Suggestion Post

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ภาค 6 อวสานหงสา        ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพ...

2554-07-07

เปรียบเทียบการสรุปฆ่า ๙๑ ศพเเละเผาเมือง


เปรียบเทียบ คอป.-กสม.สรุปฆ่า91ศพ-เผาเมือง
เปรียบเทียบ คอป.-กสม.สรุปฆ่า91ศพ-เผาเมือง
Source - มติชน (Th)

Thursday, July 07, 2011 05:28
19464 XTHAI XPOL MIDD DAS V%PAPERL P%MTCD

อย่างน้อย 2 องค์กรที่จัดทำรายงานสรุปเหตุการณ์สลายม็อบกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในช่วงเดือนมีนาคมพฤษภาคม 2553 มีผู้เสียชีวิตถึง 91 ศพ และบาดเจ็บอีกนับพันคน ได้แก่ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)ที่มี นายคณิต ณ นคร เป็นประธาน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นางอัมราพงศาพิชญ์ เป็นประธานทั้งสององค์กรมีบทสรุปผลการตรวจสอบเหตุการณ์"ฆ่าหมู่"ใจกลางเมืองหลวงและการใช้กำลังทหารเพื่อสลายม็อบคนเสื้อแดงใน "สาระสำคัญ" ดังนี้ในบทสรุปของ คอป. ที่มาจากการตรวจสอบเหตุการณ์สลายม็อบ นปช.ระหว่างเดือนเมษายนพฤษภาคม 2553 พบมีผู้เสียชีวิต 92 ราย บาดเจ็บ1,885 ราย แบ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 542 ราย พลเรือน1,343 ราย
มีการดำเนินคดีผู้ชุมนุมตามประเภทความผิดเป็น 4 กลุ่มคดี 1.ก่อการร้าย 145 คดี 2.การขู่บังคับให้รัฐบาลกระทำการใดๆ 21 คดี 3.ทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ 86 คดี และ 4.กระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ 20 คดี
คอป.ยังสรุปอีกว่า เหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดงในครั้งนั้น อย่างน้อย 13 ราย เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ แต่ปรากฏว่ายังไม่ดำเนินการดังกล่าว  นอกจากนี้แล้ว คอป.ยังสรุปวิกฤตการณ์ขัดแย้งระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ว่า แม้เป็นดูเสมือนหนึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ยึดมั่นในอุดมการณ์แตกต่างกัน ในความเป็นจริงความขัดแย้งมีรากเหง้าของปัญหาหยั่งลึกถึงระดับโครงสร้างทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองของประเทศ
"ความขัดแย้งที่เดิมอาจจะเริ่มจากความขัดแย้งระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคล แต่เมื่อผสมกับสภาพปัญหาเชิงโครงสร้างความเหลื่อมล้ำของสังคมและความอ่อนแอของกลไกในระบอบประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรมของประเทศ โดยเฉพาะข้อวิจารณ์เกี่ยวกับความสอดคล้องกับหลักนิติธรรมของกลไกต่างๆ ของรัฐ ทำให้ปัญหามีความซับซ้อนมากขึ้น"
คอป.เห็นว่าทุกฝ่ายควรร่วมกันแสวงหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหา และการแสวงหาทางออกนั้นควรอยู่บนพื้นฐานของการค้นหาความจริงซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ของการนำประเทศสู่ความขัดแย้ง
ขณะที่ กสม.ตรวจสอบเหตุการณ์ชุมนุมของนปช.และการสลายม็อบระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 ใน 9 กรณี
กรณีที่ 1 การสั่งการของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ การปฏิบัติหน้าที่และผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่มีผลสืบเนื่องมาจาก นปช.ปลุกระดมมวลชนชุมนุมเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภาหรือลาออก บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมเป็นต้นมา   กสม.สอบพยานบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 28 รายนปช. 54 ราย ผู้ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมแต่อยู่ในเหตุการณ์26 ราย รวมทั้งพยานเอกสาร เช่น ข้อเท็จจริงจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)ได้ข้อสรุปว่า ผู้ชุมนุมกระทำเกินกว่าการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และแม้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบ แต่ในวันที่ 10 เมษายน การที่รัฐบาลขอคืนพื้นที่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากลุ่ม นปช.ต่อต้านและขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ทั้งยังมีกลุ่มชายชุดดำติดอาวุธปะปนอยู่กับผู้ชุมนุมถือว่าเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีอาวุธและมีลักษณะเป็นกระบวนการที่พร้อมใช้อาวุธและความรุนแรงได้ตลอดเวลา ดังนั้น การชุมนุมดังกล่าวจึงมิใช่การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
