Suggestion Post

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ภาค 6 อวสานหงสา        ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพ...

2553-12-26

บทสนทนาการโต้วาทีของอาจารย์บวร ยสินทร เเละอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตอน 1

บทสนทนาการโต้วาทีของ คุณบวร ยสินทร เเละ คุณ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล 


 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล   
อยากย้ำอีกครั้งว่า ถ้าคิดว่า อุดมการณ์ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" โดยเฉพาะ เรื่อง "สถาบัน" ของพวกคุณ "แน่" จริงๆ ทำไม ต้องอาศัยชื่อคนอื่นด้วย? อย่างนี้ แสดงว่า อุดมการณ์ของพวกคุณไม่แน่จริง ไม่มีน้ำยา หรือบารมีจริงๆ จึงต้อง "หากิน" กับชื่อคนอื่น และเป็นคนอื่นที่ อุดมการณ์ไม่เหมือนตัวเองด้วย คือ อย่างน้อย ไม่ควร "หน้าหนา" ขนาดนี้นะครับ
Boworn Yasintorn  เรียน อาจารย์สมศักดิ์ทราบ ก่อนอื่นกรุณาฟังด้วยเหตุและผลก่อนใช้อารมณ์ ซึ่งก็ไม่ทราบว่า มาหงุดหงิดใส่พวกผมทำไม ในเมื่อคุณก็เป็นถึงครูบาอาจารย์ มีคนมากมายยกย่องว่าเป็นนักวิชาการตะวันตกชั้นยอดของประเทศ พวกผมเป็นก็นักวิชาเกินที่อยากจะรับใช้บ้านเมือง ให้บ้านเมืองสู่ความสงบสุขเช่นเดิมเรื่อง ศนท.ย่อมาจากอะไร เปิดหนังสือ 14 ตุลาเล่มไหนก็บอกอยู่แล้ว ไม่ใช่ความรู้วิเศษวิโสอะไร ศนท.ย่อจากศุนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย นั่นมันตั้งแต่ปี 2513-2519 เวลานี้ ศนท.ที่พวกผมตั้งมาจากศูนย์กลางนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ตั้งเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2553 แล้วผิดประวัติศาสตร์หรือไปทำให้ใครเสียหายเดือดร้อน พวกผมนำชื่อ ศนท.มาใช้ก็เพราะเห็นว่า ครั้งหนึ่งเคยมีตำนานที่น่ายกย่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์ผ่านไป 37 ปี มันมีอะไรที่อาจารย์ต้องหวั่นไหว เงาของ ศนท.ยุค 14 ตุลา 2516 มันน่าสะพรึงกลัวกับพวกอาจารย์หรืออย่างไรครับ
Boworn Yasintorn เพราะฉะนั้น การนำเอาสิ่งที่เรายกย่องมาใช้ ย่อมเป็นการให้เกียรติให้ความนับถือ ไม่ใช้การอาศัยชื่อมาทำให้เราดีขึ้น พวกผมต่างหากที่ควรได้รับการสนับสนุนจากอดีต ศนท.ที่ยังสืบทอดอุดมการณ์เดือนตุลาในส่วนที่ดีงามต่อสังคมไทย
Boworn Yasintorn อีกประการหนึ่งที่อาจารย์พูดว่า พวกผมมีอุดมการณ์ที่ต่างจาก ศนท.ในอดีต ต้องอธิบายให้เข้าใจ ในเรื่องนี้ ได้มีการบิดเบือนประวัติศาสตร์อยู่ตลอดเวลาโดยการนำเรื่อง 14 ตุลา 2516 มาปนเข้ากับ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 จนคนรุ่นหลังแยกไม่ออก ดังนั้น ศนท.2513-2517 ไม่ใช่ซ้าย และเอาเจ้า ศนท. 2553 ไม่ใช่ซ้ายและเอาเจ้า จึงเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์อย่างเดียวกันครับ
Boworn Yasintorn ศูนย์กลางนักเรียนแห่งประเทศไทย มีอมร อมรรัตนานนท์ เป็นประธาน เจอผมก็เรียกพี่ด้วยความจริงใจทุกครั้ง ผมไม่รู้จักศูนย์กลางนักเรียนฯตรงไหน

 วิทยา เจริญศรีสมบูรณ์ อาจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตอบกลับมาบ้างสิครับ

     สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล  ตอบคุณ Boworn1. "ศนท.ที่พวกผมตั้งมาจากศูนย์กลางนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย"ถ้าเช่นนั้น จากชื่อจริงคุณ คุณจะอ้างว่า ความเชื่อมโยงกับ ศนท เมื่อ 14 ตุลา ได้อย่างไรไม่ทราบครับ ในเมื่อชื่อไม่เหมือนกัน2. แต่ชื่อไม่เหมือนกัน คุณจงใจ ตั้งชือ่ย่อให้เหมือนกัน เพื่อจะให้เชือ่มโยง ก็เข้าประเด็นที่ผมบอกว่า น่าจะกล้ายืนบนขาตัวเองบ้างไม่เกี่ยวกับผมหวั่นไหวสะพรึงกลัวอะไรเลยครับ ผมไม่ใช่เจ้าของชื่ออยู่แล้ว แต่นี่เป็นการเรียกร้องเชิง "มโนธรรม" และความละอายใจว่า อะไรที่ไมใช่ของเรา ยิ่งไมใช่ตรงกับอุดมการณ์ของเรา และถ้าเรา(คือพวกคุณ)เชื่อมั่น ในอุดมการณ์พวกคุณจริง ก็ไม่จำเป็นต้อง"กินบุญ" ชื่อคนอื่นเลย
 3.เรื่อง อุดมการณ์ ศนท สมัยก่อน เป็นอย่างไร คุณแน่ใจหรือว่า จะเถียงกับผมได้ ไม่เพียงผมอยู่ในยุคนั้น ผมยังทำงานประวัติศาสตร์เรื่องนี้โดยตรง
 3.1 ศนท. จนถึงปี 2517 มี ความหลากหลายอยู่จริง แต่ก็ไม่ใช่ มีอุดมการณ์ทีอ้าง "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" อย่างที่คุณกำลังอ้างอยู่ขณะนี้แน่ๆ ไม่มีการ ชูเรื่อง "ยืนหยัดเคียงข้างสถาบัน" อย่างทีคุณชูแน่นอน ในความหลากหลายนี้ มีคนที่เรียกว่า "โปรเจ้า" อยู่จริง แต่ก็ไม่เคยเป็นลักษณะครอบงำ ถึงขนาดที่จะประกาศเป็นอุดมการณ์เดียวแบบของคุณแบบนี ดังนี้ การทีคุณอ้างชือ่มา นอกจากแสดงการไม่รู้จักยืนบนขาตัวเอง ไม่มีมโนธรรม อย่างที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังเป็นการ (ถ้ายืมภาษาวงการนักเขียน) "ไม่มีจรรยาบรรณ" ด้วย เพราะ เอาชือ่ที่ไม่ตรงกับอุดมการณ์ตัวเองมาใช้
3.2 ในความหลากหลาย ใน ศนท.นี้ มีกระแสความคิดแบบซ้าย แต่ต้น รวมทั้งในเหตุการณ์ 14 ตุลาด้วย และดังที่ชี้ให้เห็นในโพสต์แรกสุดของผม ตัวเหตุการณ์ 14 ตุลาเอง การชุมนุม จุดชนวนขึ้นมาจาก นักศึกษาทีเป็นกระแสซ้ายนี้ (กลุ่มอิสระ และ อมธ ซึ่งอยู่ใต้การนำของกลุ่มอิสระเก่า) รวมไปถึงตลอดการชุมนุม กลุ่มที่กุมการนำจริงๆ คือกลุ่มกระแสซ้ายนี้ ดังนั้น นอกจากการเชือ่มโยงกับชื่อ ศนท จะผิด แล้ว การเชือ่มโยงกับ 14 ตุลา ก็ผิดด้วย  พูดแบบมีเหตุผล แบบคนเป็นผู้ใหญ่แล้วจริงๆนะ ผมเรียกร้องมโนธรรมคุณว่าก. ถ้ามั่นใจในอุดมการณ์ตัวเองจริง ยืนบนขาตัวเองครับ อย่าพึ่งใบบุญชื่อคนอื่นข. ควรเคารพความจริงของเรื่อง ศนท และ 14 ตุลา ดังกล่าวข้างต้น อยาบิดเบือน(ขอให้สังเกตและอ่านที่ผมเขียนให้ดี ผมไม่เคยพูดว่า ศนท. จนถึงปี 2517 รวมทังในช่วง 14 ตุลา เป็นซ้าย ทั้งหมด แต่ชี้ให้เห็นว่า มีความหลากหลาย และชี้ให้เห็นความจริงว่า กระแสทีนำ เฉพาะในเหตุการณ์ 14 ตุลานั้น เป็นกระแสซ้ายด้วยซ็ำ ในขณะทีของคุณ ใช้วิธีโมเม เอาชื่อมา เป็น cover ให้กับ อุดมการณ์แบบเดียวของคุณเลย  อย่าทำเลย โตๆกันแล้ว และยิ่งถ้าเชือ่มั่นในอุดมการณ์ตัวเอง ทำไมไม่ใช้ชื่อของตัวเองเลยล่ะ? หรือ อุดมการณ์ตัวเองนี่ ไม่"แข็ง"พอ ไม่มี prestige (เกียรติภูมิ) เพียงพอครับ?
 Boworn Yasintorn วิทยากรที่เราจะเชิญมา คือคุณเทิดภูมิ ใจดี อาจารย์เป็นนักประวัติศาสตร์ตัวจริง จริงๆ เพราะอาจารย์ก็คงจะศึกษาแต่เอกสารเก่าๆ เรื่องคำแถลงการณ์ของพวกเข้าป่าในอดีต วันนี้มันผ่านไปกี่ปีแล้ว วันนี้ คุณเทิดภูมิเขาออกหนังสือเล่มใหม่ล่าสุด ชื่อ เทิดภูมิ ใจดี คนรักแผ่นดิน เล่มละ 350 บาท สารภาพทุกอย่างแล้วว่า เขาหลงผิดคิดผิดที่ไปเชื่อว่า คอมมิวนิสต์ดีเลิศประเสริฐศรี อุดส่าห์เดินทางไปศึกษาลัทธิ มาร์ก เลนิน ลัทธิเหมา ถึงลาว เวียดนาม จีน รัสเซีย
 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล  เอาตัวอย่างง่ายๆ ของความไม่รู้เรื่องนะที่อ้างว่า ศนท. 2513-2517 "ไม่ใช่ซ้ายและเอาเจ้า"โธ่ ไปศึกษา ปวศ. ให้ละเอียดก่อนครับในปี 2517 เลขาฯ ที่เลือกมาได้ในที่สุด คือคุณคำนูญ ที่ตอนนี้เป็นพันธมิตร (ซึ่งผมรู้จักเป็นส่วนตัวมาตั้งแต่ สวนกุหลาบด้วยกัน) ตอนนั้น คุณคำนูญ เป็นอย่างไร ลองไปถามเขาดูก็ได้ เขาอยู่ใต้อิทธิพลซ้ายแบบ ผิน บัวอ่อน (อดีต กก.กลาง พคท.) และที่เขาได้เป็นเลขาฯ ก็เพราะ อมธ.พรรคที่เขาสังกัดคือพรรค "พลังธรรม" ก่อนจะแตกตัวมาเป็น "แนวประชา" ก็เป็นพรรคซ้าย แม้จะได้รับอิทธิพล ผินแล้วก็ตาม (ผ่านคุณวิจิตร ศรีสังข์ และคำนูญเอง) ยิ่งกว่า น้ัน ช่วงครึ่งปีแรก ก่อนที่จะเลือกได้คำนูญ ศนท มีปัญหาเลือก เลขาไม่ได้ เพราะกระแส ซ้าย กับ ขวา "คาน" กันอยู่ แต่ในระหว่างเลือกไม่ได้ มีช่วงนึง วิรัช ศักดิ์จิระภาพงศ์ รักษาการณ์ เลขาอยู่ (มีอีกช่วง "ชั่งทอง" รักษาการณ์) วิรัช มาจากกลุ่มซ้ายในจุฬา และเขาเองก็เป็นซ้าย ต่อมาก็เป็นสมาชิกคนสำคัญของ พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ฯลฯ ฯลฯ  ผมสามารถพูดได้เป็นวันเลยเรื่องพวกนี้ เพราะอย่างที่บอกว่า ไม่เพียงผยู่ในสมัยนั้น ผมยังถือเอาเรื่อง ปวศ ช่วงนี้ เป็น "อาชีพ" ผม ด้วย ที่พูดมาแบบสั้นๆ แค่นั้ ก็สะท้อนแล้วว่าพวกคุณ ไม่รู้จริง โมเม ซึ่งสะท้อนความไม่เอาไหน คิดจะกินบุญเก่าคนอื่น โดยที่ไม่รู้เรื่องคนอื่นโดยแท้จริง
 เอ้า เอาอีกตัวอย่างนึงก็ได้ ศนท. ในเดือน กรกฎาคม 2517 เข้าร่วมต่อต้านฐานทัพอเมริกัน (4 กรกฎาคม) เมือ่กำลังฝ่ายขวาขณะนั้น ก่อสถานการณ์ ที่เรียกว่า "กรณีพลับพลาไชย" ศนท. ก็ออกมาคัดค้าน กรณีพลับพลาไชย น้ันด้วย อย่างพวกคุณ ถ้ามีกรณีแบบนั้น จะออกมาค้านหรือ? เห็นได้ชัดวา อุดมการณ์ มันคนละอย่าง คนละเรื่องเลย เลิกเถอะ ยืนบนขาตัวเองดีกว่า ไหนๆจะภูมิใจในอุดมการณ์ของตัวเองแล้ว ไม่ทำอะไรที่ควรภูมิใจ และเคารพตัวเองมากกว่นี้หรือ?
 Boworn Yasintorn  ที่โซเวียต คณะกก.กลางพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต ซึ่งเป็นประเทศต้นตำรับ ลัทธิมาร์ก- เลนิน ได้ยกย่องพระมหากษัตริย์ไทยว่า พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน ข้าพเจ้าทราบว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีที่สุดของโลกองค์หนึ่ง (หน้า 231) สหายควรภูมิใจในสถาบันทั้งสอง คือ สถาบันศาสนาพุทธ และสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างนี้แล้ว จำเป็นอะไรที่เราต้องกลับไปอ่านแถลงการณ์ที่คนเข้าป่าในครั้งแรกๆเขียนดังที่อาจารย์อ้างถึง เพราะในเวลานั้นพวกเขายังไม่มีความรู้ความเข้าใจในสภาพที่แท้จริง ในวันนี้ คนที่ยังคงพูดและสนใจในเรื่องนี้ ก็มีแต่พวกคอมมิวนิสต์หลงยุคเท่านั้น
Boworn Yasintorn ที่อาจารย์อ้างว่า ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 มีกลุ่มอิสระเป็นผู้จุดชนวนก่อน ศนท.นั้น ถ้าจะไล่ย้อนกันจริงๆละก็ กลุ่มที่เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญจนถูกจับกุมทั้ง 13 คน มิใช่ผู้จุดชนวนก่อนกลุ่มอิสระหรือ และถ้าจะย้อนไปก็ยังมีอีกตั้งหลายเหตุการณ์ที่เกิดก่อนนั้นอีก อันมีความเชื่อมโยงกัน แล้วจะต้องมาตัดสินเพื่ออะไรว่า ใครเป็นคนสำคัญที่สุดในเหตุการณ์ครั้งนั้น
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล  ผมขำเหมือนกัน เรื่องโซเวียตนี่เกี่ยวอะไรกับเรื่อง ปวศ. ศนท ที่กำลังพูดถึงครับอย่างน้อยๆ โตๆกันขนาดนี้ น่าจะมี "ตรรกะ"ในการคิดบ้างนะครับ แถลงการณ์เทอดภูมิ ที่ผมยกขึ้นมาถาม (ในกรณีคนที่คุณโฆษณาว่า เป็นผู้นำกรรมกรที่มีชื่อเสียงคือเทอดภูมิจริงๆ) ก็เพื่อจะบอกว่า ไม่ลองให้เขาอธิบายหน่อยว่า เขาจะบอกตัวเอง หรือคนอื่นยังไง ในเมื่อ เคยพูดถึงสถาบันฯไว้ย่างนั้น แล้วตอนนี้ มาทำเป็น "ยืนหยัดเคียงข้างสถาบัน" คนที่หันหลังชนิด 180 องศา นี่ ไม่ว่าประเทศไหน เขาไม่เป็นทีน่านับถือหรอกครับ

