดยสันติวิธี และถ้าไม่มีอะไรแล้ว ใจที่กตัญญูก็เป็นใจที่เปี่ยมสุข

ปฎิวัติที่ใช้กำลังรุนแรงไม่เคยช่วยประชากรที่น่าสงสารใดๆให้ได้มาซึ่งสิ่งที่พวกเขาต้องการและจำเป็นจริงๆเลย ได้โปรดเถอะ ถ้าคุณรักตัวคุณและประเทศของคุณ กลับบ้านเถอะ ชาวไทย ร่วมใจกัน อย่าสูญเสียสิ่งที่ดีเพื่อสิ่งที่คิดว่า “ดีกว่า” และลงเอยด้วยสิ่งที่แย่ในที่สุด โปรดกลับบ้านเถอะ โดยสันติวิธี

ท้ายสุดนี้ ผมได้พูดที่ผมอยากพูดแก่พวกคนระดับล่างแล้ว ผมอยากจะฝากพวกนักการเมืองไทยสั้นๆด้วยว่า แม้ปฎิวัติในฝรั่งเศสถูกบงการโดยพวกแร้งที่หิวกระหายเงินต่างชาติ แต่สาเหตุมาจากพวกนักการเมืองชาวฝรั่งเศสที่เห็นแก่ตัวผู้ซึ่งไม่ใช้อำนาจอันชอบธรรมที่พระเจ้ามอบให้เขาและปกครองคนของเขาอย่างเป็นธรรมอย่างแท้จริง พวกเขาปล่อยให้ความโลภที่เห็นแก่ตัวครอบงำให้ไม่มีความเป็นธรรม กดขี่ข่มเหง ขาดความเห็นอกเห็นใจคนจนๆ ใช้อำนาจไปในทางผิดๆ และฝรั่งเศสสูญสิ้นทุกอย่างจริงๆ พวกนักการเมืองรวยๆที่เห็นแก่ตัวเหล่านี้ต้องโทษตัวเองเท่านั้นกับการสูญเสียประเทศของเขาไป

สิ่งเดียวกันนี้กำลังเกิดขึ้นกับประเทศของคุณด้วย ถ้าคุณยังไม่ลืมหูลืมตา กลับใจและดูแลผู้คนของคุณให้ดีกว่านี้ราวกับเขาเป็นพี่น้องของคุณ หยุดใช้อำนาจรัฐไปในทางที่ผิด และหยุดดูดเลือดคนจน ครอบครัวชาวไทยของคุณ ให้ความเป็นอยู่ที่ดีแก่เขา ให้ความเป็นธรรมแก่เขา ไม่งั้นคุณจะลงเอยเหมือนนักการเมืองที่เห็นแก่ตัวชาวฝรั่งเศส ชาวรัสเซีย ชาวอเมียเนีย และหลายประเทศทั่วโลกนั่น พบกับความหายนะ และประเทศของคุณก็จะตกเป็นเหยื่อในอุ้งมือนายทุนโลกที่เห็นแต่ได้ รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง รักพี่น้องของคุณ ดูแลเขาให้ดี ไม่งั้นคุณจะสูญเสียสิทธิอันชอบธรรมในการปกครอง คงไม่สายเกินไปนะ?
LINK TO A OUR LATEST ARTICLE

Can Bangkok Thailand change its red (shirt) karma?


-------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา  Here ...

