Suggestion Post

Review ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ภาค 6 อวสานหงสา        ตอนสุดท้ายของตำนานแห่งประวัติศาสตร์ไทย บทสุดท้ายที่เล่าเรื่องของจุดจบของพ...

2557-09-03

ถกพท.พิพาทไทย-เขมรเพื่อน้ำมันอ่าวไทย

ถกพท.พิพาทไทย-กัมพูชาเพื่อน้ำมันอ่าวไทย

หัวข้อข่าว
ไทยหวังเพิ่มสำรองก๊าซ30% ถกพื้นที่ทับซ้อนกัมพูชา'ยุติ'พลังงานหนุนรัฐเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชากว่า 2.6 หมื่นตารางกิโลเมตร ชี้หากสำเร็จช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มของก๊าซในอ่าวไทยและเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซได้เพิ่ม 30% ยืดอายุการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยได้นานขึ้นอีก 10 ปี "รสนา" ระบุการเจรจาพื้นที่ทับซ้อน ควรเป็นหน้าที่สปช. ย้ำไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน


การร่วมเดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของคณะของพล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกรรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา การเดินทางไปหารือร่วมกับคณะผู้แทนรัฐบาลของกัมพูชา ไม่ได้มีประเด็นเกี่ยวกับกระทรวงพลังงานเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,กระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมเป็นการกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือในโครงการต่างๆ ทั้งการคมนาคม การค้า การเกษตร ด้านพลังงาน
นายคุรุจิต นาครทรรพ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่าฝ่ายไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับกัมพูชาเต็มที่ ในส่วนของกระทรวงพลังงาน มีเรื่องของความร่วมมือด้านไฟฟ้า การพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ คาดว่าหลังการเยือนกัมพูชาครั้งนี้ ทางกระทรวงการต่างประเทศ จะตั้งคณะบุคคลเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการที่มีอยู่เดิม เพื่อเริ่มต้นการเจรจาซึ่งจะมีผู้แทนของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติร่วมอยู่ด้วย
ชี้สัญญาณดีแก้พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา
นายคุรุจิต กล่าวว่า การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งไทยและกัมพูชา หากสามารถหาข้อยุติได้เร็ว เนื่องจากกระบวนการเข้าไปสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม จะใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี จึงจะนำปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ได้ ในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ถึงแม้จะยังไม่ได้มีการเปิดให้เข้าไปสำรวจ แต่เป็นพื้นที่มีศักยภาพที่จะพบปิโตรเลียมจำนวนมาก
“กรอบการเจรจาเรื่องนี้ มีคณะกรรมการชุดเดิมอยู่แล้ว เพียงแต่รัฐบาลต้องตั้งบุคคลเข้าไปใหม่ การเริ่มต้นเจรจาจะเป็นบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ การเยือนรัฐบาลกัมพูชาครั้งนี้ เสมือนเป็นการเปิดศักราชใหม่ ที่จะเริ่มต้นเข้าสู่การเจรจา“ นายคุรุจิต กล่าว
ย้ำสำเร็จช่วยเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซ
หากการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชาสำเร็จ จะมีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียมของไทย ปัจจุบันปริมาณสำรองก๊าซที่พิสูจน์แล้วว่าจะเหลือเพียง 7 ปี ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งเป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติทางเคมี เหมาะต่อการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
ปัจจุบันมีก๊าซจำนวนหนึ่งที่ต้องส่งผ่านไปเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่ได้ผ่านโรงแยกก๊าซ ไม่สามารถที่จะยืนยันปริมาณสำรองก๊าซได้ว่าจะมีเพียงพอ ให้กับโรงแยกก๊าซที่จะตั้งขึ้นใหม่เป็นเวลา 25 ปีหรือไม่ แต่หากมีแหล่งก๊าซจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกับกัมพูชาเข้ามาเพิ่ม เป็นไปได้ที่บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) จะลงทุนสร้างโรงแยกก๊าซแห่งที่ 7 และแห่งที่ 8 เพิ่ม
ส่วนความร่วมมือผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม ที่มีแหล่งผลิตน้ำมันดิบให้หยุดส่งออกเป็นการชั่วคราว จากปัจจุบันที่มีการส่งออกไปต่างประเทศวันละ 20,000 บาร์เรล ได้มีหนังสือเพื่อขอความร่วมมือล่วงหน้ามาแล้ว 3-4 เดือน ทำให้ผู้รับสัมปทานไม่ได้ส่งออกน้ำมันดิบไปขายต่างประเทศแล้ว