 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เรียกร้องต่อ "มโนธรรม" ของพวกคุณอีกครั้งว่า  กล้าๆหน่อยครับ ยืนบนขาตัวเอง ไม่ต้องไปอิงแอบกับชื่อ ที่ไมใช่ของคุณเอง และมิหนำซ้ำ ยังเป็นชื่อที่ไม่ตรงกับอุดมการณ์ของพวกคุณด้วย  แสดงความ "มันใจ" ในอุดมการณ์ของตัวเองหน่อยครับ ไม่ต้องกินบุญคนอื่น
 Boworn Yasintorn ผู้นำคนสำคัญของขบวนการนิสิตนักศึกษาในยุคนั้นที่ทุกคนต้องยอมรับ ได้แก่ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล,ธีรยุทธ บุญมี, เสาวณีย์ ลิมมานนท์, จิรนันท์ พิตรปรีชา และมีอีกหลายๆท่าน เฉพาะ 4 ท่านแรกที่ผมได้เอ่ยถึง มีโอกาสลองสอบถามว่า รู้จักผมไหม จะได้มั่นใจว่าผมมิได้แอบอ้างโมเม
 Boworn Yasintorn เกี่ยวกับวันที่เข้าเจราจากับจอมพลประภาส ผมลืมอ้างอิง เพราะอาจารย์เป็นนักวิชาการ อาจไม่เชื่อคำพูดลอยๆ (อ้างถึงหนังสิอขบวนการประชาชน ตุลาคม 2516 ที่แจกในงานพระราชทานเพลงศพ วีรชน 14 ตุลา ที่ท้องสนามหลวง หน้าที่ 116 บรรทัดสุดท้าย)

Boworn Yasintorn  เข้าใจว่า ผมได้ตอบอาจารย์มาครบถ้วนทุกประเด็นแล้ว ด้วยข้อเท็จจริงที่อ้างอิงได้ มิได้ด้วยอารมณ์โกรธเคือง เพราะถือว่าอาจารย์กับผมอาจยังไม่รู้จักกัน และผมก็ชอบอยู่กับปัจจุบัน จะใช้ประวัติศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการทำให้ชาติบ้านเมืองมีความปกติสุข จะไม่ใช้ประวัติศาสตร์เพื่อสร้างความวุ่นวายแต่ประการใดจึงเรียนมาเพื่อทราบ บวร ยสินทร (ราษฎรอาสา)  
ปล. หวังว่า อาจารย์จะได้ใช้ข้อมูลของผมไปเผยแพร่ให้คนที่นับถืออาจารย์ได้เข้าใจความที่ถูกต้องด้วย จักขอบคุณยิ่ง

 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เอาเฉพาะบางประเด็นทีเขียนข้างบนนะ
1. กลุ่ม 13 กบฏ ก็ไมใช่พวกโปรเจ้าล้วนๆแบบพวกคุณครับ มีซ้ายก็มี วิสา ธัญญา บุญส่ง นพพร ฯลฯ (พวกที่มีแบ็กกรวน์ จากกลุ่มอิสระ)
2. จริงๆแล้ว ถ้าคุณเป็น กรรมการ สจม ในปี 16 ก็ยิ่งไม่ควรมาอ้างชื่อนี้เข้าไปใหญ๋ คุณควรรู้ดีว่า ในเหตุการณ์ 14 ตุลา และใน ศนท นั้น ไมใช่ มีอุดมการณ์เดียวแบบของคุณตอนนี้ (แม้แต่ในจุฬาเอง) ยิ่งสำหรับเหตุการณ์ 14 ตุลา ก็น่าจะรู้ว่า ทั้งคนจุดชนวนชุมนุม และคนนำขบวนไปจนถึงสวนจิตร อยู่ในมือกระแสซ้าย ทั้งน้ัน ถ้าไมใช่พวกนี้ ยืนหยัด ยืนกราน ให้ชุมนุม ไม่ยอมเลิก โดยที่พวกที่เอียงในทาง "โปรเจ้า" อยากจะเลิกเอาๆ ถนอม-ประภาส ก็คงอยู่ต่ออีกอย่างน้อย เป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆ ก็ได้ เพราะโอกาส ที่จะชุมนุมแบบนั้นได้อีก ยากมาก ผมถึง่า อย่าแอบอ้าง สิ่งที่ไม่ได้เป็นผลงานของตัวเองเลย แม้แต่เรื่องอุดมการณ์ ก็ไมใช่แล้ว อย่งที่บอกว่า ถ้าไมใช่เพราะกระแสซ้ายทีนำขบวน นำชุมนุมจริง ถนอม-ประภาส ไม่ได้ตกกระป๋องตอนนั้นหรอก อยู่ต่อได้แน่ๆ เพราะพวกกระแสซ้ายยืนยัน จะเอาถนอมออกให้ได้ ใช้ชือของตัวเอง ที่สะท้อนความมันใจ และภูมิใจ ในอุดมการณ์ตัวเองดีกว่า ผมไม่เห็นด้วยเรือ่งอุดมการณ์ของพวกคุณ แต่ถ้าคุณจะทำกิจกรรมอื่น ใช้ชื่ออย่างอื่น ผมก็ไม่ว่าอะไร เป็นสิทธิของคุณ แต่นี่คุณเล่นเอาชื่อที่มีคนมีส่วนร่วมจำนวนมาก มาใช้ และเป็นการใช้ที่ขัดกับความจริง ในประวัติศาสตร์ด้วย
 นี่เรียกร้องต่อ "มโนธรรม" จริงๆ แสดงความมีมโนธรรม เคารพคนอื่น อย่างที่อ้างความมีอุดมการณ์อันสูงส่งของคุณบ้างเถอะครับ ของอะไรที่ไมใช่ของเรา ก็ไม่ควรโมเมเอามา คิดชือ่ของตัวเองเถอะ แล้วก็เลิกอ้างอิง สิ่งที่ไม่ตรงอุดมการณ์คุณเถอะ ไม่จำเป็นเลย ถ้าเคารพตัวเอง มันใจอุดมการณ์ตัวเองจริงๆ
 Boworn Yasintorn คำแนะนำ-สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่าน แนะนำว่า เวลาอ่านข้อความของผมให้อ่านต่อๆกันไป ในส่วนของผม เพราะผมได้ตอบประเด็นของอาจารย์สมศักดิ์ที่เขียนมาในครั้งแรกทีละประเด็น และขณะที่เขียนไม่เห็นข้อความที่อาจารย์เขียนแทรกเข้ามาใหม่ ความจึงอาจไม่ต่อเนื่อง คนอ่านอาจงงได้ง่ายๆ อาจารย์ก็ทำใจร้อนให้ผมเขียนให้เสร็จหมดก่อนก็ไม่ได้ อ่านของผมจบแล้วค่อยไปอ่านที่อาจารย์สมศักดิ์เขียนแทรกเข้ามา น่าจะเข้าใจเรื่องได้ดีกว่า