2554-07-10

เปิดมติการประชุมมรดกโลก ครั้งที่ ๓๕ กรณีปราสาทพระวิหาร

เปิดมติการประชุมมรดกโลก ครั้งที่ ๓๕ กรณีปราสาทพระวิหาร

มติการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๕ กรณีปราสาทพระวิหาร 35 COM 7B.62ฟิฟทีนมูฟ — เปิดเอกสารคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งที่ ๓๕ มติ 35 COM 7B.62 ปราสาทพระวิหาร ไม่กล่าวถึงแผนบริหารจัดการปราสาท ข้อเสนอของทั้งกัมพูชาและไทยถูกถอนออกทั้งคู่ เหลือมติ ๖ ข้อจากเดิม ๗ ข้อ ส่วนเอกสาร สถานะการอนุรักษ์ WHC.11/35.COM/7B.Add.2 เอียงเข้าข้างเขมรน้อยลง ข้อมูลที่ระบุว่าไทยเปิดการโจมตีหรือยิงใส่ปราสาทหายไป
เอกสารการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๕ ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๙ มิถุนายน มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นปราสาทพระวิหาร ๒ ฉบับ ฉบับแรก คือ มติคณะกรรมการมรดกโลก 35 COM 7B.62  ซึ่งรวมอยู่ในเอกสารรายงานการประชุม WHC.11 /35.COM /20 ฉบับที่สอง คือ WHC.11/35.COM/7B.Add.2 เป็นรายงานสถานะการอนุรักษ์ หรือ State of conservation ซึ่งยูเนสโกปฏิเสธก่อนหน้าว่าคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีการบันทึกในส่วนนี้ ฟิฟทีนมูฟนำเสนอเนื้อหาโดยละเอียดของเอกสารทั้งสองฉบับ
เอกสารผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ ๓๕ ที่กรุงปารีส WHC.11 /35.COM /20 ระบุมติ 35 COM 7B.62 กรณีปราสาทพระวิหาร ไว้ในข้อ ๖๒ หน้า ๑๐๓ มีเนื้อหา ดังนี้
——————————————————————–
๖๒. ปราสาทพระวิหาร (กัมพูชา) (C 1224rev)
มติ: 35 COM 7B.62
คณะกรรมการมรดกโลก
     ๑. ได้ตรวจสอบเอกสาร WHC-11/35 COM7B.Add.2
     ๒. อ้างถึง มติ 31 COM 8B.24, 32 COM 8B.102, 33 COM 7B.65, 34 COM 7B.66
จากการประชุมครั้งที่ ๑๓ (ไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ ๒๕๕๐) การประชุมครั้งที่ ๓๒ (ควิเบก แคนาดา ๒๕๕๑) การประชุมครั้งที่ ๓๓ (เซบียา สเปน ๒๕๕๒) และการประชุมครั้งที่ ๓๔ (บราซิเลีย บราซิล ๒๕๕๓)
     ๓. ขอบคุณ ผู้อำนวยการยูเนสโกที่ส่งทูตพิเศษ นายโคอิชิโร มัตสึอุระ ไปยังราชอาณาจักรไทยและกัมพูชา ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ด้วยมุมมองที่จะฟื้นคืนการสนทนาระหว่างสองภาคี
     ๔. ประทับใจ ความพยายามของผู้อำนวยการยูเนสโกในการอำนวยความสะดวกทั้งการหารือแยกและทวิภาคีระหว่างสองภาคี ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔
     ๕. รับทราบ ความตั้งใจดีของภาคีและยืนยันความจำเป็นที่ต้องรับประกัน โดยสอดคล้องกับแนวปฏิบัติ (Operational Guidelines) ในการปกป้องและอนุรักษ์ทรัพย์สมบัติจากความเสียหายใด
   ๖. สนับสนุน รัฐภาคีกัมพูชาและไทยให้ใช้อนุสัญญา ค.ศ.๑๙๗๒ เป็นเครื่องมือสนับสนุนการอนุรักษ์ การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการสนทนา
——————————————————————–
เป็นที่น่าสังเกตว่า มติของคณะกรรมการมรดกโลก (35 COM 7B.62 ใน WHC.11 /35.COM /20) ไม่มีการพูดถึง ๑. แผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชา และ ๒. ร่างมติ 35 COM 7B.62 เดิมมี ๗ ข้อ ถูกตัดเหลือ ๖ ข้อ โดยส่วนที่เป็นข้อเสนอของทั้งกัมพูชาและไทย (ข้อ ๖ เดิม การตัดสินใจ) ถูกตัดออกไปทั้งคู่ โดยร่างมติที่ถูกเสนอเข้าในวาระการประชุมนั้น ฝ่ายกัมพูชาเสนอให้ทบทวนความคืบหน้าของการคุ้มครองและอนุรักษ์ในการประชุมครั้งที่ ๓๖ ขณะที่ฝ่ายไทยเสนอให้พิจารณาเอกสารในการประชุมครั้งที่ ๓๖