ทั้งนี้ได้หารือกับผู้บริหารของบริษัทเชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานแหล่งผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ในประเทศ ยืนยันที่จะให้ความร่วมมือ โดยน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งในประเทศ จะถูกส่งเข้ากลั่นที่โรงกลั่นในประเทศทั้งหมด
ไทยคาดเจรจาสำเร็จเพิ่มสำรองก๊าซได้30%
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าการเจรจาปัญหา พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่มีพื้นที่กว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้เคยเสนอแนวทางที่ให้ยึดตามแนวข้อตกลงเอ็มโอยู ปี 2554 เป็นการแบ่งการเจรจาเป็นสองส่วน คือพื้นที่ตอนบน แบ่งพื้นที่ตามหลักเขตแดน ซึ่งฝ่ายทหารและฝ่ายความมั่นคงรวมทั้งกระทรวงต่างประเทศ จะเป็นผู้เจรจา
ส่วนที่สอง เป็นพื้นที่ทับซ้อนจะพัฒนาร่วมกัน (Joint Development Area -JDA) หากการเจรจาได้ข้อยุติเร็ว จะทำให้ทั้งไทยและกัมพูชาได้รับประโยชน์ เนื่องจากสถานการณ์ราคาปิโตรเลียม ทั้งในส่วนของน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ยังอยู่ในระดับสูง หากเจรจาสำเร็จฝ่ายไทยคาดว่าจะเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติในประเทศได้เพิ่มประมาณ 30% ยืดอายุการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยได้ยาวขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 10 ปี
กัมพูชาเตรียมเปิด"โททาล"เข้าสำรวจ
ที่ผ่านมาไทยให้สิทธิ์สำรวจแก่เอกชน เมื่อปี 2514 แต่มติครม.ปี 2518 ได้ให้ยุติการสำรวจ หลังทราบว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน แต่ในส่วนของกัมพูชาก็ได้เปิดเอกชนเตรียมเข้าสำรวจเช่นกัน ล่าสุด บริษัทโททาล เป็นผู้ได้สิทธิ์จากรัฐบาลกัมพูชา เนื่องจากสิทธิของรายเดิมหมดอายุ
ก่อนหน้านี้ ไทยได้ตกลงพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไป 2 รูปแบบกับ 2 ประเทศ คือในส่วนพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย มีการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมร่วมกันและพบว่ามีปริมาณสำรองประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต มีข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ฝ่ายละครึ่ง โดยมีองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นนิติบุคคลเป็นผู้ดูแลผล
ส่วนพื้นที่ทับซ้อนไทย-เวียดนาม มีข้อตกลงการแบ่งเขตแดนระหว่างกัน โดยเวียดนามได้พื้นที่ 33% ไทยได้พื้นที่ 67% ส่วนของแหล่งอาทิตย์ที่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. ผู้ถือหุ้นใหญ่และได้มีการผลิตขึ้นมาแล้วประมาณ 330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
"รสนา"ชี้เจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไม่เหมาะ
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทย (จปพ.) กล่าวว่าตนสงสัยว่าพล.อ.ธนะศักดิ์ ใช้สถานะในตำแหน่งใดไปเจรจาเรื่องดังกล่าว เรื่องดังกล่าวควรนำไปพิจารณาในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จากการติดตามข้อมูล พบว่าพื้นที่กว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร ยังไม่ถือว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน แต่เป็นพื้นที่พิพาท เพราะยังไม่มีการขีดเส้นที่ชัดเจน โดยปี 2515 ที่นายพลลอน นอล เป็นนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เคยมีการขีดเส้นพื้นที่ทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา แต่พบข้อโต้แย้ง จึงทำให้รัฐบาลช่วงนั้นที่มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ขอให้เจรจารอบใหม่ แต่ช่วงนั้นกัมพูชามีปัญหาทางการเมืองจึงทำให้การเจรจาไม่เกิดขึ้น
“การแบ่งประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ในพื้นที่พิพาทระหว่างไทย-เขมร ควรจะให้เป็นเรื่องของสปช. ที่จะดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนมากที่สุด การเจรจาเพื่อพัฒนาพื้นที่และความร่วมมือต่อการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมไทยกับเขมร ไม่มีความจำเป็นต้องเร่งเจรจา” น.ส.รสนา กล่าว
นายวีระ สมความคิด ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน และเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) กล่าวว่าการเจรจาประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนไทย-เขมร ทราบว่ามีการประสานกันมาอยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม มองว่าการเจรจาผลประโยชน์ทางพลังงานรัฐบาลคสช.ไม่ควรดำเนินการ ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง


------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากเนื้อข่าวนี้ ขอวิคราเะห์และเปิดประเด็นต่างๆ ดังนี้
1.เมื่อก่อนในอดีตเคยมีการพูดว่า  "พท.พิพาทไม่มีเรื่องของน้ำมันในอ่าวไทย" จากปากของก.พลังงาน หรืออธิบดี สมัยรบ.พท.  ซึ่งจากคำตอแหลในวันนั้น จึงเห็นชัดในวันนี้ว่า  ได้มีการสำรวจว่าจะขุดเจาะน้ำมันในพท.พิพาทอ่าวไทย ที่มีเกาะกูด เขตแดนไทยอยู่ โดยที่ยังตกลงกันเลยปักเขตแดนไม่ได้  ก็มาทำการเร่งขุดเจาะ แบ่งสัมปทานกันแล้ว  ..คือมันจะรวดเร็วเกินไปไหม..?  กับการเร่งคุยกันเรื่องน้ำมันเนี่ยะ
2.น้ำมันในอ่าวไทยในส่วนที่เป็นพท.พิพาท 1/2 แสน แล้วลากเส้นแดนกินมายังเกาะกูดของไทยนั้น ยังไม่ทำการตกลงเขตแดนตามมติศาลโลกที่ให้ "ไทยไปเจรจากำหนดพท. ร่วมกัน ว่า จะเป็นส่วนไหน ใน 1/2 แสน "(ทั้งนี้พท.พิพาทนี้คือ บริเวณรอบๆปราสาทพระวิหารที่ ไทยไม่ต้องการปราสาทแต่สงวนพท.ตามสันปันน้ำเอาไว้เท่านั้นตาม MOU ฝรั่งเศสที่ทำแต่แรกในสมัย ร.5)  โดยศาลโลกให้ไทยกับเขมรไปคุยกันเรื่องพท.ตามแผนที่ 1/2แสน ที่ศาลโลกเองก็ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า พท.พิพาทเป็นเขตแดนของใคร แต่จีน่าเชื่อว่า มันคือพท.ของไทยตามสเกลพื้นที่มาตรฐานสากล และคิดว่าในยุคสมัยนี้แล้ว แผนที่ 1/2แสนเป็นแผนที่ๆไม่มีความหมายเพราะมันให้เส้นเขตแดนไม่ชัดเจน เนื่องจากมันกว้างมาก ดังศาลโลกว่าไว้
3.รบ.คสช.กำลังปล่อยให้ ก.พลังงาน หรือ ทีมงานของปตท. เข้าทำการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของอ่าวไทยแบบที่คนไทยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย หรือเปล่า  รบ.คสช.ไม่ควรปล่อยให้ทีมงานปตท.หรือ ก.พลังงานกระทำสิ่งใดโดยง่ายนะ
4.จากเนื้อข่าว หากสมมุติว่า เราขุดน้ำมันขึ้นมาได้ แล้วมีใช้สำรองแค่ 30 % เราจะต้องนำเข้าน้ำมันหรือก๊าซจากต่างประเทศมาอีกไหมเอย  ในเมื่อ จากคำพูดของก.พลังงานและปตท.ที่ชอบโฆษณาว่า  "ไทยไม่มีน้ำมันเพียงพอต่อการใช้งาน"  ใช้ 143ล้าน มี  23 ล้าน นำเข้ามาอีก 127 ล้าน โดยขายให้คนไทยใช้ในราคาส่งออก จากตลาดกำหนดราคาสิงคโปร์ด้วยไหม เหตุผลที่ไทยใช้ราคาสิงค์โปร์   
ซึ่งจีน่าคิดเสมอว่า เมื่อทุกประเทศในเอเชียใช้ราคาจาก ตลาดกำหนดราคา(คล้ายๆโอเปค) นี้ ย่อมหมายความว่า ราคาในแต่ละประเทศต้อง ใกล้เคียงกัน และราคาของไทยต้องใกล้เคียงกับมาเลยเซียที่สุด ใช่ไหม  แล้วเหตุใด ราคาจึงยังคงแพงกว่ามาเลย์เกือบเท่าตัวเช่นนี้ แล้วหากมีการขุดน้ำมันในอ่าวไทยพิพาทไทย-เขมรขึ้นมานี้ เราก็จะมีก๊าซเพิ่มขึ้น มีน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยใช้ราคาจากตลาดราคาสิงคโปร์ด้วยไหม  ได้อ่านเหตุผลของปตท.ในเรื่องของตลาดราคาแล้ว ไม่สมเหตุผลในเรื่องของ กลไกตลาดขึ้น-ลง เพราะไม่ได้สะท้อนราคาการใช้งานจริง ไม่ช่วยให้ราคาเป็นไปตาม Supply and demand แต่อย่างใด เพราะปตท.ใช้ฐานราคาจากการส่งออกน้ำมันของตลาดสิงค์โปรที่มีทุกประเทศทำการซื้อ-ขาย  แล้วตลาดในไทยละ เกี่ยวข้องกับการส่งออกน้ำมันไปยังต่างประเทศด้วยไหม