 Boworn Yasintorn คุณสมศักดิ์ครับ คุณบอกว่า คุณอยู่ในยุค14ตุลา และมีอาชึพ ปวศ.แล้วทำไมไม่รู้จักผมละครับ ชื่อผมปรากฎในหนังสือที่เป็นประวติศาสตร์ 14 ตุลา เล่มสำคัญๆอย่างน้อยที่สุด 2 เล่ม คือ เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์ เขียนโดย พตอ.วสิษฐ เดชกุณชร (ยศสมัยนั้น) และหนังสือปกแข็งที่แจกในงานพระราชทานเพลิงศพวีรชน 14 ตุลา ผมว่าคุณสนใจแต่ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องล้มเจ้ากระมังครับ

Boworn Yasintorn ในเมื่อการใช้ ศนท.คุณว่าเป็นเรื่องขัดมโนธรรม (ของใครก็ไม่รู้) เพราะเป็นชื่อย่อเดียวกับ ศนท.ในยุค 14 ตุลา แล้วเวลาที่มีคนบิดเบือนใช้คำสัญลักษณ์ เช่น ส่งหนังสือถึงฟ้าบ้าง ราษฎร์ประสงค์บ้าง ทำไมไม่เห็นคนอย่างคุณเดือดร้อน เพราะมันไม่ขัดมโนธรรมคุณใช่ไหม แต่คุณรู้หรือไม่ว่ามันขัดมโนธรรมคนไทยอีกมากมาย คนพูดก็ทำเป็นหัวหมอว่า คนฟังคิดไปเอง แค่ ศนท.ทำไมคุณเดือดร้อนมากมาย ทั้งๆที่เพื่อนๆผมซึ่งเป็นอดีต กก.ศนท.ในยุค 14 ตุลา ตัวจริงเสียงจริง ก็ไม่เห็นมีใครเดือดร้อนในเรื่องนี้เลย
 Kim Royalist ผม อ่านแล้ว สนุกมากเลยครับ การที่มีการดวนกันแบบนี้ เป้นเรื่องที่น่าสนใจจริงๆ ขออนุญาตอ่านเป็นความรู้นะครับ

 Gina น่ารักเสมอไป สนับสนุนอาจารย์บวรคะ เรื่อง14 ตุลา 16 คะ อาจารย์พูดเรียงประวัติศาสตร์ได้ถูกต้องเเละอยู่ในเหตุการณ์จิงๆด้วยอะ ส่วนที่อาจารยืสมศักดิ์พูดเนี่ยะ ไปจำสับสนตอน 6 ตุลา 19 รึป่าวคะ

 Boworn Yasintorn  กก.ศนท.ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่ผมเกี่ยวข้อง ขอยืนยันว่าไม่มีคอมมิวนิสต์ ต่อมาในต้นปีการศึกษา2517 ผมได้เป็นผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์อธิปัตย์ นสพ.ของ ศนท. ก่อนที่ฝ่ายซ้ายจะเข้ามามีอำนาจในศนท.และบีบผมออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการเพราะไม่เห็นด้วยกับแนวซ้าย ดังนั้นที่ผมพูดว่า 2517 จึงเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงจากขวาไปซ้าย หัว นสพ.อธิปัตย์ได้เปลี่ยนสีจากหัวดำเป็นหัวแดง เมื่อซ้ายเข้ามาผมก็ออกไปก็แค่นั้น ศนท.ในยุคซ้ายผมถือว่า ไม่ใช่ ศนท.ที่พึงประสงค์ในความรู้สึกของผม ผมจึงขอยืนยันว่า ศนท. 2553 เป็น ศนท.ที่ต้องการสืบทอดแนวทางที่ดีของ ศนท.ก่อนฝ่ายซ้ายจะเข้ามายึดครอง ส่วนต่อมา มี กก.ศนท.และนักกิจกรรมบางคนเข้าป่าหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ก็เป็นคนละส่วนกับที่ผมอธิบาย ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ว่าเข้าเพราะเป็นซ้ายแต่อย่างเดียว บางคนเข้าไปด้วยความกลัวที่จะถูกปราบปรามจากทหาร บางคนตามเพื่อนก็มี ส่วนผมไม่ได้เข้าป่าเพราะไม่เคยคิดที่จะเป็นซ้ายสรุป ศนท.ในช่วง 14 ตุลา ไม่ใช่ซ้ายและรักสถาบัน ซึ่ง ศนท. 2553 จะยกย่องแนวทางดังกล่าว


<div id="fb-root"></div><script src="http://connect.facebook.net/en_US/all.js#appId=168542163187143&amp;xfbml=1"></script><fb:comments xid="116379835095248" numposts="10" width="400" publish_feed="true"></fb:comments>

ความแตกต่างของพระมหากษัตริย์อังกฤษ และพระมหากษัตริย์ไทย

 ความแตกต่างของพระมหากษัตริย์อังกฤษ และพระมหากษัตริย์ไทย 
ในส่วนพระราชฐานะ พระราชอำนาจ และบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน 
โดยแบ่งเป็นกรณี ได้ดังนี้

๑. พระราชฐานะ
พระราชฐานะของพระมหากษัตริย์อังกฤษ และพระมหากษัตริย์ของไทยนั้นมีลักษณะสำคัญ ๆ ที่เหมือนกันคือ ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงเป็นที่มาแห่งความยุติธรรม และทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติยศ ซึ่งในหลักการแล้วจะเหมือนกัน จะแตกต่างในส่วนของแนวคิดที่มาและรายละเอียดปลีกย่อย

แต่ส่วนของพระราชฐานะที่แตกต่างกันระหว่างพระมหากษัตริย์อังกฤษ และพระมหากษัตริย์ไทยที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ พระราชฐานะประมุขของฝ่ายบริหาร และประมุขของศาสนจักร ในอังกฤษนั้น มีแนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหารอย่างไรก็ตาม พระมหากษัตริย์อังกฤษทรงเป็นประมุขฝ่ายบริหารในทางแบบพิธี (Formal) เท่านั้น มิได้ทรงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารประเทศของฝ่ายบริหารในแง่ของกลไก (Function) แต่อย่างใด ในรูปแบบของการปกครองในระบบระบบรัฐสภา (Parliamentary system) ของอังกฤษนั้น ในทางรูปแบบ ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบทั้งต่อพระมหากษัตริย์และรัฐสภาซึ่งถือเป็นระบบรัฐสภาแบบอำนาจคู่ (dualist) เนื่องจากในทางรูปแบบแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี แต่ในความเป็นจริงฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบต่อสภาสามัญเท่านั้น มิได้รับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของฝ่ายบริหารแต่อย่างใด (monist) ในกรณีดังกล่าวนี้จะแตกต่างจากประเทศไทย ในประเทศไทยนั้นไม่มีแนวคิดว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหารเหมือนดังที่อังกฤษมี แต่อย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในแทบจะทุกฉบับได้มีการบัญญัติไว้ในแนวทางเดียวกันว่า พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี บทบัญญัติดังกล่าวของรัฐธรรมนูญไทยสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการปกครองในระบบรัฐสภาของไทยมีลักษณะเป็นแบบอำนาจคู่ (Dualist) ดังเช่นอังกฤษ

