Suggestion Post

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ภาค 6 อวสานหงสา        ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพ...

2554-01-18

เเนวคิดประชาธิปไตยกับความเข้ากันได้ของไทยในการปกครอง

อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย ณ ถนนราชดำเนิน
          
         เเนวคิดในเรื่องของการปกครองในเเบบประชาธิปไตย..กับ วัฒนธรรมของชนชาติไทยจะเข้ากันได้กับการปกครองเเบบปชต.นี้หรือไม่ จะเป็นการส่งเสริม หรือ ทำลายวัฒนธรรมให้มากขึ้นไป    เเล้วปชต.ไทยในเวลานี้ละ มันเปนเเบบไหน อะไรคือต้นเหตุสาเหตุของความล้มเหลวในปชต.กันเเน่นะ ...งั้น ก่อนอื่น จี ก็จะขอนำความหลักๆของคำว่า ปชต.มาให้ทุกคนได้อ่านเเละทำความเข้าใจกันนะคะ


รัฐะรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย

การปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น  เป็นระบบการปกครองที่จัดสรรสังคมเพื่อให้เกิด โอกาส” ที่ดีที่สุดในการสร้างสรรค์  ที่จะทำให้ชีวิตและสังคมบรรลุประโยชน์สูงสุด    โอกาสจึงเป็นสิ่งที่ประชาธิปไตยให้เพื่อให้แต่ละบุคคลได้มีโอกาสที่จะพัฒนาตัวเอง  พัฒนาชีวิตและพัฒนาศักยภาพของตน  ให้ชีวิตเจริญงอกงาม  และให้ประชาชนเหล่านั้นแต่ละคนมีโอกาสที่จะนำเอาศักยภาพของตนออกไปร่วมสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและประโยชน์สุขให้แก่สังคม  เช่น ด้วยการมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกตั้งและสมัครรับเลือกตั้ง  เพื่อที่จะให้ โอกาส” ทั้งสองด้านดังกล่าวนี้เกิดขึ้นและมาบรรจบกัน   ระบบประชาธิปไตยจึงมีหลักการสำคัญ  ข้อ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างโอกาส คือ
1.     เสรีภาพ (liberty, freedom)  ความเป็นอิสระ  ไม่มีอะไรมากีดกั้นจำกัด  หรือความมีสิทธิที่จะทำจะพูดได้  โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  ภายใต้เงื่อนไข  ข้อกำหนด หรือความคุ้มครองของกฎหมาย  เสรีภาพนี้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างและเปิดโอกาสให้ศักยภาพที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลให้ออกมามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคม
2.     เสมอภาค (equality) หรือสมานภาพ  ความเสมอภาค  ความมีสมานฉันท์  หรือการร่วมสุขร่วมทุกข์ ร่วมในการสร้างสรรค์หรือแก้ไขปัญหา  เสมอภาคโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ไม่ดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามกัน รวมทั้งไม่เอารัดเอาเปรียบกัน  การใช้เสรีภาพในข้อที่ จึงต้องมีขอบเขตในการที่จะไม่ก้าวล้ำ  ไม่ละเมิดต่อผู้อื่น  มีโอกาสที่จะใช้เสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน  
3.     ภราดรภาพ (fraternity) หรือความสามัคคี  เอกภาพหรือเอกีภาพ  ความเป็นพี่เป็นน้องกัน  ความประสานรวมเข้ากันได้  หรือการรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นฐานและเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้การใช้เสรีภาพและความเสมอภาค  เกิดผลงอกงามและสัมฤทธิ์ผล


จากที่เพื่อนๆอ่านมานั้น เห็นอะไรบางอย่างไหมคะ ในทุกๆข้อเลย งั้นเอางี้นะ ..จี จะเป็นคนช่วยให้ทุกคนเห็นเองเเบบง่ายๆนะคะ ....ในข้อที่ 1 เขียนไว้ชัดเจนว่า ความเป็นอิสระ ไม่ปิดกั้น โดยต้องไม่ละเมิดผู้อื่น ภายใต้เงื่อนไขของกฏหมายที่กำหนด..มาลองคิดตีในประเด็นนี้กันก่อนนะคะ