ขณะที่เอกสาร WHC.11/35.COM/7B.Add.2 ซึ่งเป็นเอกสารสถานะการอนุรักษ์ (State of conservation) ของทรัพย์สินมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก ได้ให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องปราสาทพระวิหาร ไว้ใน หน้า ๖-๗  ข้อ ๖๒. ปราสาทพระวิหาร (กัมพูชา) (C 1224rev) ซึ่งเนื้อหาสำคัญอยู่ในส่วนของปัญหาการอนุรักษ์ปัจจุบัน (Current conservation issues)  มีรายละเอียดว่า
——————————————————————–
ปัญหาการอนุรักษ์ปัจจุบัน
เอกสาร  WHC.11/35.COM/7B.Add.2  สถานะการอนุรักษ์ (State of conservation)ที่การประชุมครั้งที่ ๓๔ (บราซิลเลีย ๒๕๕๓) คณะกรรมการฯ ได้บันทึกว่า รัฐภาคีกัมพูชาได้ยื่นเอกสาร และตัดสินใจที่จะ “พิจารณาเอกสารที่ยื่นโดยรัฐภาคี ในการประชุมครั้งที่ ๓๕ พ.ศ.๒๕๕๔” (มติ 34 COM 7B.66) คณะกรรมการฯ ไม่ได้ร้องขอให้ภาคีใดรายงานสถานะการอนุรักษ์ของทรัพย์สมบัตินี้
โดยการร้องขอของรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และโดยความยินยอมของกัมพูชา สำเนาเอกสารหนึ่งชุด คือแผนบริหารจัดการสำหรับทรัพย์สมบัติของปราสาทพระวิหาร รวมถึงแผนที่ซึ่งแก้ไขแล้ว ได้ถูกส่งถึงผู้แทนไทยประจำยูเนสโก โดยผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านวัฒนธรรมของยูเนสโก เมื่อ ๙ กันยายน ๒๕๕๓ เอกสารเหล่านี้ได้ถูกแจกจ่ายให้กับ ICOMOS ระหว่างการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๓๔ (บราซิเลีย ๒๕๕๓)
แผนบริหารจัดการจัดเตรียมโดยรัฐภาคีกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๒ และได้รับประโยชน์จากคณะทำงานทางเทคนิคที่ไปยังทรัพย์สมบัติโดยทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ ได้ยื่นถึงศูนย์มรดกโลก เมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
เมื่อ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓ รัฐภาคีกัมพูชายื่นถึงศูนย์มรดกโลก ร้องขอความช่วยเหลือระหว่างประเทศ เพื่อจัดการสัมมนาทางเทคนิค ประเด็นการอนุรักษ์ ทะนุบำรุงและจัดการปราสาทพระวิหาร คำร้องถูกตรวจสอบโดยเห็นชอบจากองค์กรที่ปรึกษา (ICOMOS และ ICCROM) และศูนย์มรดกโลก และเสนอแนะให้ประธานอนุมัติคำร้องจำนวน ๓๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ บนเงื่อนไขที่ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้มีส่วนร่วมจากประเทศไทยควรได้รับเชิญเข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย เนื่องจากพัฒนาการต่อมาในและรอบทรัพย์สมบัติ คำร้องถูกชะลอการอนุมัติโดยประธาน
เอกสาร  WHC.11/35.COM/7B.Add.2  สถานะการอนุรักษ์ (State of conservation)ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ สถานการณ์ความตึงเครียดตามแนวชายแดนกัมพูชา-ไทย ได้เพิ่มความตึงเครียดและการเผชิญหน้าระหว่างสองประเทศ นับตั้งแต่การเผชิญหน้าล่าสุดที่เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ ดังที่ได้รายงานโดยสองฝ่าย กองกำลังติดอาวุธได้ยิงต่อสู้กันตั้งแต่วันที่ ๔-๗ กุมภาพันธ์ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของพลเรือนและทหาร การอพยพของประชากรพลเรือนและการทำลายทางกายภาพ
ยูเนสโกไม่มีรายงานชั้นต้นของสถานการณ์ในพื้นที่ สองฝ่ายได้ให้ข้อมูลฝ่ายตนของเหตุการณ์ ในจดหมายหลายฉบับซึ่งได้สื่อสารไปยังผู้อำนวยการยูเนสโก ประธานคณะกรรมการฯ หรือประธานคณะกรรมการบริหาร