กสม.ยังระบุอีกว่า ในส่วนของรัฐบาล การขอคืนพื้นที่เมื่อวันที่ 10 เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนทั่วไป รัฐบาลทำไปตามมาตรการที่ได้ประกาศไว้ก่อนจริง เป็นการกระทำจากเบาไปหาหนัก จึงเป็นการกระทำภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจไว้
กรณีที่ 2 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากระเบิดเอ็ม 79 บริเวณแยกศาลาแดงเมื่อวันที่22 เมษายน 2553
กสม.สอบถามจากพยานบุคคลที่อยู่ในที่เกิดเหตุ21 คน และพยานเอกสาร สรุปว่าการชุมนุมของนปช.เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ มีการใช้ความรุนแรง
กรณีที่ 3 เหตุการณ์กรณีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 คณะกรรมการเห็นว่าทหารเสียชีวิตจากอาวุธปืนและประชาชน รวมถึงทหารจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ ถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนทั่วไปและทหารที่เสียชีวิต แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำ
กรณีที่ 4 เหตุการณ์กรณีการชุมนุมของกลุ่มนปช.บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย และการบุกเข้าไปตรวจค้นโรงพยาบาลจุฬาฯเมื่อวันที่ 29 เมษายน เข้าข่ายบุกรุก และเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ ละเมิดสิทธิผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินของโรงพยาบาล
กรณีที่ 5 เหตุการณ์กรณีการสั่งการของรัฐบาลการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม รวมทั้งเหตุการณ์ต่อเนื่อง เช่น การเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และอาคารต่างๆ
กสม.สรุปว่า
นปช.ชุมนุมไม่สงบและมีอาวุธปืน มีกลุ่มบุคคลติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในกลุ่มม็อบ ส่งผลต่อความมั่นคงภายในประเทศ
ส่วนมาตรการกระชับพื้นที่สี่แยกราชประสงค์และบริเวณโดยรอบตั้งแต่วันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 ตามประกาศของ ศอฉ.นั้น กสม.เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปได้ว่ามาจากการกระทำของฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร รัฐบาลจึงมีหน้าที่รับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เสียหาย และต้องสืบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
กรณีที่ 6 การเสียชีวิต 6 ศพและการกระทำในรูปแบบอื่นๆ ในวัดปทุมวนารามระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม
กสม.อ้างว่าการรวบรวมหลักฐานในชั้นนี้ ไม่มีพยานยืนยันว่าใคร ฝ่ายใดเป็นผู้ยิงทั้ง 6 ศพ และผู้เสียชีวิตบางรายได้ความว่าเป็นการเสียชีวิตนอกวัดบางศพไม่รู้ว่าเสียชีวิตบริเวณใด แต่ทั้งหมดได้ถูกเคลื่อนย้ายมาไว้ในวัด
กรณีที่เกิดขึ้นรัฐบาลไม่อาจปฏิเสธการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น และควรสืบสวนหาข้อเท็จจริงและหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม
กรณีที่ 7 เหตุการณ์กรณีนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเมื่อวันที่ 7เมษายน 2553 และระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล ตลอดจนการระงับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสถานีวิทยุชุมชน กสม.เห็นว่านายกฯกระทำที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายและเป็นการจำเป็นเหมาะสมในสถานการณ์ความรุนแรงและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีที่ 8 เหตุการณ์กรณีชุมนุมและการเคลื่อนขบวนของกลุ่ม นปช.ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-20 พฤษภาคม ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึง นปช.เจาะเลือดของผู้ชุมนุมและนำไปเทที่พรรคประชาธิปัตย์และทำเนียบรัฐบาล นั้นถือว่าละเมิดสิทธิของผู้อื่น
กรณีที่ 9 การเสียชีวิตและบาดเจ็บของสื่อมวลชนเกิดขึ้นจากการยิงปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มบุคคลผู้ติดอาวุธแฝงในกลุ่มผู้ชุมนุม แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าผู้ใดเป็นผู้ยิง และกลุ่มที่ติดอาวุธแฝงเป็นใคร ดังนั้น รัฐบาลจึงมีหน้าที่เยียวยาช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ--จบ--

--มติชน ฉบับวันที่ 8 ก.ค. 2554 (กรอบบ่าย)--
วันที่ 7 กรกฎาคม 2554

ที่มา  การเปรียบเทียบของกสม.เรื่องการสลายการชุมนุมของนปช.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comment here (เขียนความคิดตรงนี้นะ)