แต่กระนั้น ในความเป็นจริง กลไกที่แท้จริงของระบบการปกครองในระบบรัฐสภาของไทยเป็นแบบอำนาจเดี่ยว (Monist) กล่าวคือ ในประเทศไทยนั้นตั้งแต่ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา มีลักษณะที่ฝ่ายบริหารเข้ามารับหน้าที่ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ไปดำเนินการแทนองค์พระมหากษัตริย์ ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ไทยกับคณะรัฐบาลเป็นไปในแบบพิธีเท่านั้น คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อรัฐสภามิใช่ต่อพระมหากษัตริย์ อาจกล่าวได้โดยสรุปว่าประเทศอังกฤษและไทยนั้น มีลักษณะเหมือนกันคือรัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ แต่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์และรัฐบาลเป็นไปตามแนวแบบพิธีเท่านั้น แต่จะมีส่วนที่แตกต่างกันก็คือ ในประเทศอังกฤษมีแนวคิดว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แต่ของไทยมิได้มีแนวคิดเช่นว่านั้น

๒. พระราชอำนาจ

จุดมุ่งหมายของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) นั้น คือการที่จะทำให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยวิวัฒนาการของสถาบันพระมหากษัตริย์ วิวัฒนาการของระบอบการปกครอง รวมทั้งขอบเขตของรัฐธรรมนูญ ทำให้พระราชอำนาจและบทบาทตามรัฐธรรมนูญของพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระมหากษัตริย์ไทยมีความแตกต่างกันในเนื้อหา พระมหากษัตริย์อังกฤษยังทรงมีพระราชอำนาจในการที่จะทรงใช้พระราขวินิจฉัยส่วนพระองค์ในกรณีของการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และในกรณีวิกฤติการณ์ของชาติ และแนวโน้มของการเพิ่มพูนพระราชอำนาจดังกล่าวก็มีมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบพรรคการเมืองจากรูปแบบของพรรคการเมืองแบบสองพรรค ไปเป็นแบบหลายพรรคการเมือง (multi-party system) อันก่อให้เกิดปัญหาหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปแล้วไม่มีพรรคการเมืองใดได้คะแนนเสียงในสภาสามัญเกินกว่ากึ่งหนึ่ง (hung Parliament) ขึ้นได้ง่าย กรณีของประเทศอังกฤษดังกล่าวไม่ปรากฏในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมี รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร หากได้ศึกษาถึงประวัติรัฐธรรมนูญไทยในฉบับต่าง ๆ ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีลักษณะตรงกันข้ามอังกฤษ

กล่าวคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบางฉบับที่มีลักษณะที่ถวายพระราชอำนาจแก่องค์พระมหากษัตริย์มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้ทรงวางพระองค์อยู่เหนือการเมืองตลอดมา จะทรงลดพระองค์เข้ายุ่งเกี่ยวก็เฉพาะกับกรณีที่เกิดเหตุการณ์วิกฤตของประเทศชาติเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้พระมหากษัตริย์ไทยจะทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจดั้งเดิมที่จะทรงใช้ในกรณีวิกฤติของบ้านเมือง ซึ่งก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อังกฤษแต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันอยู่ในรายละเอียด กล่าวคือ

. พระมหากษัตริย์อังกฤษทรงใช้พระราชอำนาจโดยพระองค์เองในกรณีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและทรงใช้พระราชอำนาจโดยพระราชวินิจฉัยส่วนพระองค์ในกรณีบ้านเมืองอยู่ในภาวะวิกฤติทางรัฐธรรมนูญหรือทางเศรษฐกิจ ดังเช่น กรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงในสภาสามัญได้เกินกว่ากึ่งหนึ่งหรือการชะงักงันของสภาสามัฐ (hung Parliament) หรือในกรณีที่ในปี ๑๙๓๑ พระเจ้าจอร์จที่ ๕ ทรงไม่ต้องการให้นาย MacDonald ลาออกในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงได้ทรงพยายามที่จะแก้ไขสถานการณ์โดยพยายามจะให้มีการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ (National government) ขึ้นภายใต้การนำของนาย MacDonal โดยทรงพยายามเกลี้ยกล่อมให้หัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟ และหัวหน้าพรรคลิเบอรัลเข้าร่วมในรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งหัวหน้าพรรคทั้งสองยินยอมให้มีการตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้น  กรณีของวิกฤติการณ์ทางรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้ ถือเป็นกรณีที่เป็นข้อพิพาทในทางการเมืองประชาชนมิได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบโดยตรงแต่อย่างใด ซึ่งจะต่างจากกรณีการใช้พระราชอำนาจดั้งเดิมของพระมหากษัตริย์ไทยที่เป็นการใช้พระราชอำนาจในกรณีเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของประชาชนกับรัฐบาล ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังเช่น กรณี ๑๔ ตุลา หรือพฤษภาทมิฬ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ไทย ไม่เคยทรงลดพระองค์ลงมายุ่งเกี่ยวกับปัญหาการต่อสู้ทางการเมือง ดังเช่นในอังกฤษ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงดำรงพระองค์อยู่เหนือการเมืองอย่างแท้จริงยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์อังกฤษ ที่เป็นต้นแบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

. การใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อังกฤษในกรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นการใช้พระราชอำนาจที่มีข้อโต้แย้งในทางวิชาการเสมอว่า พระมหากษัตริย์อังกฤษทรงสามารถใช้พระราชอำนาจดังกล่าวได้หรือไม่เพียงใด และเป็นการใช้พระราชอำนาจเกินขอบเขตของ รัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ในการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย นั้น ถือเป็นการใช้พระราชอำนาจดั้งเดิมของพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีอยู่ก่อนที่จะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว พระราชอำนาจดั้งเดิมดังกล่าวจะยังคงมีอยู่มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้วอาจทำให้มีการมองว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของไทยนั้น คงมีอยู่เท่าที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่แท้จริงแล้ว พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยที่แต่เดิมมีอยู่อย่างล้นพ้นนั้นก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่ว่าจะสามารถนำมาใช้ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าการใช้พระราชอำนาจดังกล่าว สอดคล้องกับหลักการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่เพียงใด รวมทั้งขึ้นอยู่กับพระบรมเดชานุภาพส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ (Royal Charisma)



๓. บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทั้งอังกฤษและไทยไม่มีภารกิจหลักในการบริหารปกครองประเทศเหมือนดังที่ต้องทำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คงเหลือไว้แต่ภารกิจในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ เป็นสัญลักษณ์กับนานาประเทศ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำรัฐบาลและเป็นศูนย์กลางประสานประโยชน์ของคนทุกฝ่ายในชาติ ตั้งแต่ในยุคโบราณสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษถูกมองว่า เป็นสถาบันที่ลึกลับและเต็มไปด้วยความรู้สึกแห่งเทพนิยาย (magic) ได้เคยมีการสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับราชวงศ์อังกฤษในปี ๑๙๕๖ หลังจากการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ ๒ เป็นเวลา ๔ ปี ผลการปรากฏว่าร้อยละ ๓๕ เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ได้ถูกเลือกโดยพระเจ้า จนกระทั่งในช่วงปี ๑๙๙๐ ความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เริ่มเปลี่ยนไป เนื่องจากทัศนคติของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงเนื่องจากสภาพสังคมยุคใหม่ เริ่มมีการปรับเปลี่ยนไปอย่างมากโดยเฉพาะในช่วงปี ๑๙๙๐ เป็นช่วงที่นาง Margaret Thatcher เป็นนายกรัฐมนตรี นโยบายของนาง Margaret ได้ส่งผลกระทบต่อสถาบันและองค์กรต่าง ๆ จะต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความมีประโยชน์ขององค์กรหรือสถาบันนั้นๆ เป็นองค์กรหรือสถาบันที่มีมานานแล้วเท่านั้น หากองค์กรหรือสถาบันใดไม่สามารถพิสูจน์ได้ ก็จำเป็นต้องยกเลิกหรือมีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ นโยบายดังกล่าว แม้ไม่ได้กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษโดยตรงก็ตาม แต่ก็มีผลกระทบในทางอ้อมที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษ พยายามที่จะปรับเปลี่ยนสถาบันให้มีความทันสมัยขึ้น โดยพยายามจะปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์จากสถาบันที่เต็มไปด้วยความรู้สึกเทพนิยาย (magic) ไปสู่สถาบันที่ทรงไว้ซึ่งประโยชน์ (practical) ซึ่งมีกรณีดังกล่าวสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษจำเป็นจะต้องลดระยะห่างของสถาบันกับประชาชนลง และพยายามเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประชาชน สถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษในปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนบทบาทจากสถาบันที่ห่างไกลจากประชาชนมาเป็นสถาบันที่ใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น โดยการประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อสังคม รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนที่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลไม่ทั่วถึง