แล้วเหตุผลของปตท.ก็สวะมากในการอ้างอิงว่าไทยจะขาดแคลนน้ำมัน หากกำหนดราคาต่ำกว่าเพื่อนบ้าน แล้วยังไงละ!!  ทุกวันนี้เราก็พูดเสมอว่า ไทยขาดแคลนน้ำมัน ต้องนำเข้ามากลั่นเองในราคาแพงกันอยู่ แล้ว ขนาดกลั่นเองขายแพงยังมาบอกว่า ไทยไม่มีน้ำมันเพียงพอในการใช้งาน..
5.ทุกวันนี้เราใช้น้ำมันแพง เพราะ
- น้ำมันใช้ราคาตลาดสิงคโปร์
- น้ำมันดิบ(ราคาตลาดสิงคโปร์) + ราคากลั่นน้ำมัน + ภาษี กับกองทุนน้ำมัน เข้าไปด้วย  
6.น้ำมันที่ใช้กันทุกวันนี้   น้ำมันดิบผลิตได้จากปตท. หน้า 6 - 7
- มาจากไทย 23 ล้านลิตร
- นำเข้า 127 ล้านลิตร
- ใช้ในไทย 143 ล้านลิตร  
- ส่งออก ไม่รู้ เพราะปตท.ไม่ได้บอกไว้ บอกแค่ว่า นำเข้าน้ำมันดิบเข้ามากลั่นแล้วส่งออกขายในราคาอะไรไม่รู้ (ไม่รู้ใช้ราคาตลาดสิงคโปรไหม) (ไม่รู้ว่าส่งออกขายไปแล้วจำนวนแค่ไหน) (หวังว่าปตท.จะใช้ราคาสิงค์โปร์ในการส่งออกนะ)
6.น้ำมันที่ขุดขึ้นมา แม้จะบอกว่า เป็นบ่อเล็กๆ ขุดมาได้น้อย แต่ก็ยังให้ส่วนแบ่ง(คอมมิชชั่นในการขาย) กับรบ.ไทยแค่ 15 % เอง ที่เหลือ ปตท.ได้กำไรหมดเลยละ  รบ.ไทยก้บ้านะ ให้สัมปทาน ปตท.ไปก็เยอะ ดันเอา คอมมิชชั่นแค่นี้เอง..
7.บ่อน้ำมันในอ่าวไทยนี้ ที่กระสันอยากจะเอาสัมปทานไม่ได้คิดว่าจะมีแค่น้ำมันหรอกนะ  มันจะมีก๊าซธรรมชาติด้วย ซึ่งเป็นส่วนที่ขุดมาจากอ่าวไทยเอาไปใช้ ผลิตไฟฟ้า ทำแก๊สบ้าน ขนส่ง  ฯลฯ แต่ก็ยังขายราคาแพงใกล้เคียงกับน้ำมันเลยละ 
- ไม่รู้ว่าหลังจาก ปตท.กับกรมพลังงาน พูดคุยกับเขมรเรื่องแบ่งพื้นที่อ่าวไทยที่มีน้ำมัน(และก๊าซ)แล้ว โดยยังไม่รู้ว่า เป็นพื้นที่ของใครเพราะยังกำหนดเขตแดนไม่ได้นั้น จะได้ค่าคอมมิชชั่นเข้าก.คลัง กี่บาทน้า (แล้วเข้ากระเป๋าข้าราชการ นักการเมือง ขี้ข้าทั้งหลายทั้งปวงกันกี่บาทน้าา..)
8.ก๊าซธรรมชาติก็เป็นเรื่องหลอกลวงอีกเรื่อง คือ ก๊าซที่ผลิตในอ่าวไทยทั้งหมด ถูกส่งไปใช้ในโรงงานเคมี(ผลิตพลาสติก ฯลฯ)ในราคาแสนถูก ... แต่บ้านเรือน ร้านตามสั่งข้าวแกง การไฟฟ้าฯ ใช้ก๊าซธรรมชาตินำเข้าจากพม่า มาเลย์..ในราคาแสนแพง..