1)ทุกคนมีความเป็นอิสระ เหมือนกันหมด พูด คิด กระทำได้อย่างเป็นอิสระ เเต่ก้มีคำว่า ต้องไม่ละเมิดผู้อื่นภายใต้เงื่อนไขของกฏหมายด้วย ซึ่งจากคำพูดนี้ มันคือการควบคุมใช่หรือไม่คะ..ในความเหนของ จี มันมีการควบคุมความเป็นอิสระในกรอบที่กำหนดไว้ให้ด้วย..เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยอันดีในสังคม ไม่ให้เกิดการทำร้าย ขุ่มขู่ คุกคามเเละอันตรายต่อสิทธิของตนเองในการการกระทำด้วย ...เเล้วทำไมในสังคมปัจจุบันนี้ ถึงใช้คำว่า อิสระ เสรีภาพ เพียงอย่างเดียว โดยขาดคำว่า การควบคุม หรือการไม่ละเมิดสิทธิคนอื่น ด้วยนะเนี่ย

2)ในความเสมอภาค ร่วมทุกข์ร่วมสุกซึ่งกันเเละกันก็บอกได้อย่างตรงตัวเเล้ว เเต่ก็มีคำพูดที่ว่า โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง (กล่าวคือ ต้องเท่าเทียมกันทุกคนไม่เเบ่งชนชั้น หรือ อำนาจ หรือฐานะใดๆก้ตามที) เเละไม่ีดูถูก เบียดเบียน ทำร้ายผู้อื่นด้วย ก็เเสดงว่าคำพูดนี้ เปนการควบคุมในการใช้ความเสมอภาค เเละเสรีภาพที่ต้องเท่าเทียมกัน โดยไม่ไปทำร้าย เอารัดเอาเปรียบคนอื่นด้วยความเปนอิสระของตนเองสินะ ซึ่งหากพิจารณาดีๆ ก็ตรงกับคำสอนในพระพุทธศาสนานะที่ว่า ในเรื่องของการให้ทาน ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น อย่างเช่น ศีล 5 ก็บอกถึงความหมายของ คำว่า เสมอภาคได้ดีเช่นกัน ...

3)ภราดรภาพ หรือความสามัคคี ก็เป็นความหมายตรงตัวอยู่เเล้วนะ ที่ว่า ต้องมีการอยู่ร่วมกันอันเปนอันหนึ่งเดียวกัน รวมตัวกันได้ โดยไม่มีความเเตกเเยก...ซึ่งจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับปชต.ที่ดี ที่มีไว้เพื่อใช้ในการจัดระเบียบความเรียบร้อยของสังคมให้เป็นปกติสุข..

จากการวิเคราะหืข้างต้นนั้น เเละในทุกคำพูด ทุกความหมายนั้น จี คิดว่า ในเมืองไทย ..ไม่ได้ใช้ 3 ข้อนี้อย่างเเท้จริง นั้นคือ..เสรีภาพ เสมอภาค เเละสามัคคี...เพาะว่า ถ้าคิดพิจารณาดีๆ ในตอนนี้คนไทยทุกคนไม่มีใครเข้าใจความหมายอันเเท้จริงของปชต.เลย หากลองคิดสักนิด ปชต.ก็่เหมือนศาสนาดีๆนิเอง..เพาะเป็นสิ่งที่มีไว้เพื่อจัดระเบียบสังคมให้อยู่เเบบปกติสุข ซึ่งก้เหมือนศานาที่มีไว้เพื่อการจัดระเบียบสังคมให้เป็นปกติสุขเช่นกัน ไม่ใช่หรือ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Comment here (เขียนความคิดตรงนี้นะ)