ลักษณะดังกล่าวเป็นบทบาทในยุคใหม่ของสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษ โดยอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นบทบาทที่มีแนวคิดแบบสังคมสงเคราะห์ (welfare conception) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าฟ้าชายชาร์ล ซึ่งอุทิศพระองค์ในการช่วยเหลือผู้ด้วยโอกาสในสังคม เช่น คนพิการ คนว่างงาน และคนกลุ่มน้อย เป็นต้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวข้างต้นเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยในยุคปัจจุบัน บทบาทหน้าที่ทางการ ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยมอบหมายให้สถาบันอื่นใดปฏิบัติแทนไม่ได้ มีหลายกรณีคือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับพระราชพิธีตามประเพณีของราชสำนัก อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมชั้นสูงของสังคมไทยมาแต่โบราณกาล พระราชพิธีที่เป็นการภายในส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์นั้นจะคงอยู่หรือเปลี่ยนแปลงไปตามพระราชอธัยาศัยโดยตรง แต่ในส่วนพระราชพิธีที่มีส่วนเป็นการสาธารณะของชาติให้ประชาชนทั่วไปในสังคมมีส่วนร่วม เป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้ทรัพยากรมาก

รัฐบาลต้องจัดงบประมาณสนับสนุนเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระ เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อความสมบูรณ์ของเกษตรกรรมที่ผลิตอาหารเลี้ยงประชาชนในชาติหรือพระราชพิธีใหญ่ ๆ ในโอกาสสำคัญพิเศษที่มีนาน ๆ ครั้ง เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีเสด็จทางชลมารค เฉลิมฉลองระยะเวลาครองราชสมบัติหรือรอบพระชนมายุที่ยาวนาน ซึ่งพิธีการเหล่านี้มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประธานที่มาของงาน และพสกนิกรร่วมฉลองแสดงความปิติและภักดี กิจกรรมเหล่านี้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์แสดงความรักสมัคคี และศักดิ์ศรีเกียรติยศของประเทศชาติ ที่เป็นความสืบเนื่องของอารยธรรมไทย เป็นการสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในแบบจารีตประเพณีดั้งเดิมที่ไม่มีสถาบันอื่นใดในสังคมจะแบ่งเบาภารกิจนี้ไปได้ พระราชกรณียกิจในด้านการส่งเสริมคุณภาพของประชาชนพลเมือง ด้วยการเสด็จเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของราษฎรโดยตรงด้วยพระองค์เองของพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ในรัชกาลปัจจุบันความสัมพันธ์ดังกล่าวนับได้ว่ามีมากกว่ายุคสมัยใดๆ ของประวัติศาสตร์ไทย จากการประพาสในทุกสภาพภูมิประเทศทั่วทุกภาคเพื่อรับรู้ความทุกข์ยากของราษฎร ที่รัฐบาลผู้บริหารปกครองในระบอบประชาธิปไตยยังดูแลบริการได้ไม่ทั่วถึงเพราะความจำกัด ของทรัยากรวัตถุและบุคคล

โครงการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและการศึกษาของประชาชนผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร ด้วยบุคลากรอาสาสมัครสนองพระราชประสงค์ และทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งเมื่อเวลาล่วงไปก็มีโครงการอื่นๆ เพิ่มขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์เพื่อช่วยพัฒนาอาชีพของราษฎร และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติด้วยในทุกภาคของประเทศ ที่เริ่มจากการทดลองศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองและผู้เชี่ยวชาญในพระบรมราชูปถัมภ์ และด้วยเงินบริจาคสมบทโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยของประชาชนผู้ศรัทธา แล้วนำไปแนะนำให้ราษฏรกลุ่มเป้าหมายปฏิบัติเพื่อพัฒนาอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของตนได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน รวมถึงโครงการตามพระราชดำริเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการแก้ปัญหาฝนแล้งน้ำท่วม ดินเสื่อมโทรม การขาดแคลนน้ำ ทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง หรือปัญหาการทำลายป่าและภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป ซึ่งสรุปแล้วคือพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทุกแง่มุมอย่งถูกต้องตามหลักวิชาการที่แสดงถึงพระเมตตา และพระปัญญาบารมี

อาจกล่าวโดยสรุปว่า บทบาทของพระมหากษัตริย์ในยุคของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับประชาชนในสังคมมากขึ้น ทั้งในลักษณะที่เป็นการช่วยเหลือดูแลทุกข์สุขของราษฏรที่เป็นรูปธรรม และในลักษณะของการพระราชทานกำลังใจในการดำเนินชีวิตซึ่งมีลักษณะ เป็นเสมือนศูนย์รวมใจของคนทั้งชาติ ซึ่งบทบาทในสองลักษณะดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงถือเป็นพระราชภารกิจของพระองค์เสมอมานับแต่เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อกว่า ๖๐ ปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย และพระวิริยะอุตสาหะในการที่จะให้เกิดความอยู่ดีมีสุขของอาณาประชาราษฏรทั้งด้านรูปธรรมและทางด้านจิตใจในทางรูปธรรมนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงพยายามที่จะชี้แนะหนทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ดังจะเห็นได้จากการที่ทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก เพื่อช่วยชี้นำทางประชาชนให้มีความมานะอดทนต่อการกระทำในสิ่งต่างๆ

นอกจากนั้น ยังทรงได้มีแนวพระราชดำริในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อช่วยชี้นำประชาชนให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและเหมาะสม บทบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวได้ถือว่า เป็นบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ยุคใหม่ที่ลงมาสัมผัสใกล้ชิดกับประชาชน บทบาทดังกล่าวนี้เพิ่งเริ่มเป็นบทบาทที่พระมหากษัตริย์อังกฤษหันมาให้ความสนใจ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ พระราชวงศ์อังกฤษได้เริ่มที่จะลงมาสัมผัสประชาชนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้เริ่มแสดงบทบาทในทางสังคมสงเคราะห์มากขึ้นเช่นกัน จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นเสมือนหนึ่งศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ พระบรมเดชานุภาพของพระองค์มีมากล้นจนเกินกว่าที่จะสามารถบัญญัติไว้เป็นถ้อยคำใดๆ ในกฎหมายได้ ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องมีการบันทึกหรือบัญญัติถึงพระบรมเดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้เป็นตัวบทกฎหมาย เพราะพระบรมเดชานุภาพและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์นั้นเป็นที่ซาบซึ้งและสถิตย์อยู่ทั่วในจิตใจของชนชาวไทยทุกคนอยู่แล้วโดยเสมอมา

เรียบเรียงจาก “พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ” ของเจษฎา พรไชยา

ความมั่นคงของพระมหากษัตริย์

ปัญหาเกี่ยวกับความั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์

๑. ปัญหาการบ่อนทำลายความศรัทธาและความจงรักภักดี มีผู้ไม่ปราถนาดีได้พยายามทำลายความศรัทธา 
และความจงรักภักดีของประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ 
อาทิ มีการปล่อยข่าวลือต่างๆ จนบางคนได้ตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่ปราถนาดีโดยไม่รู้ตัว