-น่าคิดนะว่า การไฟฟ้าฯ ไม่ได้ใช้ก๊าซจาก อ่าวไทยตามที่เคยโฆษณาไว้อย่างนั้นหรือ ในอดีตเมื่อ 20 ปีที่แล้วยังเรียน ประถมอยู่เลย  จำได้นะว่า ชอบพูดว่า จะไม่มีก๊าซแล้วจึงต้องประหยัด อย่าใช้ไฟฟ้าเยอะ เพราะเราผลิตไฟฟ้าจากก๊าซอ่าวไทยนะ  แล้วตอนนี้ละคะ เมืองไทยมีก๊าซอ่าวไทยเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าหรือยัง  (หรือเพียงพอต่อการผลิตพลาสติก โฟม สิ่งของเครื่องใช้เคมีภัณฑ์ทั้งหลาย แต่ไม่เพียงพอแบ่งไปให้การไฟฟ้าฯ)
ราาคาแก๊สทุกวันนี้
-ผลิตเองในราคาต้นทุนแสนถูกจากอ่าวไทย เพราะขุดเองเจาะเอง (ส่งขายโรงงานพลาสติก)
-ตามสั่งบ้านเรือน การไฟฟ้าฯใช้แก๊สนำเข้า (นำเข้าอย่างหรูนะ ของอินเตอร์เลย) 
-ต้นทุนแก๊สโรงงาน = ก๊าซอ่าวไทย + กลั่น + ภาษี
-ต้นทุนแก๊สบ้านเรือนตามสั่ง  =  ก๊าซนำเข้าจากพม่า มาเลย์ (ราคาเท่าไรไม่รู้)+ กลั่น(แยกก๊าซไปใช้ในแบบต่างๆ) + ภาษี 
-ส่งออกก๊าซธรรมชาติขาย ไม่รู้ เพราะไม่ได้บอกไว้ แต่คาดว่าน่าจะมีการส่งออกขายไปยังต่างประเทศด้วยเพราะคงขายใมห้โรงงานเคมีเพียงพอจนเหลือขายส่งออกตปท.แน่ๆ แต่เป็นก๊าซจากอ่าวไทยนะ ไม่ใช่ก๊าซนำเข้าจากพม่าและมาเลย์
9.สรุปแล้ว รบ.คสช. ยินยอมให้เขมรเข้าร่วมการจัดสรรแบ่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ไทย ไปแล้วหรือไม่ เพราะเมื่อก่อนไทยกับเขมรมีการสู้รบกันเพราะปัญหาเรื่องของน้ำมันนี่ละ แล้ววันนี้จะให้จัดสรรกันง่ายป่านเยี่ยงนี้เลยหรือค่ะ ไม่น่าทำน้า ไม่คุ้ม!
10.ก.พลังงาน โดยอธิบดี ร่วมกับ ก.ต่างประเทศไปเยือนกัมพูชาถึงถิ่นเพื่อเจรจาจัดสรรพื้นที่น้ำมันกัน ว่างมากเลยหราคะ ?
11.  จากข้อความนี้ 
ปัจจุบันมีก๊าซจำนวนหนึ่งที่ต้องส่งผ่านไปเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่ได้ผ่านโรงแยกก๊าซ ไม่สามารถที่จะยืนยันปริมาณสำรองก๊าซได้ว่าจะมีเพียงพอ ให้กับโรงแยกก๊าซที่จะตั้งขึ้นใหม่เป็นเวลา 25 ปีหรือไม่ แต่หากมีแหล่งก๊าซจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกับกัมพูชาเข้ามาเพิ่ม เป็นไปได้ที่บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) จะลงทุนสร้างโรงแยกก๊าซแห่งที่ 7 และแห่งที่ 8 เพิ่ม
ส่วนความร่วมมือผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม ที่มีแหล่งผลิตน้ำมันดิบให้หยุดส่งออกเป็นการชั่วคราว จากปัจจุบันที่มีการส่งออกไปต่างประเทศวันละ 20,000 บาร์เรล ได้มีหนังสือเพื่อขอความร่วมมือล่วงหน้ามาแล้ว 3-4 เดือน ทำให้ผู้รับสัมปทานไม่ได้ส่งออกน้ำมันดิบไปขายต่างประเทศแล้ว
ทั้งนี้ได้หารือกับผู้บริหารของบริษัทเชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานแหล่งผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ในประเทศ ยืนยันที่จะให้ความร่วมมือ โดยน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งในประเทศ จะถูกส่งเข้ากลั่นที่โรงกลั่นในประเทศทั้งหมด