ยูเนสโกได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และกระตุ้นซ้ำให้รัฐภาคีทั้งสองแก้ข้อพิพาทโดยสันติ และลดความตึงเครียดรอบทรัพย์สมบัติ ด้วยมุมมองที่จะประเมินสถานการณ์ได้ดีขึ้นและขยับเคลื่อนการสนทนาระหว่างสองฝ่าย ผู้อำนวยการยูเนสโกตัดสินใจส่งทูตพิเศษ อดีตผู้อำนวยการยูเนสโก นายโคอิชิโร มัตสึอุระ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ถึง ๑ มีนาคม นายมัตสึอุระ พบกับหัวหน้ารัฐบาลของทั้งสองในเมืองหลวงเพื่อสนับสนุนให้มีการสนทนาและความร่วมมือต่อ ดังผลของภารกิจนี้ ได้เห็นชอบให้การประชุมทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทย ซึ่งอำนวยความสะดวกโดยผู้อำนวยการยูเนสโก เกิดขึ้นเมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ในกรุงปารีส ก่อนการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของคณะกรรมการมรดกโลก ที่กำหนดในวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔ มีการขยายตัวต่อไปอีกเกิดขึ้นในพื้นที่ทางตะวันตกของทรัพย์สมบัติ ระหว่างกำลังทหารสองฝ่าย ในพื้นที่เขตแดนระหว่างกัมพูชาและไทย
การสู้รบในเดือนกุมภาพันธ์และเมษายน ๒๕๕๔ มีความยืดเยื้อยิ่งขึ้น และมีรายงานการใช้อาวุธหนัก ก่อนหน้าการปะทะ สองประเทศมีรายงานการเสริมกำลังทหารในพื้นที่ หลังความไม่ลงรอยกันกรณีมีธงชาติในเขตพิพาท ผลของการสู้รบ มีรายงานว่าพลเรือนหลายพันได้เกิดการพลัดถิ่นในทั้งสองประเทศ
ความช่วยเหลือฉุกเฉิน (Emergency Assistance) ร้องขอเงินจำนวน ๗๔,๔๒๒ ดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนมรดกโลก (World Heritage Fund) ยื่นโดยเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติสำหรับยูเนสโกของกัมพูชา (Cambodian National Commission for UNESCO) ถึงศูนย์มรดกโลก เมื่อ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๔ โครงการมีเป้าหมายนำไปทำความสะอาดฉุกเฉินและสนับสนุนการอนุรักษ์ที่ทรัพย์สมบัติ ในขณะเตรียมรายงานนี้ คำร้องได้ถูกประเมินอย่างเป็นบวกโดยองค์กรที่ปรึกษา (ICOMOS และ ICCROM) หลังขอความชัดเจนหลายครั้งจากรัฐภาคีกัมพูชา คำร้องจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากประธานคณะกรรมการมรดกโลก
ผู้อำนวยการยูเนสโก ได้อำนวยความสะดวกในการประชุมแยกและทวิภาคี ระหว่างตัวแทนของราชอาณาจักรกัมพูชาและไทย เมื่อวันที่ ๒๕, ๒๖ และ ๒๗ พฤษภาคม ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ในกรุงปารีส ภาคีทั้งสองยืนยันความมุ่งมั่นที่จะรับประกันการคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพย์สมบัติ และป้องกันความเสียหายในอนาคต ความจำเป็นที่จะต้องทำการซ่อมแซมฉุกเฉินและมาตรการการบูรณะก็ถูกรับทราบเช่นกัน เป็นความจำเป็นที่ต้องสนทนาและปรึกษาต่อซึ่งนำไปสู่การประชุมครั้งที่ ๓๕ ของคณะกรรมการมรดกโลก
ข้อสรุป:
ศูนย์มรดกโลกและองค์การที่ปรึกษาเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องสร้างการสนทนาขึ้นใหม่อีกครั้ง ระหว่างภาคีโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อทรัพย์สมบัติของมรดกโลก
ร่างมติ: 35 COM 7B.62
ร่างมติจะถูกเสนอคณะกรรมการมรดกโลกระหว่างการประชุม
——————————————————————–
มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า ตาม กรณีนางอิรินา โบโกวา แสดงความเสียใจต่อการถอนตัวจากอนุสัญญา ค.ศ.๑๙๗๒ ความตอนหนึ่งระบุว่า คณะกรรมการมรดกโลกไม่ได้หารือแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร หรือขอให้บันทึกรายงานใด ๆ ลงในสถานะของการอนุรักษ์ แต่ตามเอกสารมติคณะกรรมการมรดกโลกอย่างเป็นทางการ กลับมีการลงบันทึกสถานะการอนุรักษ์ ใน WHC.11/35.COM/7B.Add.2 ความยาว ๒ หน้ากระดาษ นอกจากนี้ข้อความที่โน้มเอียงเข้าข้างกัมพูชา อันได้แก่ไทยเป็นฝ่ายเปิดการโจมตี หรือความเสียหายของปราสาทพระวิหารที่เกิดจากการยิงปืนใหญ่ของทหารไทย และอื่น ๆ ที่ปรากฎในต้นร่าง ไม่มีบันทึกในรายงานฉบับนี้