๒. ปัญหาความไม่รู้ไม่เข้าใจ ประชาชนและเยาวชนไม่สนใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย
ขาดความรู้ความเข้าใจ และความซาบซึ่งในพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระมหา
กรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์

๓. ปัญหาการหาประโยชน์ส่วนตน มีการนำเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ไปหาประโยชน์ส่วนตน
เช่น มีการทุจริตเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การทำโครงการหรือกิจกรรมเพื่อหาประโยชน์
ส่วนตนโดยอ้างความจงรักภักดีบังหน้า

๔. ปัญหาความไม่เหมาะสม มีการชักชวนให้แสดงความจงรักภักดีในทางที่ไม่เหมาะสมและ
ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดความเดือดร้อยแก่ผู้อื่น เช่น มีการเรี่ยไรเชิงบังคับ

๕. ปัญหาการไม่เจริญรอยตามพระยุคลบาท นับเป็นโชคดีของคนไทยและประเทศไทยที่มี
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ แค่เป็นที่น่าเสียใจที่นักการเมือง ข้าราชการ
นักธุรกิจ และประชาชนหลายคนไม่ได้ปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาท ไม่ได้ปฏิบัติตาม
พระบรมราโชวาท ไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์และความสุขของประชาชน ยังมีการทุจริต
และประพฤติมิชิบ มีการเบียดเบียนประชาชน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์
ของประชาชนและประเทศชาติ จึงทำให้สังคมและประเทศชาติของเราต้องประสบปัญหา
เพิ่มมากขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาการเมือง


การส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์

๑. ทุกคนที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ช่วยสอดส่องป้องกันภัย
และความเสียหายที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษํตริย์ เช่น ขจัดข่าวร้าย
สลายข่าวลือ ที่ทำลายความศรัทธาและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

๒. แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษํตริย์ และแสดงความเคารพต่อ
พระบรมวงศ์วานุวงศ์ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

๓. ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ให้มีความซาบซึ้ง
ในพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์

๔. เผยแพร่ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ
และพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในวันสำคัญ ควรมีการจัดกิจกรรมต่างๆ 
และเผยแพร่ทางสื่อมวลชน อย่างกว้างขวาง

๕. ร่วมกันปฏิบัติความดีตามรอยพระยุคลบาท และพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


จากหนังสือ ประวัติศาสตร์ชาติไทยกับเอกลักษณ์ของชาติ โดย สมพร เทพสิทธา

เมื่อ"ใจ อึ๊งภากรณ์" ถูก"น็อค"คาเวที"ออกซ์ฟอร์ด

โดย นงนุช สิงหเดชะ




อาจจะช้าไปหน่อย แต่ก็ควรกล่าวถึง กรณีนายใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งหลบหนีคดีไปยังอังกฤษ ได้ไปโผล่ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในโอกาสที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและศิษย์เก่าออกซ์ฟอร์ด ไปกล่าวปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา ตามคำเชิญของเจ้าภาพ ซึ่งเป้าหมายของนายใจก็คงหวังจะใช้เวทีนี้โจมตีประเทศไทยเรื่องกฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ และคงหวังฉีกหน้านายอภิสิทธิ์

หลังกล่าวปาฐกถาเสร็จ เป็นช่วงเปิดให้ถาม (การกล่าวปาฐกถาและการถาม-ตอบ ใช้ภาษาอังกฤษ) ปรากฏว่านายใจ ซึ่งใส่เสื้อแดงแปร๊ดพร้อมตีนตบอีก 1 อัน มานั่งฟังอยู่ด้วย ก็ได้ถามเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นายอภิสิทธิ์ตอบว่า "ก่อนอื่นคุณต้องเคลียร์ข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อนว่า การดำเนินคดีกับผู้หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้เท่านั้น แต่หลายคดีก็ถูกดำเนินการโดยรัฐบาลก่อนคือรัฐบาลทักษิณ เช่นกรณีของนายจักรภพ เพ็ญแข การดำเนินคดีก็เกิดขึ้นในยุครัฐบาลพรรคพลังประชาชน ตอนที่คุณทักษิณอยู่ในอำนาจผมก็ถูกเขาฟ้องด้วยคดีหมิ่นประมาทเช่นกัน ถ้าคุณต้องการเป็นประชาธิปไตยคุณต้องเคารพกฎหมาย กรณีของคุณที่ถูกดำเนินคดีนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะคุณวิจารณ์การรัฐประหาร แต่คุณถูกดำเนินคดีเพราะข้อกล่าวหาแบบเฉพาะเจาะจงที่คุณกล่าวหาสถาบัน กษัตริย์ ดังนั้น คุณต้องเคลียร์ข้อมูลตรงนี้ให้ถูกต้อง อย่าพยายามก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

คำตอบของนายอภิสิทธิ์มีต่อไปว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่จำเป็นว่าจะแสดงถึงความไม่มีประชาธิปไตยเสมอไป เพราะในประเทศยุโรปบางแห่งที่ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) ก็มีกฎหมายลักษณะนี้เช่นกัน ถ้าคุณกล่าวหาคนอื่นในลักษณะเดียวกันนี้คุณก็ต้องถูกฟ้อง ผมเองก็ถูกนักการเมืองหลายคนในรัฐบาลที่แล้วฟ้องร้องเมื่อไปวิจารณ์เขา กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ลักษณะ เดียวกับที่กฎหมายหมิ่นประมาท (libel law) มีไว้เพื่อปกป้องบุคคลธรรมดา ความแตกต่างก็คือว่าสถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันที่เป็นกลาง อยู่เหนือการฝักใฝ่ทางการเมือง (above partisan) เป็นสถาบันที่คนไทยเคารพรักเทิดทูนและเป็นเสาหลักแห่งความมั่นคงของประเทศ"

อภิสิทธิ์อธิบายต่อไปว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่ได้ต้องการให้สถาบันกษัตริย์เป็นผู้ดำเนินการฟ้องร้องประชาชนด้วยตนเอง ดังนั้น เมื่อมีการหมิ่นประมาทเกิดขึ้น การดำเนินคดีจะต้องทำผ่านตำรวจ มีหลายคนที่ถูกดำเนินคดีลักษณะนี้แต่หลายคนเขาอยู่ต่อสู้คดีไม่ได้หนีหายไป ไหน ผมเองเมื่อถูกใครฟ้องก็ไม่หนีไปไหน (เมื่อพูดถึงตอนนี้นายใจได้ตะโกนสวนขึ้นมาว่า ผมก็ไม่ได้หนี นายอภิสิทธิ์ก็ตอบว่า ผมก็ไม่ได้พูดว่าคุณหนี ทำให้ผู้ฟังปรบมือเสียงดังพร้อมกับหัวเราะ เนื่องจากคงขำนายใจที่อ้างว่าไม่ได้หนีแล้วทำไมมานั่งอยู่ที่นี่)

นายกรัฐมนตรีเคลียร์ข้อข้องใจของนายใจต่อไปว่า "คุณไม่ควรมีสิทธิพิเศษเหนือคนอื่น คุณต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทยและต่อสู้ภายใต้กฎหมายไทยเช่นเดียวกับคนไทยคน อื่นๆ ผมเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ดูแลเรื่องการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ถูกใช้ไปในทางมิชอบและมีความยุติธรรม ผมกำลังหารือกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าหนทางใดจะดีที่สุดในการบังคับใช้ กฎหมายนี้"