เป็นการให้ข้อมูลว่า เรามี 
1)ก๊าซที่ถูกนำไปใช้ที่โรงงานเคมี กับการไฟฟ้าส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ส่วนหนึ่งที่พูดมานี้มันมีแค่ไหน อาจจะ ให้เคมี 70/30 ก็ได้ หรือ 70/15/15 (เคมี/ไฟฟ้า/ส่งออก)
2) มีการส่งออกไปยังต่างประเทศจริง โดยอาจจะเป็น
- น้ำมันดิบของไทยทีขุดในไทย ยังไม่กลั่น โดยปตท. หรือ บจ.อื่นๆที่ขุดเอง
- นำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นส่งออก
-นำเข้าน้ำมันดิบมาส่งออก
แต่จากข้อความที่บอกว่า "ขอความร่วมมือผู้รับสัมปทาน (หมายถึงเชฟรอนหรือบจ.ที่ได้พื้นที่ขุดเจาะน้ำมัน) ก็หมายถึงว่า "น้ำมันที่ส่งออกไป 2 หมื่น บาร์เรล( ก็ 25 ล้านลิตร  = 23 ล้านลิตร ที่ปตท.บอกว่าผลิตเอง) โดยขุดมาจากในไทย " (ไม่รู้ว่าน้ำมันนำเข้าที่ปตท.บอกว่านำเข้ามากลั่นส่งออกนั้นหยุดส่งออกด้วยไหมแล้วก็ไม่ก็ไม่รู้ว่า ปตท.ส่งออกน้ำมันไปเท่าไร)
- น้ำมันส่งออกไปต่างประเทศ 2 หมื่น บาร์เรล (ประมาณ25 ล้านลิตร)   (1)
-ปตท.บอกว่า ผลิตได้เอง ขุดเอง ใช้เอง  23 ล้านลิตร  (ใช้ในไทยไหมก็ไม่รู้) (2)  ปตท.สำรวจและผลิตน้ำมันเองตามนี้
ปตทดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตทได้แก่ บริษัท ปตทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ซึ่งประกอบธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำนวน 41 โครงการ เป็นโครงการลงทุนในประเทศไทยจำนวน 16 โครงการ ลงทุนในพื้นที่พัฒนาร่วม 1 โครงการ ลงทุนพื้นที่คาบเกี่ยว 1 โครงการ และลงทุนในต่างประเทศ 23 โครงการ ใน 11 ประเทศ ได้แก่ สหภาพพม่า เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย โอมาน อัลจีเรีย อียิปต์ บาห์เรน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา


- มีน้ำมันสุทธิ (1) + (2) = 48 ล้านลิตร ..ที่เป็นน้ำมันไทยขุดในไทยใช่ไหมเอย..
ทั้งนี้  25 ล้านลิตรนี้ ไม่ได้มี ปตท.เป็นผู้ส่งออกและรับสัมปทานเท่านั้นแต่มีบจ.อื่นๆเป็นคนขุดเจาะด้วย ดังจากที่เห็นในคลิบนี้ 


โดยกรมพลังงานบอกไม่มีการลักลอบผลิต เพราะมีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้รัฐถูกต้อง ตาม ข่าวขุดน้ำมันเพชรบุรณ์ ที่เจ้าของอาจจะเป็นคนฮ่องกงรายใหญ่มากๆ ถึงมากที่สุดที่ขุดเจาะน้ำมันในพื้นที่นี้ จนถึงขั้นทำให้ คสช.ที่ตอนแรกเข้าควบคุมพื้นที่ต้องล่าถอยไปแบบไร้ร่องรอยแล้วมีการให้ข่าวปฏิเสธของกรมพลังงานเชื้อเพลิงว่า ไม่มีการลักลอบขุดเจาะ และบจ.ฮ่องกงจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ถูกต้อง

นี่คือ บจ.อื่นๆ ที่ปตท.รับซื้อน้ำมันดิบเอาไปทำอะไรก็ไม่รู้ ไปกลั่นขายในไทย กลั่นขายส่งออก หรือ เป็นนายหน้าส่งออกขายน้ำมันดิบก็ไม่รู้สินะ ..ทั้งที่ปตท.ก็มีบจ.สำรวจขุดเจาะน้ำมันอยู่แล้ว ยังรับซื้อน้ำมันดิบจากบจ.ฮ่องกงอีก  นึกว่าจะทำเพียงแค่นำเข้าน้ำมันมากลั่นส่งออก แล้วก็กลั่นขายในไทยนะเนี่ยะ

สรุปยังไงคะ  ...

3) จากข้อความนี้

ทั้งนี้ได้หารือกับผู้บริหารของบริษัทเชฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานแหล่งผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ในประเทศ ยืนยันที่จะให้ความร่วมมือ โดยน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งในประเทศ จะถูกส่งเข้ากลั่นที่โรงกลั่นในประเทศทั้งหมด