---------------------------------------------------------------------------------------------
ที่มา  ตามนี้

2554-07-07

รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย ปี ๒๕๕๐ ในส่วนของสิทธิ เสรีภาพ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ 




รัฐธรรมนูญมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน

หมวด ๓
สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
----------
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป
----------

มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๒๗ สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง

มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้

บุคคลย่อมสามารถใชสิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐ ในการใช้สิทธิตามความในหมวดนี้

มาตรา ๒๙ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยโดยอนุโลม

ส่วนที่ ๒
ความเสมอภาค
----------

มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

มาตรา ๓๑ บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจริยธรรม

ส่วนที่ ๓
สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
----------

มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

การจับกุมและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ

ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้ระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้

มาตรา ๓๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน

บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข

การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถานหรือในที่รโหฐาน จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๓๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อความมั่งคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน การผังเมือง หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์

การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร จะกระทำมิได้

มาตรา ๓๕ สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง

การกล่าวหาหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย

การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง การกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหนึ่ง บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใด ๆ อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้ เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น

มาตรา ๓๘ การเกณฑ์แรงงานจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาเป็นการฉุกเฉิน หรือโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งให้กระทำได้ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก

ส่วนที่ ๔
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
----------

มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้

ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด

ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้

(๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง

(๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษา หรือคำสั่ง

(๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม

(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง

(๕) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

(๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ

(๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

(๘) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ

ส่วนที่ ๕
สิทธิในทรัพย์สิน
----------

มาตรา ๔๑ สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๔๒ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะกิจการของรัฐเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดิน การอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งทางประวัติศาสตร์ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การกำหนดค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรมโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด การได้มา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ ความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน และประโยชน์ที่รัฐและผู้ถูกเวนคืนได้รับจากการใช้สอยอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน

กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวต้อคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท

การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรคสาม และการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

ส่วนที่ ๖
สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
----------

มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน

มาตรา ๔๔ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำงาน รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นภาวะการทำงาน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

ส่วนที่ ๗
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน
----------

มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน

การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้

การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง

การให้นําข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนําไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่น จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะกระทำในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม แต่ทั้งนี้จะต้องกระทําโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นตามวรรคสอง

เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย

การให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทำมิได้

มาตรา ๔๖ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจํากัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ และมีสิทธิจัดตั้งองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ เสรีภาพและความเป็นธรรม รวมทั้งมีกลไกควบคุมกันเองขององค์กรวิชาชีพ

ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง

การกระทำใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าของกิจการ อันเป็นการขัดขวางหรือแทรกแซงการเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะของบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้ถือว่าเป็นการจงใจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบและไม่มีผลใช้บังคับ เว้นแต่เป็นการกระทําเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ

มาตรา ๔๗ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทําหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การดําเนินการตามวรรคสองต้องคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดําเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ

การกํากับการประกอบกิจการตามวรรคสองต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน

มาตรา ๔๘ ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคม มิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน หรือจะดําเนินการโดยวิธีการอื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สามารถบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทํานองเดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าว

ส่วนที่ ๘
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
----------

มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่ง และการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น

การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ

การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ส่วนที่ ๙
สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
----------

มาตรา ๕๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์

มาตรา ๕๒ เด็กและเยาวชน มีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ

เด็ก เยาวชน สตรี และบุคคลในครอบครัว มี สิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม ทั้งมีสิทธิได้รับการบำบัดฟื้นฟูในกรณีที่มีเหตุดังกล่าว

การแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น

เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐ

มาตรา ๕๓ บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

มาตรา ๕๔ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐบุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

มาตรา ๕๕ บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

ส่วนที่ ๑๐
สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน
----------

มาตรา ๕๖ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๕๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนําไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว

การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดําเนินการ

มาตรา ๕๘ บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน

มาตรา ๕๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว

มาตรา ๖๐ บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดเนื่องจากการกระทําหรือการละเว้นการกระทําของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น

มาตรา ๖๑ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค

ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทําหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทําหรือละเลยการกระทําอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย

มาตรา ๖๒ บุคคลย่อมมีสิทธิติดตามและร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ

บุคคลซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริตแก่องค์กรตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมได้รับความคุ้มครอง

ส่วนที่ ๑๑
เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม
----------

มาตรา ๖๓ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก

มาตรา ๖๔ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น

ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ้มเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทําบริการสาธารณะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสองจะกระทำมิ ได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการผูกขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ

มาตรา ๖๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดําเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

การจัดองค์กรภายใน การดำเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมือง ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารของพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจํานวนที่กําหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้นจะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มติหรือข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป

ส่วนที่ ๑๒
สิทธิชุมชน
----------

มาตรา ๖๖ บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน

มาตรา ๖๗ สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติ และต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม

การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้ เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่ จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดําเนินการดังกล่าว

สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง

ส่วนที่ ๑๓
สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
----------

มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทําดังกล่าว แต้ทั้งนี้ ไม้กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทําการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งดังกล่าว

มาตรา ๖๙ บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

หมวด ๕
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
----------
ส่วนที่ ๖
แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
มาตรา ๘๒ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระทําไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ
หมวด ๑๑
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
-----------

ส่วนที่ ๒
องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
๒. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
----------

มาตรา ๒๕๖ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนเป็นที่ ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๔ วรรคสาม มาตรา ๒๐๖ มาตรา ๒๐๗ และมาตรา ๒๐๙ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๔๓


ที่มา  รธน.๕๐