นายอภิสิทธิ์ตบท้ายว่า "สิ่งที่ผมจะพูดก็คือว่า กรุณาเลิกดึงสถาบันกษัตริย์ลงมาอยู่ในความขัดแย้งทางการเมือง ควรรักษาสถาบันนี้ที่คนไทยเคารพเทิดทูนให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง หากคุณมีปัญหากับผมให้มาถกเถียงกับผมโดยตรง แต่โปรดอย่าดึงสถาบันลงมาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง" เมื่อกล่าวจบผู้ฟังในห้องประชุมปรบมือเสียงดังอย่างยาวนานให้กับนาย อภิสิทธิ์ และมีเสียงผู้ชายคนหนึ่งตะโกนอย่างถูกใจว่า yes

หากจะสรุปผลการชกครั้งนี้ คงต้องบอกว่า คนอายุ 54 ปี (แต่ใจเด็ก) อย่างนายใจ แพ้ (น็อค) เหตุผลของคนอายุย่าง 45 ปีอย่างนายอภิสิทธิ์

กลับมาที่ประเทศไทยกันบ้าง นักวิชาการหัวเสรีสุดขั้วบางคน ใช้ตรรกะแบบแปลกๆ เอาสีข้างเข้าถู อ้างว่าความจงรักภักดีที่พสกนิกรมีต่อสถาบันกษัตริย์นั้นเกิดจากพระมหา กรุณาธิคุณ ความศรัทธาและจงรักภักดีไม่สามารถใช้กฎหมายมาบังคับข่มขู่ พยายามอ้างว่าการพยายามทำลายสถาบันกษัตริย์ไม่มีอยู่จริงเป็นแค่เรื่องแต่ง ขึ้นมาให้ดูน่ากลัวเหมือนแต่งเรื่องผีขึ้นมาหลอกเด็ก พยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงแถลงการณ์สยามแดงของนายใจ

ถูกต้องที่ว่าความจงรักภักดีและศรัทธา ไม่สามารถใช้กฎหมายมาบังคับข่มขู่ ถูกต้องที่ว่าใครจะจงรักภักดีและศรัทธาต่อบุคคลใด สถาบันใดเป็นเรื่องที่บังคับไม่ได้ แต่สิ่งที่นักวิชาการคนนี้แกล้งไม่กล่าวถึงก็คือว่าการหมิ่นประมาทกับการ จงรักภักดีเป็นคนละเรื่อง ความจงรักภักดีเป็นความรู้สึกภายใน ไม่มีกฎหมายใดจะบังคับขืนใจได้อยู่แล้ว แต่หากมีการกระทำหมิ่นประมาทใส่ร้ายก็ต้องถูกลงโทษ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจึงไม่ใช่กฎหมายที่บังคับให้จงรักภักดี

นักวิชาการสีแดงบางคนยังตั้งหน้าตั้งตาจะให้เลิกกฎหมายปกป้องสถาบัน กษัตริย์ โดยที่ไม่ยอมนึกบ้างว่าคนธรรมดายังมีกฎหมายหมิ่นประมาทคุ้มครอง แล้วทำไมสถาบันกษัตริย์จึงจะมีกฎหมายคุ้มครองในเรื่องเดียวกันนี้ไม่ได้ คุณทักษิณเองก็ฟ้องหมิ่นประมาทใครพร่ำเพรื่อไปหมด สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีก็ถือว่าเป็นนายกฯที่ฟ้องสื่อมากที่สุด เรียกค่าเสียหายทีไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ไม่เห็นนักวิชาการคนนี้ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทบ้าง

การออกมาเดือดเนื้อร้อนใจเรื่อง กม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพเฉพาะช่วงนี้ของนักวิชาการกลุ่มนี้ มองอย่างไรก็ไม่พ้นการปกป้องกลุ่มคนเสื้อแดง ที่มีการจาบจ้วงสถาบันทั้งในเชิงสัญลักษณ์และแบบเปิดเผย

ถ้าหากนักวิชาการเหล่านี้ที่อ้างว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการกลั่นแกล้งทางการเมือง ถามว่ากฎหมายอื่นไม่มีช่องโหว่ให้เป็นเครื่องมือของนักการเมืองเช่นนั้นหรือ อย่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่สมัยหนึ่งรัฐบาลยุคทักษิณ มีการส่งเจ้าหน้าที่ ปปง.ไปตรวจสอบบัญชีและฐานะทางการเงินของบุคคลที่อยู่ตรงข้ามฝ่ายรัฐบาลอย่าง กว้างขวาง ไม่เว้นแม้แต่นักข่าว ทำไมนักวิชาการกลุ่มนี้ไม่เห็นรณรงค์ให้เลิกกฎหมาย ปปง.

ส่วนข้อแนะนำของนักวิชาการบางคนที่ให้สำนักพระราชวังเป็นผู้แจ้งความ ดำเนินคดีเองนั้น ก็พึงตระหนักว่าสมควรหรือไม่ ที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์เป็นโจทก์ฟ้องร้องประชาชน ด้วยตัวเอง จะเป็นการทำให้สถาบันมัวหมองเพราะดึงเอาสถาบันลงมาเป็นคู่ความกับประชาชนโดย ตรงหรือไม่ การตรากฎหมายที่ผ่านมา หลายฝ่ายคงคิดประเด็นนี้ดีแล้วจึงไม่ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ สถาบันกษัตริย์เป็นผู้ฟ้องร้องโดยตรง


วันที่ 09 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11352 มติชนรายวัน


-----------------------------------------------------------------------------------

ใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์

รองศาสตราจารย์ ใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์ (อังกฤษ: Giles Ji Ungpakorn; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2496 — ) เป็นนักเคลื่อนไหวทางวิชาการและการเมืองสัญชาติไทย-อังกฤษ[1] เดิมเคยเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร เพื่อหลบหนีคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ


ประวัติ
ใจเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรชายคนสุดท้องของ ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับนางมาร์กาเร็ต สมิธ ซึ่งมาจากลอนดอน[2] มีพี่ชายสองคน คือ จอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และไมตรี อึ๊งภากรณ์ เจ้าหน้าที่ข่าวสารองค์การการค้าโลก ประจำเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[3]

ใจจบปริญญาตรีชีวเคมี จากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กส์ และปริญญาโทสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเดอแรม และปริญญาโทรัฐศาสตร์ (การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่ วิทยาลัยบูรพศึกษาและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน (The School of Oriental and African Studies - SOAS) และทำงานเป็นผู้ช่วยฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เป็นเวลา 12 ปี

ใจ อึ๊งภากรณ์ เดินทางกลับประเทศไทย และเป็นอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540 ร่วมกับกลุ่มเพื่อนฝูง ก่อตั้งคณะทำงานเพื่อชำระประวัติศาสตร์กรณี 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ขึ้นมาใหม่ ร่วมกิจกรรมกับองค์กรพัฒนาเอกชน และเขียนบทความวิจารณ์สังคมและการเมืองไทย ในหนังสือพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่เสมอ

บทบาททางการเมือง
ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ใจประกาศไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว โดยเป็นแกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัยจัดชุมนุมประท้วงในกรุงเทพมหานคร[4] รวมทั้งให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า นายกฯ ที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรีทหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีเถื่อน จนถูกแจ้งความจับในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ [5]

ในปี พ.ศ. 2550 นายใจได้ตีพิมพ์หนังสือภาษาอังกฤษ ชื่อ A Coup for the Rich โดยมีเนื้อหาบางส่วนอ้างอิงหนังสืออื้อฉาว The King Never Smiles และพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์ เขายังแย้งว่ารัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์อีกด้วย ทำให้หนังสือถูกงดจำหน่ายในประเทศไทย ดังที่บรรณาธิการได้ชี้แจง[6] และนายใจถูกสั่งฟ้องคดีอาญา ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 นอกจากนี้

เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552 เขาถูกแจ้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเป็นทางการในกรุงเทพมหานคร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552