ทำให้ได้ข้อสรุปว่า 
3.1) เชฟรอนคือบจ.ขุดเจาะน้ำมันดิบ แล้วขายให้ปตท. เพียงเจ้าเดียว
3.2)เชฟรอนจะส่งน้ำมันดิบเข้าโรงกลั่นในไทยทั้งหมด ในเวลานี้ โดยไม่ส่งไปเข้าโรงกลั่นต่างประเทศ
3.3)เมื่อมีโรงกลั่นต่างประเทศ ก็มาคิดสิว่า น้ำมันดิบที่ขุดได้ในไทย ราวๆ ?/25ล้านลิตร  ถูกส่งออกไปแปรรูปขายยังต่างประเทศ หรือเปล่า
-เชฟรอนอาจจะขุดมาได้แล้ว ขายปตท.ให้กลั่นใช้ในไทย 70 แล้วส่งออกไปประเทศบจ.แม่ 30 ก็เป็นได้นะคะ
เอาเป็นว่า จากการเปิดประเด็นและวิเคราะห์ตามเนื้อข่าวพร้อมกับข้อมูลของปตท.ที่มีการตอบโต้และให้ข้อมูลมานั้น สามารถให้ข้อกระจ่างชัดว่า  แม้ปตท.จะเขียนข้อมูลสรุปเอง และปกป้องตนเองก็ยังมีการผิดพลาดในหลายส่วน  เดวก็บอกว่า ผลิตเองขายในไทย ใช้ราคาตลาดสิงคโปร์ เดวก็บอกว่าไม่ได้ผลิตแต่นำเข้ามาแปรรูปเอง จีน่าก็สงสัยว่า ปตท.คงเป็นโรคอัลไซเมอร์แน่ๆ เพราะในหน้าเวปไซต์ปตท.เอง ยังให้ข้อมูลขัดแย้งกันเองเลยละ 
ทั้งนี้จีน่าก็ยังไม่สนับสนุนให้ คสช.ทำการคุยกันเรื่องน้ำมันในพื้นที่พิพาทนี้ เพราะจะมีปัญหาต่อไปในอนาคตแม้จะบอกว่า ให้แบ่งปันพื้นที่น้ำมันกันก็ตาม  แล้วหากในอนาคตมีการจัดสรรพื้นที่สันปันน้ำพระวิหารเรียบร้อยแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
1.หากพื้นที่สันปันน้ำเป็นของไทยแล้ว พื้นที่ทะเลน้ำมันจะเป็นของไทยโดยสมบูรณ์ (ตามมาตรฐานแผนที่สเกลสากลที่ใช้ได้จริง)แล้วเมื่อคสช.ยินดีให้เขมรมาคุยกันเพื่อจัดสรรน้ำมันกัน เข้ามาผลิตน้ำมันแล้ว แบบนี้จะเป็นการล่วงล้ำมาในอาณาเขตไทยไหมค่ะ  คสช.จะยินดีไปไล่เขมรที่มาขุดน้ำมันตรงเกาะกูดไทยไหมคะ
2.หากพื้นที่สันปันน้ำเป็นของเขมรอันนี้ เราก็คงถูกเขมรบี้ไล่ออกจากพื้นที่เช่นกัน 
3.จีน่าก็พอจะรู้ว่าที่เขมรสู้กับไทยมาทุกวันนี้ เพราะน้ำมัน จึงมัวแต่มาแย่งบริเวณเขาพระวิหารนั้นละ ส่วนเรื่องมรดกโลกเป็นผลพลอยได้อันดับ 2 ต่อจากน้ำมัน
4.อย่าเอาพื้นที่น้ำมันในอ่าวไทยมามีเอี่ยวในเกมการเมืองนี้เลยค่ะ จีน่าก็รู้นะว่า ที่เขมรมาประจบตอแหลเพราะอะไร ..เพราะเป็นเงื่อนไขที่ปล่อยวีระใช่ไหมละคะ ทั้งนี้จีน่าไม่เชื่อว่า เขมรจะปล่อยวีระออกมาง่ายๆโดยไม่ยื่นเงื่อนไขออกมาแน่ๆคะ
5.ขอให้คสช.ควบคุมไอ้กรมพลังงานหน่อยคะ อย่าให้งาบมากนักคะ



ที่มา  ..  ปตท.